"สภาพัฒน์" ชงต้องปรับโครงสร้างระบบราชการ เฉือนลดจำนวน ขรก.หลังพบรายจ่ายพุ่ง 80% ขณะที่เนติบริการเช้าเย็นไปคนละเรื่อง อ้างแค่แนวคิดสอบภาค ก. บรรจุทันที
เมื่อวันศุกร์ นายดนุชา พิชยนันท์ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "ปิดเพดานหนี้ฐานราก ปรับโครงสร้างหนี้ประเทศ" ในงานสัมมนา ทางเลือก ทางรอด ฝ่าวิกฤติหนี้ ว่าจากข้อมูลหนี้สาธารณะของไทยในเดือน ก.ค.2563 อยู่ที่ 47% ต่อจีดีพี เพิ่มขึ้นจากต้นปีที่ 41% ต่อจีดีพี เนื่องจากสถานการณ์ของประเทศไม่ปกติ จำเป็นต้องมีการกู้เงินเพื่อเยียวยาประชาชนในหลายส่วน
นายดนุชากล่าวต่อว่า แต่ภาพรวมหนี้สาธารณะของประเทศยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังไม่เกิน 60% ต่อจีดีพี ซึ่งยังบริหารจัดการได้ โดยมีการประเมินว่าแม้จะมีการกู้เงินตาม พ.ร.ก.กู้เงินฉุกเฉิน 1 ล้านล้านบาท สุดท้ายสัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศจะอยู่ที่ 57% ต่อจีดีพี สะท้อนว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะของไทยไม่ได้พุ่งสูงขึ้นมากนักเมื่อเทียบกับหลายประเทศ
โดยหากดูจากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในขณะนี้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้าในช่วงก่อนหน้า รวมถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนส่งผลให้เครื่องมือเศรษฐกิจอื่นๆ ทำงานได้ลำบาก จึงเหลือเพียงการใช้จ่ายภาครัฐอย่างเดียวที่รับหน้าที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ดังนั้นในระยะ 1-2 ปีนี้ รัฐบาลจึงต้องเป็นกลไกในการลงทุนต่างๆ ไปก่อน นั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ภาครัฐจำเป็นต้องปรับลดงบรายจ่ายประจำลง
นายดนุชากล่าวต่อว่า ทั้งนี้ มองว่ารัฐบาลต้องพยายามจัดทำงบประมาณแบบสมดุลให้ได้อย่างน้อยภายใน 5-6 ปีข้างหน้า เพราะว่าการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลเหมือนปัจจุบันต่อไปคงไม่ได้ แม้ว่าที่ผ่านมาการขาดดุลงบประมาณจะเกิดจากการกู้เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญต่างๆ ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 3-5 แสนล้านบาท โดยหนี้ส่วนนี้ไม่มีความน่ากังวล
รองเลขาธิการสภาพัฒน์กล่าวต่อว่า เพราะท้ายที่สุดโครงการจะสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจกลับมาด้วย แต่หนี้ที่เกิดจากการทำนโยบายกึ่งการคลัง เพื่อช่วยเหลือประชาชนผ่านกลไกของรัฐ อาทิ ธนาคารรัฐ โดยเป็นการช่วยไปก่อนแล้วรัฐบาลตั้งงบชดเชยภายหลัง โครงการพีพีพี เป็นต้น มองว่านโยบายกึ่งการคลังนี้ทำได้แค่บางช่วงเวลาและบางโครงการเท่านั้น ทำมากไม่ได้ เพราะจะกระทบกับฐานะการคลังจนอาจทำให้งบลงทุนตามกรอบงบประมาณลดลง
“หากต้องการลดการขาดดุลงบประมาณ และเดินหน้าเข้าสู่งบสมดุลนั้น รัฐบาลต้องเริ่มจากปรับโครงสร้างระบบราชการ เพราะเป็นระบบใหญ่ ตามงบประมาณ มีงบรายจ่ายประจำถึง 80% ถือว่าสูงมาก สูงเกินไป วันนี้เรามีเทคโนโลยีนำมาใช้ทำงานได้ รัฐบาลจึงต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ ปรับโครงสร้างระบบราชการเพื่อลดงบส่วนนี้ ให้มีงบลงทุนมากขึ้น ก็จะช่วยลดการขาดดุลลงได้ พร้อมทั้งต้องจัดเก็บรายได้เพิ่ม” นายดนุชากล่าว
