ศักดิ์สยาม ลุย Kick Off ใช้ยางพาราภาคอีสานน้ำร่องนครพนม


เพิ่มเพื่อน    

26 ก.ย. 2563 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดโครงการนำการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน (Kick Off) บริเวณทางหลวงหมายเลข 2033 ตอนคำพอก-หนองญาติ กิโลเมตรที่ 55+425-55+575 ตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนมว่า การนำอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอำนวยความปลอดภัยทางถนนที่ผลิตจากยางพารา 2 ผลิตภัณฑ์ คือ แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier: RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post: RGP) ได้ดำเนินการนำร่องไปแล้วที่จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดสตูล ในช่วงเดือนที่ผ่านมา

ทั้งนี้ การเปิดโครงการฯ ที่บริเวณทางหลวงหมายเลข 2033 ตอนคำพอก-หนองญาติ กิโลเมตรที่ 55+425-55+575 ตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนมในวันนี้นั้น ถือเป็นการดำเนินการครั้งที่ 3 ด้วยการใช้ยางก้อนถ้วย ซึ่งเป็นผลผลิตของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางที่นิยมทำกันมากกว่า 55% ของเกษตรกรชาวสวนยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) และภาคเหนือ เนื่องจากยางก้อนถ้วยผลิตง่าย และไม่ต้องใช้เงินลงทุน และแรงงานจำนวนมาก โดยเมื่อนำยางก้อนถ้วยมาใช้ในโครงการฯ จะสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรโดยตรง ในสัดส่วนที่มากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนให้แก่พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง

สำหรับการดำเนินการดังกล่าว ถือเป็นการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ รวมถึงช่วยลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนน เนื่องจาก ทั้ง RFB และ RGP จะช่วยลดแรงปะทะที่เกิดจากการชน ที่สำคัญยังส่งผลให้มีสัดส่วนการใช้น้ำยางพารา เป็นส่วนผสมจำนวนมาก ซึ่งเป็นการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพารา สร้างรายได้โดยตรงให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท สะท้อนจากราคายางก้อนถ้วยในปัจจุบัน ที่มีราคาสูงถึง 43 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิมยางก้อนถ้วยมีราคาอยู่ที่ประมาณ 20 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ราคาน้ำยางพารานั้น ภายใน 1 เดือนนับจากการเปิดโครงการที่จังหวัดจันทบุรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา ได้เพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 43 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 61.30 บาทต่อกิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้น 20 บาทต่อกิโลกรัม

ด้านนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ จะทำหน้าที่กำกับคุณภาพในการผลิตอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอำนวยความปลอดภัยทางถนนที่ผลิตจากยางพารา พร้อมทั้งคัดเลือกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ที่กระทรวงฯ รับรองให้เข้าร่วมโครงการ อีกทั้งยังสนับสนุนจัดเตรียมเครื่องมือและวัตถุดิบให้เป็นไปตามรูปแบบมาตรฐาน และราคาตามที่กระทรวงคมนาคมกำหนด

ขณะที่นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า โครงการดังกล่าว เป็นนโยบายของรัฐบาลที่มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของพี่น้องประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการนำยางพารามาใช้เป็นอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยทางถนน รวมทั้งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราให้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นการดูดซับปริมาณยางพาราออกจากระบบ สร้างเสถียรภาพราคายางพาราอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต พร้อมทั้งได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีการศึกษาและวิจัยพบว่า มี 2 ผลิตภัณฑ์ ที่มีความเหมาะสมและมีปริมาณยางพาราเป็นส่วนผสมจำนวนมาก สามารถลดความรุนแรงของการชนปะทะได้ คือ แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต และหลักนำทางยางธรรมชาติ  

“ก่อนนำมาใช้งานจริง ได้ทำการทดสอบทั้งในประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้แล้ว โดยใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์วิ่งเข้าชนเพื่อวัดแรงปะทะที่เกิดขึ้น ผลการทดสอบพบว่า ผู้ขับขี่ได้รับค่าแรงกระแทกน้อยกว่าค่ามาตรฐาน สามารถลดอัตราความรุนแรงที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตได้เป็นอย่างมาก โดยวันนี้จึงถือเป็นวันสำคัญ ของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งกระทรวงคมนาคมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมมือผนึกกำลังริเริ่มสร้างสรรค์โครงการจนกระทั่งเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มีการก่อสร้างกำแพงคอนกรีตหุ้มแผ่นยางธรรมชาติและหลักนำทางยางธรรมชาติ มาติดตั้งเพื่อใช้งานจริง อันจะเป็นประโยชน์กับพี่น้องประชาชน” นายสราวุธ กล่าว

 

นายสราวุธ กล่าวต่ออีกว่า กรมทางหลวง (ทล.) และ กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้กำหนดแผนการดำเนินโครงการดังกล่าว ในปีงบประมาณ 2563-2565 โดยมีปริมาณการใช้ยางพารา จำนวน 1,007,951 ตัน และจะนำ 2 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว มาใช้ติดตั้งบนถนนของ ทล. และ ทช. ระยะทางรวม 12,282 กิโลเมตร คิดเป็นผลประโยชน์ที่เกษตรกรชาวสวนยางจะได้รับ จำนวน 30,108 ล้านบาท และจะมีการสำรวจตรวจสอบเพื่อเปลี่ยนแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต และหลักนำทางยางธรรมชาติ ทดแทนที่เสื่อมสภาพหรือมีความเสียหายเกิดขึ้น ซึ่งต้องใช้ยางพาราในทุกๆ ปี ปีละไม่น้อยกว่า 336,000 ตัน

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า กำหนดการเปิดโครงการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน (Kick Off) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จังหวัด ประกอบไปด้วย วันที่ 25 ก.ย.2563 จังหวัดนครพนม จากนั้นในวันที่ 26 ก.ย.2563 ที่จังหวัดบึงกาฬ และจังหวัดเลย ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 3 จังหวัด เป็นจังหวัดที่มีการปลูกยางพารามากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"