หนุนแนวคิด ‘เด็กคิด เด็กทำ เด็กนำ ผู้ใหญ่หนุน’


เพิ่มเพื่อน    

 

สสส.-สถาบันยุวทัศน์ฯ จัดกิจกรรมเนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ 2563 วัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ เลขานุการ รมว.สธ. ประธานมอบรางวัลศิลปินดารา บุคคล องค์กร 30 หน่วยงาน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในเด็กและเยาวชน ชมผลงานภาพยนตร์สั้นชนะเลิศยอดวิว 3 ล้านฝีมือนักศึกษาสร้างสรรค์ ยื่นข้อเสนอรัฐบาล 6 ข้อ พร้อมชง “ควบคุมสูบบุหรี่-พนันออนไลน์-อุบัติเหตุ” หนุนแนวคิด “เด็กคิด   เด็กทำ เด็กนำ ผู้ใหญ่หนุน”

 

ในโอกาสครบรอบการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นปีที่ 10 ของสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) จึงเกิดเป็นกิจกรรมมหกรรมเด็กและเยาวชนรู้เท่าทันปัญหาปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพประจำปี 2563 “สร้างสรรค์นวัตกรรมส่งเสริมสุขภาวะ เพื่อประโยชน์ของเด็กและเยาวชนไทย” ที่โรงแรมรามาดา บาย วินแดม แบงคอก เจ้าพระยาปาร์ค ถนนรัชดาภิเษก วันที่ 17 กันยายน 2563 ภายในงานมีการยื่นข้อเสนอรัฐบาล 6 ข้อ พิธีมอบรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อการรณรงค์สร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มเด็กและเยาวชนกว่า 30 หน่วยงาน/บุคคล อาทิ วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์ (ออกัส) และ ชินพรรธน์ กิตติชัยวรางค์กูร (ฟลุท) นักแสดงวัยรุ่น

 

ชมวีดิทัศน์การขับเคลื่อนสุขภาวะของสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย นำตัวอย่างภาพยนตร์สั้นที่ผลิตขึ้นจากการประกวด 37 เรื่อง คัดสรรมา 3 เรื่องที่ได้รับรางวัล เรื่องแรก เท่ จะ ตาย ผลิตโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต (SBAC) นำเสนอด้วยคำพูด “ถ้าคุณคิดว่าสิ่งเหล่านี้เท่” ภาพวัยรุ่น 2 คนกำลังจุดและสูบบุหรี่มวนและอีกคนสูบบุหรี่ไฟฟ้าและใช้คำพูดเท่ๆ จบท้ายด้วยภาพหน้าศพทั้งสองคน มียอดผู้เข้าชม 3 ล้านวิว ภาพยนตร์สั้นเรื่อง เรื่องแตงโม ผลิตโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์ (ออกัส) นำแสดง “รู้ไหมครับ 1 ปีผมเสียเพื่อนรุ่นพี่รุ่นน้อง 3,300 คน หรือ 9 คนใน 1 วัน นี่คือแตงโมเปรียบเทียบเป็นหัวของเราไม่ใส่หมวกกันน็อกตกลงมาแตก แต่ถ้าแตงโมใส่หมวกกันน็อก โอกาสเสี่ยงชีวิตลดลง 39% ใส่หมวกกันน็อกเถอะครับ ลดความรุนแรงที่ศีรษะ อย่ามัวห่วงทรงผม”

 

ภาพยนตร์สั้นที่ผลิตโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นเรื่องเด็ก 3 คนคุยกันในป่าช้าว่าเป็นอะไรตาย คนแรกบอกว่าบุหรี่ไฟฟ้าระเบิด จะสูบอะไรก็ตายเหมือนกัน อีกรายหนึ่งไม่สวมหมวกกันน็อก ในขณะที่เด็กอีกคนบอกว่ายังไม่ตาย เพียงแต่มานั่งขับถ่ายเท่านั้นแล้วก็วิ่งเปิดหนีไปเพราะกลัวผี...

 

 

วัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวชื่นชมสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย รวมไปถึงองค์กรด้านเด็กและเยาวชนอื่นๆ ที่ร่วมขับเคลื่อนงานควบคุมและลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในกลุ่มเด็กและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่มวนและสูบบุหรี่ไฟฟ้า รณรงค์การสวมหมวกกันน็อก ป้องกันไซเบอร์บูลลี่ด้วยการวิ่งหากรมสุขภาพจิต เป็นข้อที่น่ากังวลเพราะส่งผลให้เกิดกระแสเด็กฆ่าตัวตายเพิ่มมากขึ้น ต้องสื่อสารให้ถึงตัวเด็ก มิฉะนั้นจะเกิดช่องว่างขึ้นได้ การต่อต้านการพนันออนไลน์ด้วยการนำเสนอคลิปที่หลอกเด็กเข้าไปเล่นการพนันออนไลน์  ด้วยการ add line เล่นแล้วรวยแน่นอน

 

 

ในวันนี้ต้องขอบคุณไปยัง สสส.ที่เป็นกลไกสำคัญสนับสนุนให้เกิดกระบวนการทำงานสร้างเสริมสุขภาพของเยาวชนภายใต้แนวคิด “เด็กคิด เด็กทำ เด็กนำ ผู้ใหญ่หนุน” ซึ่งหากดูผลการดำเนินงานในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา สสส.ทำให้เด็กและเยาวชนทั่วประเทศมีพฤติกรรมทางสุขภาพที่ดีขึ้น และสร้างกลไกการสื่อสารกันเองภายในกลุ่มเยาวชนให้สูงยิ่งขึ้นอีกด้วยขอส่งกำลังใจให้ศิลปินดารา สถาบันการศึกษาห้างร้านช่วยกันเสียสละสนับสนุนสถาบันยุวทัศน์ฯ ก้าวย่างขึ้นปีที่ 10 เป็นองค์กรเข้มแข็ง ดูจาก VTR ไม่หยุดการเปลี่ยนแปลง เติบโตอย่างต่อเนื่อง หวังว่าเด็กและเยาวชนรู้เท่าทันตัวเอง

 

พิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์ต่อการรณรงค์และสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มเด็กและเยาวชนจำนวน 5 ด้าน สนับสนุนทรัพยากรและองค์ความรู้ : ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ธนากร คมกฤส เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน ธารินี ปานเขียว บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ศิริพร ยอดกมลศาสตร์ ศูนย์ศึกษาการพนัน วศิน พิพัฒนฉัตร ศูนย์วิจัยควบคุมยาสูบ สนับสนุนการประชาสัมพันธ์ข้อมูลและข่าวสาร : สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีโทรทัศน์ NBT สถานีโทรทัศน์ TNN นสพ.ออนไลน์ข่าวสด บุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ องค์กรเด็กและเยาวชนและการศึกษา วชิรวิชญ์ ไพศาลสกุลวงศ์ (ออกัส) สปอตโฆษณาแตงโม ชินพรรธน์ กิติชัยวรางค์กูร (ฟลุท) ศิลปินนักแสดง ฯลฯ

 

 

พชรพรรษ์ ประจวบลาภ เลขาธิการสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) กล่าวว่า เนื่องในโอกาสครบรอบปีที่ 10 ของสถาบันยุวทัศน์ฯ จากการทำงานที่ผ่านมาพบว่าการแก้ไขปัญหาในกลุ่มเด็กและเยาวชน ต้องอาศัยความเข้าใจและการเข้าถึงอย่างเป็นมิตร จึงจะทำให้การแก้ไขปัญหาต่างๆ ประสบผลสำเร็จ เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นล้วนมาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน อาทิ ปัญหาบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พนันออนไลน์ และอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งการแก้ปัญหาด้วยการใช้แกนนำเยาวชน เพื่อนเตือนเพื่อน พบว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้ผลดี