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน กล่าวปาฐกถาพิเศษ “ทางเลือก ทางรอด ประเทศไทย” ในงานสัมมนาทางเลือก ทางรอด ฝ่าวิกฤติหนี้ ว่าจากสถานการณ์ปัจจุบัน เชื่อว่าประเทศไทยจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1-2 ปี โดยจะเริ่มดีขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2564 และจะกลับสู่ภาวะปกติภายในปี 2565 บนสมมุติฐานของตัวเลขหนี้ตามมาตรการพักชำระหนี้ในปัจจุบัน นั่นคือความหวังและความเชื่อของตนเองที่มี จากเดิมที่มองว่าหนี้ในส่วนนี้จะไม่สามารถแก้ไขได้เลย แต่จนถึงปัจจุบันที่สถานการณ์เศรษฐกิจต่างๆ คลี่คลายลง รัฐบาลมีการคลายล็อกมาตรการถึง 6 ขั้น เศรษฐกิจมีการเคลื่อนไหว คนกลับมาใช้ชีวิตปกติ การบริโภคใช้จ่ายก็ดีขึ้นมาก ทำให้เชื่อว่าหนี้ที่จะเป็นปัญหาจะน้อยลง
นายสุพัฒนพงษ์กล่าวอีกว่า หลังเข้ามารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงานได้เดือนกว่า ได้ทำความเข้าใจกับประเทศไทย และพบว่าไทยมีความพร้อม คนไทยทุกคนเข้าใจ รู้ปัญหาและแก้ไขปัญหา เชื่อว่าความกลัวเรื่องวิกฤติหนี้ในครั้งนี้จะแก้ไขได้ด้วยดี เพราะยอดหนี้ 7 ล้านล้านบาท เป็นเรื่องที่ยังบริหารจัดการได้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ 6-7% ทำให้แรงโน้มถ่วงไม่เยอะ แต่มีปัจจัยกดดันเรื่องเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยเท่านั้น ดังนั้นหากรัฐบาลมุ่งมั่น คนไทยมีความเชื่อมั่นร่วมกันว่าปัญหาโควิด-19 ต้องมีวันสิ้นสุด จะทำให้สถานการณ์ทุกอย่างคลี่คลายดีขึ้น
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเปิดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 27 ก.ย.ว่า ขณะนี้รัฐบาลต้องการกำลังพลประมาณ 30,000 คน และปีนี้มีผู้เข้าสอบกว่า 500,000 คน ที่จริงควรจะสอบกันตั้งแต่ช่วงเดือน ก.พ. เพราะเขาจ่ายเงินสมัครกันตั้งแต่เดือน ธ.ค.62 แล้ว โดยสนามสอบมี 20 แห่งทั่วประเทศ แต่ช่วงนั้นมีสถานการณ์โควิด-19 เดินทางข้ามจังหวัดไม่ได้ จึงต้องปิดและเลื่อนมา
นายวิษณุกล่าวต่อว่า วันนี้ส่วนราชการต้องการคน เมื่อสอบได้ก็นำไปบรรจุ อีกทั้งขณะนี้คนว่างงานเยอะ เราต้องการบรรจุก่อนที่บัณฑิตรุ่นใหม่จะจบออกมาอีกกว่า 500,000 คน โดยปกติแล้วการสอบต้องมีแผน ก. และแผน ข. ซึ่งข้าราชการทุกคนต้องสอบแผน ก. ขณะที่แผน ข. แต่ละหน่วยงานจะสอบไม่เหมือนกัน
“ปีนี้หากใครสอบแผน ก.ได้ก็ให้บรรจุเลย ส่วนแผน ข.ให้ไปจัดสอบกันเองภายในกรม หากตกแผน ข.ก็ให้ออก ส่วนบัณฑิตใหม่จะสอบภาค ก. ในปีหน้านั้น อาจจะใช้วิธีอย่างอื่น โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง เพื่อไม่ต้องให้คนมานั่งร่วมสอบจำนวนมาก” นายวิษณุกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้อัตรากำลังพลที่ต้องการอยู่ที่ 30,000 อัตราใช่หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า อัตราว่างมันมีอยู่ แต่ไม่มีทางได้ครบ เนื่องจากสถิติของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ระบุว่าการสอบแผน ก. ทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่เคยได้คนเต็มจำนวน
ต่อมาในช่วงเย็น? นายวิษณุให้สัมภาษณ์อีกครั้งถึงกรณีดังกล่าวว่า เป็นนโยบายที่รัฐบาลคิดจะดำเนินการ เพราะส่วนราชการเร่งรัดต้องการคน แต่สำนักงาน ก.พ.ปรับปรุงระเบียบการสอบไม่ทัน? เพราะเกี่ยวกับคนถึง 5 แสนคน? ทำให้ต้องใช้วิธีการสอบบรรจุข้าราชการตามระบบปกติ ส่วนปีหน้าจะใช้วิธีไหนจะประเมินกันอีกครั้ง? ต้องดูสถานการณ์โควิดประกอบด้วย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |