26 ก.ย. 2563 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีปัญหา การปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง กับเอกชนที่ให้ความสนใจยื่นข้อเสนอ ยืนยันว่าผู้บริหารรฟม.ได้รายงานให้ทราบประเด็นดังกล่าว รฟม.ได้ปรับหลักเกณฑ์ถูกต้องตามกฎหมาย และอยู่ในสิ่งทีโออาร์ที่มีอยู่ เป็นประโยชน์กับ รฟม. และราชการ ส่วนการดำเนินการปรับปรุงเกณฑ์ที่นำเงื่อนไขด้านเทคนิครวมกับเงื่อนไขราคานั้น เรื่องนี้ได้มีเอกสารยืนยันว่าทำได้จากสคร. กระทรวงการคลังแล้ว
"โครงการต่างๆของรฟม.ที่ผ่านมาเป็นตัวชี้วัดอยู่แล้ว เราไม่ได้ประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นโครงการแรก ซึ่งที่ผ่านมามีการประมูลโครงการรถไฟฟ้าหลาย ทั้งนี้เราไม่มีสิทธิ์ปิดกั้นที่เอกชน ที่จะยื่นข้อร้องเรียน ต่อการประมูล แต่สิ่งที่สำคัญคือรฟม. ต้องแสดงข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งหมด เบื้องต้นทราบว่าเรื่องนี้ได้มีการฟ้องร้องต่อศาลปกครองแล้ว แต่ รฟม. ยืนยันพร้อมไปชี้แจงศาลปกครองทุกประเด็น"นายศักดิ์สยามกล่าว
นายศักดิ์สยามกล่าวย้ำว่า เรื่องนี้ยังไม่มีการทุจริต เพราะยังไม่มีการประกวดราคา และการที่ไปกล่าวหาว่ามีการทุจริตแล้ว ถือเป็นเรื่องที่ไม่ดี ส่วนเรื่องนี้ จะเป็นการเอื้อเอกชนรายใดหรือไม่ ท้ายสุดเมื่อเรื่องนี้ขึ้นสู่ศาล รฟม.ต้องนำหลักฐานไปชี้แจงต่อศาล หากศาลมีคำสั่งว่าไม่ถูกต้องก็ต้องปรับแก้ไข แต่หากศาลมีคำพิพากษาว่าถูกต้องเราก็เดินหน้าต่อไป
ทั้งนี้ ยอมรับว่า ประเด็นดังกล่าว นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความป็นห่วงเรื่องนี้ ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้รายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบว่าไม่ต้องกังวลกับเรื่องดังกล่าว โดยกระทรวงคมนาคมจะกำกับให้การดำเนินงานโปร่งใส รวมทั้งกระทรวงคมนาคมและ รฟม.ก็มีประสบการณ์ในการดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามาแล้วหลายสาย
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการ รฟม. แถลงข่าวชี้แจงเรื่องการปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal Document : RFP) เป็นผู้ร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวิทนวงศ์) ว่า ยืนยันว่าการปรับปรุงหลักเกณฑ์ครั้งนี้ ปรับปรุงเฉพาะวิธีการประเมินข้อเสนอ โดยให้พิจารณาด้านเทคนิคควบคู่กับราคาในสัดส่วนร้อยละ 30:70 เท่านั้น ไม่ได้ปรับปรุงเนื้อหาข้อเสนออื่นใด จึงไม่ได้ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกับเอกชนผู้ยื่นข้อเสนอรายใด และการปรับปรุงครั้งนี้ก็เป็นอำนาจที่คณะกรรมการตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 สามารถทำได้ โดยไม่ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) และคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม. พิจารณาเห็นชอบก่อน
โดย รฟม. และคณะกรรมการมาตรา 36 พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว โดยพิจารณาทั้งกฎหมายหลัก และกฎหมายรองที่เกี่ยวข้อง จึงยืนยันว่าเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนกรณีที่มีผู้ซื้อซองเอกสารไปยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง เนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการปรับปรุงหลักเกณฑ์นั้น เป็นสิทธิที่ทุกบริษัทสามารถทำได้ ขณะนี้ศาลยังไม่ได้นัดไต่สวน แต่เชื่อมั่นว่าศาลจะรับฟังข้อมูลของ รฟม. เพราะได้ทำตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้หากศาลพิจารณาแล้วมีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน ก็คงต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาล
นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การพิจารณาครั้งนี้ รฟม. ยืนยันว่าเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นหลังจากรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน ซึ่งในขณะนั้นคณะกรรมการมาตรา 36 มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ถึงการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ พร้อมสั่งการให้ รฟม.ดำเนินการศึกษาเพิ่มเติม แต่เนื่องด้วยกรอบระยะเวลาดำเนินโครงการที่จำกัด ทำให้ รฟม.ต้องออกประกาศขายซองข้อเสนอไปก่อน อีกทั้งมองว่าหากจะมีการแก้ไขหลักเกณฑ์ก็เป็นไปตามสิทธิ์ของคณะกรรมการมาตรา 36 และมีการขยายเวลายื่นข้อเสนออีก 45 วัน ซึ่งจะทำให้เอกชนมีเวลาในการปรับปรุงข้อเสนอเท่าเทียมกัน
