กระทุ้งรัฐคลอด กฎหมายอุม้ หาย มึนทำไมเตะถ่วง


เพิ่มเพื่อน    

 กระทุ้งรัฐกฎหมายอุ้มหายต้องเร่งคลอด อังคณา-พี่สาววันเฉลิม-นักสิทธิมนุษยชนร่วมวง ชี้เป็นภัยอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ข้องใจนักการเมืองกลัว กม.ไม่มีอายุความหวั่นสาวถึงเหตุมีส่วนได้ส่วนเสีย

    เมื่อวันอาทิตย์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร จัดสัมมนา “รัฐสภากับการพัฒนาระบบกฎหมายอำนวยความยุติธรรมและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน” โดย นายโคทม อารียา ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการฯ บรรยายพิเศษ เรื่อง “คณะกรรมาธิการการกฎหมายฯ กับความหวังในการอำนวยความยุติธรรม และพิทักษ์สิทธิมนุษยชน” ตอนหนึ่งว่า ตนเองเชื่อว่า ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.... (ฉบับประชาชน) ที่ กมธ.ศึกษาร่างที่เสนอโดยภาคประชาสังคมและขับเคลื่อนเข้าสู่สภาเพื่อพิจารณานั้น หากออกมาก็จะเป็นประโยชน์มากในการป้องกันการทรมาน หรือทำให้สูญหายเมื่อมีการควบคุมตัว ซึ่งเป็นความผิดทางอาญา
           จากนั้นเวลา 10.00 น. เป็นการเสวนา “ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการอุ้มหาย ความก้าวหน้าครั้งใหม่ของสิทธิมนุษยชนไทย” โดย นางสิตานันท์ สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ พี่สาวของนายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ถูกบังคับให้สูญหาย นางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นางพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผอ.มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการฯ
           นางอังคณากล่าวว่า จากประสบการณ์ในประเทศไทย คนที่ถูกอุ้มหาย ขอย้ำว่าการอุ้มหายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ เชื่อว่ามีการวางแผนมาล่วงหน้า ทำเป็นกระบวนการ นี่ไม่ใช่อาชญากรรมธรรมดา แต่เป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ดังนั้นต้องเป็นคดีอาญา ไม่มีการนิรโทษกรรม ไม่มีอายุความ
    "สิ่งสำคัญที่สุดคือมีเจตจำนงทางการเมือง อย่าให้กฎหมายนี้เป็นเหมือนรัฐธรรมนูญ ที่ไปตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษา เชื่อว่าภายใต้รัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่เคารพสิทธิมนุษยชน จะออกกฎหมายที่ดีต่อประชาชนได้ เข้าใจว่า ส.ว.หรือรัฐบาลบางคนกังวลกับกฎหมายที่ไม่มีอายุความ กังวลว่าจะสาวมาถึงตัวเองหรือไม่" นางอังคณาระบุ
           ขณะที่นายรังสิมันต์กล่าวว่า ที่ผ่านมา กมธ.มีการปรับปรุงร่างประชาชนหลายเรื่องและเปิดรับฟังความคิดเห็นไปแล้ว แต่ยังไม่มีการบรรจุวาระการพิจารณาในสภา ซึ่งเป็นเรื่องที่ตนเองกังวลอยู่ เพราะภายใต้รัฐธรรมนูญนี้ กฎหมายที่ ส.ส.ร่างนั้นไม่ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สภาต้องเร่งพิจารณา หากได้รับการบรรจุก็ต้องไปต่อแถวท้ายสุด กว่าสภาจะพิจารณาต้องใช้เวลานาน ตนเองไม่มั่นใจว่าต่อให้รัฐบาลอยู่ครบ 4 ปี กฎหมายนี้จะได้รับการพิจารณาเมื่อไหร่ ทางแก้ไขคือ ส.ส.ต้องเข้าชื่อขอเลื่อนเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อน หลังจากนั้นต้องตั้ง กมธ.มาพิจารณาใช้เวลา 60-90 วัน ก็เข้าสู่วาระ 2 วาระ 3 คิดว่าการพิจารณาของสภาไม่น่ามีปัญหา
    "แต่ที่น่ากังวลคือชั้นของ ส.ว. ซึ่งเข้าใจว่าอาจจะมี ส.ว.หลายคนมีส่วนได้เสียกับการป้องกันการอุ้มหาย และซ้อมทรมานหรือไม่ โดยเฉพาะสถานที่ที่มักมีปัญหามายาวนานคือ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพราะมีการใช้กฎหมายพิเศษ เช่น กฎอัยการศึกที่ให้มีการควบคุมบุคคลได้ 7 วัน มี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุมตัวได้ 30 วัน รวม 2 ฉบับ ควบคุมตัวได้ 37 วัน ซึ่งเราไม่รู้ว่าช่วงเวลานี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่ที่ได้ยินมาเป็นระยะคือมีการซ้อมทรมาน สิ่งที่กังวลคือ เมื่อไหร่เราจะเป็นรายต่อไปที่จะถูกอุ้มหาย สภาวะแบบนี้ไม่ใช่คำตอบของสังคมไทย กฎหมายป้องกันการอุ้มหายไม่ใช่การเยียวยาคนไม่กี่คน แต่คือการสร้างความปลอดภัยให้คนทั้งประเทศ ดังนั้นนี่คือสิ่งที่เราต้องผลักดัน” นายรังสิมันต์กล่าว
           ด้าน น.ส.สิตานันท์กล่าวว่า หลังจากที่นายวันเฉลิมถูกอุ้มหายไป ทางญาติต่อสู้มาตลอดอีก 8 วันก็จะครบ 4 เดือน ที่ผ่านมามีการไปยื่นหนังสือให้กับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบ รัฐบาลเพิกเฉยมาก เข้าใจว่าตอนนี้ประเทศไทยมีหลายเรื่องเกิดขึ้น คิดว่ารัฐบาลคงเรียงลำดับความสำคัญของการอุ้มหายเป็นลำดับรอง แต่เนื่องจากเป็นคนไทยควรได้รับการช่วยเหลือบ้าง ครอบครัวลำบาก เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นในไทย เราไม่ทราบว่าใครเป็นคนทำ แต่ต้นเหตุการลี้ภัยของนายวันเฉลิม เพราะมีการแสดงความเห็นแตกต่างทางการเมืองไทย และอีก 9 รายที่หายไปยังไม่รู้ชะตากรรม
    "วันนี้มีเด็กนักเรียน นักศึกษาออกมาขึ้นเวทีแสดงความเห็นทางการเมือง ซึ่งกำลังถูกคุกคามรายวัน เพราะเป็นนักเรียนก็ไม่มีเว้น เสี่ยงต่อการถูกอุ้มหาย ดังนั้นจึงขอให้การผลักดันร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการอุ้มหายให้สำเร็จ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์อุ้มหายขึ้นอีก และขอประชาชนเป็นหูเป็นตาช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาที่ออกมาแสดงความเห็นทางการเมืองด้วย ไม่อยากให้เกิดการอุ้มหายขึ้นอีกเป็นกรณีที่ 10 อยากให้รัฐฟังความเห็นประชาชนบ้าง หากเห็นว่าการแสดงออกต่างๆ ไม่ถูกต้อง ควรใช้หลักการพูดคุย แนะนำสิ่งที่ถูกต้องมากกว่า" น.ส.สิตานันท์กล่าว
           ขณะที่ น.ส.พรเพ็ญกล่าวว่า จากข้อมูลของยูเอ็นพบว่ามีการบังคับสูญหายกว่า 87 ราย หลายรายญาติยังตามหาอยู่ตลอด และสะเทือนใจทุกครั้งเมื่อมีรายงานข่าวพบศพไร้ญาติ ดังนั้นการผลักดันให้มีร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการอุ้มหายเป็นเรื่องสำคัญมาก มีการเสนอมานาน แต่ก็ยังไม่สามารถออกมาได้ วันนี้ ส.ส.ในสภากว่า 200 คนเห็นด้วยกับกฎหมายนี้ แต่ที่ยังล่าช้าอยู่เพราะรัฐบาลยื้อด้วยขั้นตอนต่างๆ ตอนนี้อยู่ในมือกฤษฎีกาแก้ไข แต่ไม่มีกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ ถ้าทำให้กฎหมายเข้าสู่สภาไม่ได้ก็ควรยุบสภา
    "หากรัฐบาลจริงใจควรเร่งรัดให้กฤษฎีกาแก้ไขฉบับของเราโดยเร็ว และผ่านกระบวนการทุกอย่างเพื่อเสนอเข้าที่ประชุมสภาสมัยหน้า โดยกฎหมายจะต้องกำหนดให้การควบคุมตัวทุกรูปแบบห้ามทรมาน และอุ้มหาย ต้องเป็นคดีอาญา ไม่มีอายุความ มีการฟื้นฟูเยียวยาญาติทุกด้านตามตามความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม เราปฏิเสธการลงโทษด้วยการประหารชีวิต" น.ส.พรเพ็ญระบุ.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"