ปรับปรุงตำรามาตรฐานสมุนไพรไทย9 ชนิด


เพิ่มเพื่อน    


26ก.ย.63-นพ.โอภาส  การย์กวินพงศ์  อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ในปัจจุบันสมุนไพรถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางเป็นอันดับแรกกว่าร้อยละ 77  รองลงมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ร้อยละ 17  และยาร้อยละ 4 ซึ่งแนวโน้มการใช้สมุนไพรในอนาคตยังคงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพ โดยเล็งเห็นความปลอดภัยเป็นสำคัญ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรผ่านแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย พ.ศ. 2560-2564 อย่างไรก็ตามจากข้อมูลของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน และอุปสรรค สำหรับธุรกิจสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ไว้หลายประเด็น แต่มีประเด็นที่สำคัญที่ทำให้ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ คือความไม่แน่นอนของคุณภาพวัตถุดิบ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เล็งเห็นอุปสรรคในเรื่องคุณภาพสมุนไพร จึงได้สนับสนุนให้มีการจัดทำมาตรฐานสมุนไพรที่มีความเป็นสากล ทั้งวัตถุดิบ สารสกัด และผลิตภัณฑ์สมุนไพร บรรจุในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmacopoeia) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 ทั้งนี้ตำรายามาตรฐานยาสมุนไพรไทยใช้เป็นตำรายาอ้างอิงตามกฎหมายสำหรับผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมคุณภาพยาสมุนไพรไทยให้ได้มาตรฐานสากล


สำหรับในปี พ.ศ. 2563 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้จัดทำตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ฉบับปี พ.ศ. 2563 (Thai Herbal Pharmacopoeia 2020) ขึ้น โดยมีมาตรฐานยาสมุนไพรทั้งหมด 99 มอโนกราฟ ประกอบด้วย วัตถุดิบ สารสกัดและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งในเล่มนี้จะมีมาตรฐานใหม่ 9 มอโนกราฟ ได้แก่ ทิ้งถ่อน มะรุม แสมสาร ไม้เท้ายายม่อม หญ้าดอกขาว หญ้าปักกิ่ง ยาแคปซูลปัญจขันธ์ ยาชงปัญจขันธ์ และยาชงมะตูม และมีการปรับปรุงภาคผนวกที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย นอกจากนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลในตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ผ่านทาง Mobile Application ชื่อว่า “Thai Herbal Pharmacopoeia” ทั้งระบบ Android และ iOS  หรือเว็บไซต์ https://www.bdn.go.th/thp/home 


  “ตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmacopoeia) เป็นตำราที่ยอมรับทางวิชาการอย่างกว้างขวางในเรื่องมาตรฐานสมุนไพร ซึ่งประกอบด้วยข้อกำหนดมาตรฐานทั้งทางด้านเภสัชเวทและพฤกษศาสตร์และทางด้านเคมี-ฟิสิกส์ รวมถึงข้อมูลด้านความปลอดภัย ขนาดการใช้ยาเบื้องต้นและการเก็บรักษาของยาสมุนไพร ตำรายาเล่มนี้ได้รับการยอมรับสำหรับการอ้างอิงตามกฎหมายในประเทศไทย และยังมีประโยชน์เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องใช้ในการควบคุมคุณภาพยาสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน ป้องกันการปนปลอมยาสมุนไพรที่พบมากในปัจจุบัน ลดการนำเข้ายาแผนปัจจุบันจากต่างประเทศ เพิ่มการพึ่งพาตนเอง และสนับสนุนธุรกิจการส่งออกสมุนไพรด้วย”นายแพทย์โอภาสกล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"