นายภคพงศ์ กล่าวอีกว่า ก่อนปรับปรุงหลักเกณฑ์ไม่คิดว่าจะเกิดปัญหาตามมาทีหลัง เพราะได้แจ้งให้ผู้ซื้อซองทั้ง 10 ราย ทราบก่อนถึงวันยื่นซองข้อเสนอ อีกทั้งได้ขยายเวลายื่นข้อเสนอออกไปอีก 45 วัน เป็นวันที่ 9 พ.ย.63 ซึ่งหากนับเวลาจากการที่ รฟม. ได้ส่งเอกสารเพิ่มเติมให้ผู้ซื้อซองตั้งแต่วันที่ 27 ก.ย.63 ผู้ซื้อซองทุกรายจะมีเวลาจัดทำเอกสารตามหลักเกณฑ์ใหม่ถึง 73 วัน ถือว่าไม่ได้เปลี่ยนแปลงกะทันหัน ทั้งนี้ยืนยันอีกครั้งว่า การปรับปรุงเกณฑ์โดยนำคะแนนด้านเทคนิคมาตัดสินร่วมกับคะแนนการเงินนั้น ไม่ใช่เป็นหน่วยงานแรก และครั้งแรกที่เกิดขึ้นในไทย ที่ผ่านมามีโครงการมากมายที่ดำเนินการในลักษณะนี้ อาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เมื่อปี 41, โครงการก่อสร้างทางด่วน ระยะ 2 และโครงการจัดซื้อจัดจ้าง e-passport เป็นต้น
นายภคพงศ์ กล่าวต่อว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โดยเฉพาะส่วนตะวันตก ต้องใช้เทคนิคการก่อสร้างที่มีความซับซ้อน เนื่องจากเป็นการดำเนินงานก่อสร้างใต้ดินทั้งหมด ประกอบกับแนวเส้นทางที่พาดผ่านเข้าในพื้นที่ชุมชน และพื้นที่อ่อนไหวหลายแห่ง โดยเฉพาะกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นในต้องก่อสร้างอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงการเดินรถไฟฟ้าที่ต้องได้มาตรฐานความปลอดภัยชั้นสูง ดังนั้นผลประโยชน์ที่รัฐและประชาชนผู้ใช้บริการจะได้รับ จึงต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพ เทคนิค และประสิทธิภาพในการดำเนินงานของเอกชนเป็นสำคัญ ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์การเงินสูงสุดเท่านั้น ซึ่งสัดส่วนที่ให้คะแนนเทคนิค 30% ถือว่าเหมาะสมแล้ว เพราะหากให้สัดส่วนสูงกว่านี้จะถูกมองว่าเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายใดรายหนึ่งได้
นายภคพงศ์ กล่าวด้วยว่า รู้สึกแปลกใจว่าบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส มีความกังวลอะไร เพราะหากตั้งใจที่จะเสนอข้อเสนอด้านเทคนิคที่มีคุณภาพดี ก็ไม่เห็นต้องไปกลัวอะไร อยากให้ใช้เวลาที่เหลืออยู่นี้ไปปรับปรุงข้อเสนอให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใหม่ น่าจะทำให้บีทีเอสมีโอกาสสูงที่จะได้เป็นคู่สัญญากับ รฟม. ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ทั้งนี้ในข้อกำหนดส่วนงานโยธา ก็เปิดกว้างให้สามารถว่าจ้างผู้รับเหมาช่วง (ซับคอนแทรค) เข้ามาดำเนินการได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ซื้อซองเท่านั้น ซึ่งในประเทศไทยก็มีผู้รับเหมาประมาณ 4-5 ราย ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญงานด้านอุโมงค์ เช่น อุโมงค์ผันน้ำแม่น้ำแม่กลอง, อุโมงค์น้ำเสียของกทม. และอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินของ รฟม. ดังนั้นจึงยังมีเวลามากพอที่จะไปเชิญบริษัทเหล่านี้มาเป็นผู้รับเหมาช่วง ทั้งนี้งานอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา ก็ใช้เทคนิคเดียวกันกับงานอุโมงค์อื่นๆ เพียงแต่อุโมงค์ลอดเจ้าพระยาจะเซนซิทีฟมากกว่า
ส่วนเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคนั้น รฟม.จะยังไม่เปิดเผย เพื่อไม่ให้ผู้ยื่นข้อเสนอรายใดทราบข้อมูลก่อน และเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ แต่ระหว่างนี้คณะกรรมการคัดเลือกจะใช้ดุลยพินิจในการกำหนดหลักเกณฑ์ย่อยเพื่อพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค และจะเปิดเผยภายหลังรับซองข้อเสนอของเอกชนแล้ว ซึ่งเบื้องต้นได้กำหนดรับซองข้อเสนอในวันที่ 9 พ.ย.63 จากนั้นกำหนดเปิดซองด้านคุณสมบัติ ในวันที่ 23 พ.ย.63 ขณะที่ข้อเสนอด้านเทคนิคและด้านการเงิน จะเปิดพร้อมกัน คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะแล้วเสร็จได้ตัวเอกชนผู้ชนะการประมูลภายในเดือน ม.ค.64
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีฟ้องร้องต่อศาลปกครองนั้น BTS เมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา โดยเป็นการยื่นฟ้องร้องต่อคณะกรรมการตามมาตรา 36 และรฟม. เพื่อขอให้ศาลคุ้มครองชั่วคราว และยกเลิกการปรับปรุงวิธีการประเมินข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ ขณะที่รฟม.ได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายเข้ายื่นคัดค้านการขอคุ้มครองประเด็นดังกล่าวทันที ส่งผลให้ขณะนี้ศาลปกครองยังไม่มีคำสั่ง เกี่ยวคำร้องที่ BTS ยื่นต่อศาลออกมาแต่อย่างใด
ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) รฟม.ได้เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง 35.9 กิโลเมตร(กม.) ระยะเวลา 30 ปี วงเงินรวมประมาณ 1.2 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)) ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร จำนวน 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย)
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |