พบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ คาดยุคสำริด3,000ปี ดัน'สีบัวทอง'แหล่งเรียนรู้ใหม่


เพิ่มเพื่อน    

  

 

 

                วันนี้ - นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดีแหล่งโบราณคดีสีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง หลังมีการค้นพบการฝังศพสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ระบุได้ว่า เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งใหม่นั้น ล่าสุด ได้จัดสรรงบประมาณให้แก่สำนักศิลปากรที่ 3  พระนครศรีอยุธยา ไปทำการศึกษาข้อมูลด้านโบราณคดีเพิ่มเติมเพื่อเชื่อมโยงประวัติศาสตร์และความเป็นมาให้ชัดเจนขึ้น โดยได้ประสานงานกับเจ้าของที่ดินที่มีการขุดพบเจอโบราณวัตถุ  และนักโบราณคดีได้ลงพื้นที่เข้าไปเริ่มทำการขุดค้นในช่วง  2 – 3 เดือนที่ผ่านมา โดยขุดค้นไปแล้วจำนวน 3 หลุม พบโครงกระดูกมนุษย์ 7 โครง  เป็นผู้ใหญ่ 6 โครง เป็นเด็ก 1 โครง การฝังศพอยู่ลึกลงจากผิวดินชั้นวัฒนธรรมประมาณ 20 – 70  ซม. ทุกโครงถูกฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการมัดบริเวณเข่าในทุกโครง ยกเว้นโครงเด็ก หันศีรษะไปทาง ทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 

                นายประทีป กล่าวว่า การฝังศพยังมีเครื่องอุทิศที่ฝังร่วมกับโครงกระดูก ได้แก่ ภาชนะดินเผา พบร่วมกับโครงกระดูก 5 โครง วางอยู่ด้านบนหรือด้านข้างของโครงกระดูกตำแหน่งตั้งแต่สะโพกจนถึงปลายเท้า จำนวนตั้งแต่ 1 ใบจนถึง 9 ใบ นอกจากนี้ ยังพบหม้ออุทิศเป็นภาชนะดินเผาเนื้อดิน ประเภทหม้อก้นกลม ชาม ตกแต่งผิวด้วยลายเชือกทาบหรือทาน้ำดินสีแดง ขวานหินขัดวางอยู่ที่กระดูกสะโพกข้างขวาของโครงกระดูกโครงหนึ่งที่ไม่พบภาชนะดินเผา กำไลสำริดพบสวมอยู่ที่กระดูกปลายแขนข้างซ้ายของโครงกระดูกที่อยู่ลึกที่สุดและมีสภาพไม่สมบูรณ์ที่สุด แสดงถึงพิธีกรรมการฝังศพของคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากการตรวจสอบชั้นดินหลุมขุดค้นในที่ทำการ อบต. สีบัวทอง พบว่า ในระดับผิวดินเดิมก่อนที่จะทำการขุดลอกนั้นไม่พบโบราณวัตถุ จนกระทั่งขุดลงไปความลึก 1 เมตรจากผิวดินเดิม จึงพบโบราณวัตถุปะปน เช่น เศษภาชนะดินเผาหรือเศษกระดูก เป็นระดับที่ใกล้เคียงกับระดับที่พบการฝังศพ จากการดำเนินงานโบราณคดีทำให้ทราบว่า ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนที่มีอายุในช่วงยุคสำริด อายุ 2,500-3,000ปี เมื่อวิเคราะห์ร่วมกับชั้นวัฒนธรรมที่ไม่หนามาก สันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่า เป็นชุมชนที่มีการโยกย้ายมาอยู่ในช่วงสั้น ๆ ก่อนจะอพยพไปตั้งถิ่นฐานบริเวณอื่น 

      “ การขุดค้นพบหลักฐานสำคัญนี้ ถือเป็นครั้งแรกในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง เพราะยังไม่เคยมีพื้นที่ลุ่มภาคกลางใด พบหลักฐานในยุคก่อนประวัติศาสตร์เช่นนี้มาก่อน สามารถเชื่อมโยงรอยต่อระหว่างจากยุคหินใหม่ที่คนส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่สูงได้มีการอพยพย้ายถิ่นถิ่นฐานลงมาสู่พื้นที่ราบลุ่ม เริ่มเปลี่ยนจากการล่าสัตว์มาประกอบอาชีพเกษตรกรรมในยุคแรกๆ ส่วนใหญ่ที่เคยพบจะอยู่ในช่วงยุคทวารวดีประมาณ 1,500 ปีเท่านั้น  ทั้งนี้ ตนได้มอบหมายให้ทำการศึกษาข้อมูลด้านโบราณคดีที่จะใช้ในการเชื่อมโยงความเป็นมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เบื้องต้นได้ประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเห็นพ้องความสำคัญของพื้นที่ดังกล่าว อนาคตจะมีการศึกษาความเป็นไปได้ผลักดันเป็นแหล่งเรียนรู้ทางโบราณคดีแห่งใหม่ของ จ.อ่างทอง โดยความร่วมมือของคนในท้องถิ่น และประสานงานกับชาวบ้านที่ได้พบหลักฐานนำโบราณวัตถุที่ค้นพบมาจัดแสดงนิทรรศการเป็นมรดกของคนในพื้นที่อีกด้วย” นายประทีป กล่าว  

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"