 

ทั้งนี้ เนื่องในโอกาสวันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2563 ยท. พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ ขอยื่นข้อเสนอ 6 ข้อ ใน 3 ประเด็น เพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลกำหนดมาตรการสร้างเสริมสุขภาพในเด็กและเยาวชน “ประเด็นบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า” (1) ขอให้คงไว้ซึ่งมาตรการห้ามนำเข้าและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ (2) ขอให้ลงโทษขั้นเด็ดขาดแก่ผู้จำหน่ายบุหรี่ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560

 

ประเด็นการพนันออนไลน์” (1) รัฐบาลควรปราบปรามอย่างจริงจังกับกลุ่มธุรกิจผิดกฎหมายที่ลักลอบเปิดช่องทางการเล่นพนันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (2) ขอให้รัฐบาลสนับสนุนบริการให้คำปรึกษาผู้มีปัญหาและได้รับผลกระทบจากการพนัน รวมถึงการสื่อสารและรณรงค์เพื่อสร้างความรอบรู้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อการรู้เท่าทันการพนัน และ “ประเด็นอุบัติเหตุในกลุ่มเด็กและเยาวชน” (1) เสนอให้สร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องต่อการใช้รถใช้ถนนอย่างต่อเนื่องในกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะประเด็นสวมหมวกนิรภัย (2) เสนอให้จัดทำข้อมูลการได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นการเฉพาะ เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ

 

พ่อแม่ครู IDOL แบบอย่างไม่สูบบุหรี่ เด็ก 3 ใน 10 เลิกบุหรี่ได้ 21 ปี

 

ผู้เชี่ยวชาญการสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มเด็กและเยาวชน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ แจกแจงผู้ใหญ่สูบบุหรี่ลดน้อยลง เป็นห่วงเยาวชน 18-24 ปีสิงห์อมควันถึง 20% เพิ่ม 2 เท่ากว่าเด็กวัยใส 15-19 ปี พ่อแม่ครู IDOL ต้องเป็นแบบอย่างไม่สูบบุหรี่ ตัวเลขเด็ก 7 ใน 10 เลิกบุหรี่ไม่ได้ 3 ใน 10 ใช้เวลาเลิกบุหรี่นาน 21 ปีขึ้นไป นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส อดีต ผอ.รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลปลอดบุหรี่ เล่าเบื้องหลังกว่าจะเลิกบุหรี่ จากที่เคยสูบถึง 20 ปี เหล้า บุหรี่ การพนัน เพื่อนเกลอสุขภาพเสื่อม

 

เวทีเสวนาในหัวข้อ “ก้าวต่อไปแห่งการเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน” ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ อดีตนายกแพทยสมาคมโลก นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ธนากร คมกฤส เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน พชรพรรษ์ ประจวบลาภ เลขาธิการสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย ดำเนินรายการเสวนาโดย อ.เมทยา ปรียานนท์ อาจารย์พิเศษสถาบันพระจอมเกล้าธนบุรี

 

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถิติการสูบบุหรี่ในเด็กเยาวชนอายุ 15-19 ปีมีจำนวน 9% (เพศชายและเพศหญิง ทั้งนี้เพศชายสูบบุหรี่มากกว่าเพศหญิง) มีข้อที่สังเกตว่าเยาวชนวัย 18-24 ปีสูบสูงขึ้นเป็น 20% (เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าตัว) แนวโน้มเด็กวัยใสสูบบุหรี่มากขึ้น อยู่ที่สังคมจะต้องร่วมมือกัน สถิติในช่วง 20 ปีไม่เปลี่ยน ผู้ใหญ่มีแนวโน้มสูบบุหรี่ลดลง แต่นักสูบหน้าใหม่ยังไม่ลดลง ดังนั้นสังคมจะต้องร่วมมือกันเพื่อป้องกันเด็กติดบุหรี่

 

กลยุทธ์การรับมือเด็กไทย 10 คนติดบุหรี่ไฟฟ้า-บุหรี่มวน จะมี 7 คนไม่ได้เลิกบุหรี่ตลอดชีวิต ในขณะที่เด็ก 3 คนเลิกได้ แต่ต้องใช้เวลาเลิกนานถึง 21 ปี ฉะนั้นการป้องกันไม่ให้เด็กติดบุหรี่เป็นเรื่องสำคัญมาก อยู่ที่ต้นแบบของสังคม พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ คนมีชื่อเสียงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพยายามไม่สูบบุหรี่ให้เด็กเห็น มีความเข้าใจผิดมากว่าสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วจะเลิกบุหรี่มวนได้ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะในบุหรี่ไฟฟ้าก็มีนิโคตินถึง 99% ถ้าไม่มีนิโคตินคนก็ไม่สูบบุหรี่ การที่อ้างว่าในบุหรี่ไฟฟ้ามีแต่ไอน้ำเป็นความเข้าใจผิด ดังนั้นสังคมต้องช่วยกันไม่สูบบุหรี่ภายในบ้าน ในโรงเรียน สถานที่สาธารณะ

 

ทุกวันนี้การซื้อบุหรี่ซื้อได้ทุกหนแห่ง บ้านเราร้านค้าเปิดขายบุหรี่ เด็ก ม.2 จำนวน 4,000 คนใน 4 ภูมิภาค ซื้อบุหรี่ได้ทั้งๆ ที่ผิด กม. สังคมต้องสร้างความเข้าใจและรับผิดชอบที่ทำให้เด็กติดบุหรี่ เราต้องควบคุมธุรกิจยาสูบ การให้ข้อมูลที่ผิดทำให้เด็กติดบุหรี่ รัฐบาลต้องจัดการปัญหาของยาสูบให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ ช่วยกันคนละไม้ละมือ

 

 

นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ในฐานะเป็นคนรุ่น builder เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่พูดคุยกับคนในยุค gen Z Gen Y โดยไม่มีช่องว่าง เตรียมพร้อมตอบปัญหาที่พวกเราสนใจและสงสัย บ.ผู้ผลิตบุหรี่ปิดบังความจริงหลายข้อ บอกความจริงเพียงครึ่งเดียว การสูบบุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้เลิกบุหรี่มวนได้ด้วยการหยิบยก วารสาร อังกฤษได้ทำมาแล้ว คนที่ติดบุหรี่ไฟฟ้าจะเลิกบุหรี่ไฟฟ้าได้อย่างไร

 

ผมอายุ 80 ปี ก่อนยุคเบบี้บูม เป็นรุ่นบิลเดอร์หัวหงอก มีประสบการณ์อยากถ่ายทอดความรู้ ทุกวันนี้ทำงานในเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพ นำประสบการณ์มาช่วยกันสร้างเครือข่าย บุหรี่เป็นหน้าที่ของทุกคน ไม่ใช่เป็นเรื่องของกระทรวงสาธารณสุขเพียงอย่างเดียว เพราะบุหรี่ทำให้คนตาย ไม่สามารถทำงานให้ประเทศชาติได้ หลายคนกว่าจะเสียชีวิตต้องนอนติดเตียง บางคนต้องคลาน เป็นอัมพาต ไม่ได้ช่วยสังคม และยังต้องใช้เงินของสังคมอีก เหล้า บุหรี่ การพนัน ยาเสพติด ไม่ออกกำลังกาย ล้วนแล้วแต่เป็น Health Burden”

 

