บีโอไอเตรียมอัดสิทธิประโยชน์เพิ่มรักษาการจ้างงาน


เพิ่มเพื่อน    

 

30 ก.ย. 2563 น.ส.ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า เตรียมเสนอที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณาอนุมัติออกมาตรการการช่วยเหลือรักษาอัตราการจ้างงาน เนื่องจากหลายบริษัทได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยบีโอไอจะใช้เครื่องมือที่มีอยู่เข้าไปช่วยเหลือ เช่น การเพิ่มสิทธิประโยชน์บางด้านที่เชื่อมโยงกับค่าใช้จ่ายในการจ้างงาน คาดว่า จะช่วยรักษาอัตราการจ้างงานในส่วนของบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอได้มาก

นอกจากนี้จะเสนอให้พิจารณาเพิ่มสาขาการส่งเสริมในกลุ่มอุตสาหกรรมชีวภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มเซอร์คูล่าอีโคโนมี ที่ควรเพิ่มสาขาการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ไบโอแมส นำมาทำผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องที่มีมูลค่าสูง ซึ่งจะช่วยให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่องจาก วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพิ่มขึ้น รวมทั้งเพิ่มสาขากิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ ในสาขาการวิจัยทางคลินิก เนื่องจากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่จะต้องผ่านขั้นตอนทำการวิจัยศึกษาทางคลินิก จึงต้องให้สิทธิประโยชน์ในสาขานี้ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์

”ในการประชุมบอร์ดบีโอไอครั้งหน้าภายในเดือนต.ค. จะเสนอหลายมาตรการในการกระตุ้นการลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งจะขยายมาตรการไทยแลนด์ พลัส ที่เพิ่มสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% ต่ออีก 5 ปี เพิ่มจากสิทธิประโยชน์เดิม ซึ่งมาตรการนี้จะหมดอายุในสิ้นปีนี้ให้ต่ออายุออกไป เพื่อดึงดูดบริษัทที่จะย้ายฐานการผลิตออกจากจีนให้เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทย รวมทั้งอาจจะเสนอมาตรการเพิ่มบางด้านเพื่อเพิ่มการดึงดูดการลงทุน ซึ่งที่ผ่านมาประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผู้ประกอบการได้ย้านฐานการผลิตจากจีนเข้ามาในไทยได้หลายราย”น.ส.ดวงใจ กล่าว

อย่างไรก็ตามหลังจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ความต้องการของตลาดโลกเปลี่ยนไป ส่งผลให้มีกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาอุตสาหกรรมที่เป็นอนาคตของไทยเข้ามาขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะในกลุ่มยา สารชีววัตถุ ชุดตรวจโรค ทำให้ในช่วง 3-4 เดือนก่อน กลุ่มอุตสาหกรรมนี้กลายเป็นกลุ่มดาวรุ่ง บีโอไอจึงเพิ่มสิทธิประโยชน์เพื่อเร่งรัดการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ โดยมีข้อกำหนดให้ต้องเร่งลงทุนภายในปีนี้ และจะต้องจำหน่ายภายในประเทศมากกว่า 50% ทำให้มีผู้ประกอบการเข้ามาขอรับการส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มเครื่องมือแพทย์ถึง 45 โครงการ มูลค่าการลงทุนกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท เติบโตแบบก้าวกระโดด จากปี 61- มิ.ย. 63 มีจำนวน 116 โครงการ เงินลงทุน 2.9 หมื่นล้านบาท

สำหรับการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในครึ่งปีแรกมีมูลค่าประมาณ 1.58 แสนล้านบาท ลดลง 17% เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนครึ่งปีหลังยังชะลอตัว คาดว่าทั้งปีมูลค่าการลงทุนจะไม่ต่ำกว่าปี 58 ที่มีตัวเลขต่ำสุดมีมูลค่า 2.18 แสนล้านบาท ส่วนปี 64 มั่นใจว่าสถานการณ์จะดีขึ้นอย่างแน่นอน เพราะเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วและหลายอุตสาหกรรมก็ค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งหากมีการปลดล็อกการเดินทางตัวเลขการลงทุนก็จะดีขึ้นอย่างแน่นอน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"