การเลิกบุหรี่ทำได้ยาก “ผมเป็นคนหนึ่งที่เคยสูบบุหรี่จัดมาก วันละ 2 ซองเป็นเวลา 20 กว่าปี ที่ตัดสินใจเลิกบุหรี่เพราะตอนนั้นเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล (เจริญกรุงประชารักษ์) ทำโครงการโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ เราก็สูบบุหรี่ คนที่จะต้องเลิกสูบบุหรี่เริ่มตั้งแต่ ผอ.โรงพยาบาล ผมวางบุหรี่ไว้ในลิ้นชักใส่กุญแจล็อกไว้ มืออยากจะเปิดกุญแจหยิบบุหรี่มาสูบ ปากเคยคาบบุหรี่ มือเคยคีบบุหรี่ คว้าดินสอปากกามาคาบ อยู่ในห้องทำงาน คาบไม้จิ้มฟัน ต้องใช้ความอดทนอย่างสูงในการเลิกบุหรี่เป็นอย่างมาก ผมเริ่มต้นสูบบุหรี่เพราะเพื่อน อยู่เวรกลางคืนแล้วง่วงนอน ก็ทดลองสูบ ทำให้ติดบุหรี่ตลอด 20 ปี แต่ก็เลิกได้เพราะมีแรงจูงใจที่จะเลิกบุหรี่ ตอนนั้นสุขภาพก็แย่ คนสูบบุหรี่กินเหล้าเล่นการพนันจะต้องไปด้วยกัน เป็นเพื่อนกันทั้ง 3 อย่าง ถ้าเลิกได้ทั้งสามอย่างก็เป็นเรื่องยอดเยี่ยมมาก”

 

ธนากร คมกฤส เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน สร้างกระแสให้เยาวชนตื่นรู้หยุดการพนัน “ผมเกิดก่อนเทคโนโลยี ในขณะที่เด็กรุ่นใหม่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี อยากให้คนเลิกเล่นการพนันโดยไม่ต้องพูดเรื่องการพนัน ด้วยการพูดในเรื่องที่ใหญ่กว่า การวางแผนชีวิต การวางแผนการเงิน เด็กรุ่นนี้ทำธุรกิจได้ตั้งแต่อายุยังน้อยๆ พูดไกลกว่าปัจจัยเสี่ยงเป็นการพูดเชิงบวก พูดเรื่องความรักเป็นการสร้างพลังและทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ ปัจจัยเสี่ยงปิดจุดอ่อนได้ เป็นการพูดถึงความเข้มแข็งของชุมชนด้วย การพูดในเชิงลบสร้างความกลัวให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความกลัวทำให้หยุดชั่วคราว เมื่อหายกลัวก็กลับไปทำอีก ดังนั้นการพูดในเชิงวิธีบวกการใช้พลังในทางบวกน่าจะเป็นสิ่งที่ดีกว่า”

 

การรณรงค์หยุดหวย ช่วยชาวบ้านหยุดการเล่นหวยเป็นเรื่องไม่ง่าย เพราะเขาเล่นกันมานาน 20-30 ปี ถ้าไม่ได้เล่นเหมือนกับชีวิตหดหาย เราชวนพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยกันทำความดีเพื่อถวายในหลวง เป็นกลยุทธ์สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการระเบิดจากข้างใน ค้นพบคำตอบด้วยตัวเอง รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ เสนอแนวคิดการเปลี่ยนพฤติกรรมของคน ด้วยการผลักให้เขาเปลี่ยนสนามบินอาร์มสตรอง ประเทศเนเธอร์แลนด์ ห้องน้ำที่นั่นมีปัญหากลิ่นปัสสาวะของผู้ชาย ค่อนข้างเลอะเทอะมาก สนามบินจะทำอย่างไรให้ปัสสาวะอย่างแม่นยำ จึงใช้สติกเกอร์แปะติดอยู่ในโถปัสสาวะ ปรากฏว่าผู้ชายปัสสาวะได้แม่นมากขึ้น ลดต้นทุน ผู้ชายค่อยๆ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วยจิตวิทยาเชิงสังคม เราต้องทำให้คนออกจากปัจจัยเสี่ยง หาสิ่งที่จูงใจมากกว่า อย่างน้อยที่สุดการสร้างความรอบรู้

 

สสส.ให้ความรอบรู้ในเรื่องการพนัน ต้องรู้เท่าทันด้วยการให้ความรู้แบบเนี้ยบๆ ที่รับได้ คนเล่นการพนันเสียเปรียบเจ้ามืออยู่แล้ว ไม่ต้องโกงก็เสียเปรียบเจ้ามือการพนัน เขาเป็นนักธุรกิจ ไม่มีนักธุรกิจคนไหนออกแบบให้ตัวเองต้องเสียเปรียบ เขาได้ทั้งหัวคิวจากคนเล่นบาคาร่า หักหัวคิวค่าบริหารจัดการ 5% อย่างเสี่ยโป้เจ้ามือเก็บค่าต๋งอยู่แล้ว เกมการพนันเจ้ามือออกแบบ อุตสาหกรรมการพนันถูกออกแบบประกบกับการพนันระดับโลก ถึงไม่โกงก็ชนะอยู่แล้ว ที่เหลือเจ้ามือก็ได้ทั้งหมด

 

ถ้าจะเล่นการพนันต้องวางสถานการณ์ให้ถูก เสี่ยโป้คิดว่าคนที่เข้ามาเล่นการพนันอยากจะปลดหนี้ ปรากฎว่าตายทั้งหมด เล่นการพนันเพื่อการนันทนาการชั่วครั้งชั่วคราว ถ้าหยุดไม่ได้ด้วยข้ออ้างว่าเล่นการพนันเพื่อเป็นช่องทางปลดหนี้ ตั้งตัวได้ ตายทั้งหมด การพนันออนไลน์ อยู่ที่คนเล่นการพนันคิดว่าจะรวยเปรี้ยงปร้าง ชนะพนันได้ง่ายๆ ชีวิตจะพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ คิดว่าโลกสวย อย่าลืมว่าคนออกแบบคือเจ้ามือ เพราะฉะนั้นคนชนะก็คือเขา

 

การเล่นหวยรัฐบาล (ลอตเตอรี่) ถ้าจะเปรียบเทียบคนที่ถูกรางวัล 1 คน ใน 10 สนามหลวง เป็น 1 ในล้านคนที่อยู่ใน 10 สนามหลวง เราเป็นเพียงคนเดียวเท่านั้นที่จะถูกหวยได้ ถ้าเราคิดว่าถูกหวยง่ายเพราะมีข่าวคนถูกหวยทุกงวด ในขณะที่คนจำนวน 9.9 แสนคนที่ไม่ได้ถูกหวยไม่ได้เป็นข่าว

 

พชรพรรษ์ ประจวบลาภ เลขาธิการสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย เล่าถึงผลงาน 9 ปีในการขับเคลื่อนผลงานของสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย มีน้องๆ หลายคนที่กำลังศึกษาในคณะนิเทศศาสตร์และยังไม่จบการศึกษา ส่วนใหญ่นักศึกษาเรียนด้านการตลาด มีความเชี่ยวชาญในการผลิตสื่อ หลายๆ คลิปเผยแพร่ในสังคมออนไลน์ การได้รับโบแดงไม่จำเป็นว่าจะต้องประสบความสำเร็จ บางครั้งเด็กและผู้ใหญ่คุยกันไม่รู้เรื่อง มีช่องว่าง เราอาสาที่จะคุยกับผู้ใหญ่ ฝากทุกอย่างบนเวทีนี้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

 

ความเป็นโบแดง สื่อเป็นหัวใจสำคัญ อาจารย์ของผมทั้งสองท่าน อ.พลอยชนก วงศ์ภัทรไพศาล หัวหน้าภาควิชาประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.สยาม อ.ธีรวันท์ โอภาสบุตร ภาควิชาประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.สยาม สอนผมสื่อมีผลต่อพฤติกรรม ผมเชื่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นต้องใช้เวลา อย่างคำว่ารักแร้ เต่า นอกเหนือจากความอับชื้น มีเหงื่อทำให้เต่าเหม็น เกิดเป็นธุรกิจผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย โฆษณาบอกว่าถ้าไม่ใช้ เต่าจะมีกลิ่น ดำ ไม่สวยไม่หล่อ ธุรกิจเปลี่ยนแปลง Mind Set ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารให้ความขาวใส ดังนั้นการสื่อสารของสถาบันยุวทัศน์ฯ และภาคีเครือข่าย เมื่อได้รับข้อมูลจากอาจารย์ เราทำภาพยนตร์สั้นเรื่องการสวมหมวกกันน็อก เราไม่สามารถให้คนล้มจากมอเตอร์ไซค์ลงมากระแทกที่พื้นได้ เราจึงใช้แตงโมเพื่อการสื่อสาร ให้สวมหมวกกันน็อกแตงโมเมื่อหล่นลงพื้น เปรียบเทียบกับเป็นคนเพียงล้มลงหัวฟาดพื้นเราต้องไปหาหมอ แต่ถ้าเราขับรถมาด้วยความเร็วสูงแล้วไม่สวมหมวกกันน็อก เท่ากับตกจากตึก 30 ชั้น ยิ่งเป็นการเพิ่มความรุนแรงในการเกิดอุบัติเหตุ”

 

การแนะนำสิ่งรอบตัวเสมือนหนึ่งเพื่อนเตือนเพื่อน  เด็กไทย 7 ล้านคนมีสิทธิเลือกตั้งเราต้องกระตุ้นจิตสำนึก “แม่ผมบังคับผมให้สวมหมวกกันน็อกเมื่อขับขี่มอเตอร์ไซค์ ผมจะเถียงเสมอว่าไปแค่นี้เอง แต่เมื่อผมได้ทำงานให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต้องสวมหมวกกันน็อก การให้ความรู้ถึงเรื่องความปลอดภัย การคาดเข็มขัดนิรภัยเมื่อขึ้นรถ เมื่อความรู้ซึมซับถึงผู้ฟังก็จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ รถยนต์ 1 คัน ล้อหายไป 1 ล้อก็มีปัญหาได้ เยาวชนเป็นน๊อตที่ยึดล้อไว้ เป็นน้ำมันเครื่อง เราเป็นกำลังสำคัญในการบอกกล่าวกระตุ้นจิตสำนึก”

 

นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน กล่าวถึงสถานการณ์ความปลอดภัยบนท้องถนน เป็นเรื่องการให้ความรู้เรื่องการสวมหมวกกันน็อก ถ้าไม่ใส่หมวกกันน็อกจะกลายเป็นกลุ่มเสี่ยง บางครั้งในกลุ่มเพื่อนใครใส่หมวกกันน็อกจะถูกค่อนขอดว่าเป็นเด็กเนิร์ด เป็นความเครียดทางสังคม เด็กบางคนยอมถอดหมวกเพื่อเข้ากับกลุ่มเพื่อนๆ หลายครั้งคนในชุมชนจะพบปัญหาความสัมพันธ์เป็นเรื่องของความคุ้นชินของสังคม พฤติกรรมการขับรถ ขับช้าเพื่อความปลอดภัย การไม่รับโทรศัพท์ในขณะขับรถ แต่บางครั้งก็ถูกล้อเลียนว่าแฟนโทรมาไม่รับโทรศัพท์ไม่ได้ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ ขณะนี้มีกิจกรรมสร้างสรรค์แฟชั่นหมวกกันน็อก ด้วยการให้คนรุ่นใหม่สวมหมวกกันน็อกกับการใช้รถต้องเป็นแฟชั่นควบคู่กัน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"