25 เม.ย.61- หลวงปู่พุทธะอิสระ โพสต์ข้อความใน เพจ หลวงปู่พุทธะอิสระ (Buddha Isara) ระบุว่า...
อย่างนี้มันต้องจัดทุกเม็ด เช็คทุกดอก
เงินออกจากกระเป๋า แต่ไม่มีสิทธิ์ตรวจสอบว่าใครเอาไป เอาไปใช้อย่างไรนี่มันตรรกะโจรชัดๆ
ข่าวกลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน ยกขบวนเดินทางไปร้อง ปปป. ซึ่งนำโดย นายจรูญ วรรณกสิณานนท์ และพวก หอบหลักฐานไปแจ้งความเอาผิดต่อ ผอ.สำนักพุทธ ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๕๗
มูลเหตุฉากที่ ผอ.สำนักพุทธ ไปแจ้งความเอาผิดกับพระสงฆ์ ๕ รูปซึ่ง ๓ ใน ๕ มีชื่อของกรรมการมหาเถรสมาคมเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตเงินทอนวัดอยู่ด้วย ต่อกองบังคับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ปปป.)
โดยข้อกล่าวหาของกลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดินนี้มีอยู่พอจะแยกได้ ๕ ประเด็นซึ่งแต่ละประเด็นมีมูลความจริงแค่ไหน คงต้องพิสูจน์กันในชั้นศาลแต่ที่แน่ๆ เรามาช่วยกันดูข้อมูลหักล้างที่จะเสนอต่อไปนี้ก่อนเริ่มตั้งแต่
๑. กล่าวหาว่า ผอ.สำนักพุทธนั้นเป็นเพียงนิติบุคคล เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่มีอำนาจตามกฎหมาย จะต้องดำเนินหน้าที่ตามมติของคณะรัฐมนตรีเท่านั้น
เรื่องนี้สามารถแก้ข้อกล่าวหาได้ด้วยกฎกระทรวง พศ.๒๕๕๗ ที่ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งออกคำสั่งโดยนายกรัฐมนตรี
ในข้อ ๒ ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีภารกิจเกี่ยวกับการดำเนินงานสนองงานคณะสงฆ์และรัฐ โดยการทำนุบำรุงส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา ให้การอุปถัมภ์ คุ้มครอง และส่งเสริมพัฒนางานพระพุทธศาสนา ดูแล รักษา จัดการศาสนสมบัติ พัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลาง หางพระพุทธศาสนา รวมทั้งให้การสนับสนุน ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรทางศาสนา โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการคณะสงฆ์ และกฎหมายว่าด้วยการกำหนดวิทยฐานะ ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา รวมทั้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
(๓) เสนอแนวทางกำหนดนโยบาย และมาตรการในการคุ้มครองพระพุทธศาสนา
ด้วยกฎกระทรวง พศ. ๒๕๕๗ นายกรัฐมนตรีผู้มีอำนาจสั่งการในฐานะผู้กำกับดูแลการบริหารงานราชการแผ่นดิน จึงได้สั่งการตาม (๑) และ (๓) เช่นนี้ถือว่า ผอ.สำนักพุทธ มีอำนาจสั่งการหรือเปล่า
หากยังสงสัยอีก ลองตามมาดูคำแก้ข้อกล่าวหาข้อที่ ๒
๒. กลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดินกล่าวหา ผอ.พงศ์พร ว่า ไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมายที่จะตรวจสอบการทำงานของพระสงฆ์ เพราะเรื่องเงินทอนวัด ทางสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบอยู่แล้ว
ข้อกล่าวหานี้แก้ได้ด้วยการตะโกนว่า บ้าไปแล้ว มีอย่างที่ไหนเงินงบประมาณแผ่นดินที่สำนักงบประมาณอนุมัติให้หน่วยงานต่างๆ ได้ใช้จ่าย แต่ผู้บริหารหน่วยนั้นๆ ไม่มีสิทธิตรวจสอบการใช้เงิน นี่มันเอาตรรกะมหาโจรมาใช้ชัดๆ
ทีนี้ลองมาดูกันว่า ผอ.สำนักพุทธมีสิทธิ์ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณ และผู้ขอใช้งบประมาณนั้นหรือไม่
ตามระเบียบกฎกระทรวงโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ให้สำนักพระพุทธศาสนา ทำหน้าที่ซึ่งปรากฏในข้อ ๔ ความว่า ในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้มีกลุ่มตรวจสอบภายในเพื่อทำหน้าที่หลักในการตรวจสอบการดำเนินการภายในสำนักงาน และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงาน รับผิดชอบงาน ขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการโดยมีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของสำนักงาน
(๒) ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ทีนี้พอจะเข้าใจหรือยังว่า ผอ.สำนักพุทธมีอำนาจตรวจสอบหรือไม่
เมื่อมีกฎกระทรวงโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี ข้อ ๔ (๑) และ (๒) ดังกล่าวนี้แล้ว ผอ.สำนักพุทธไม่ทำหน้าที่ ผอ. ก็ต้องเจอ ๑๕๗ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เหมือนกัน
๓. กลุ่มชาวพุทธรับใช้อลัชชีเอ๋ย ไม่ใช่กลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน ยังกล่าวอ้างอีกว่า ทางพระสงฆ์ มีการตรวจสอบทางธรรมวินัยกันอยู่แล้ว
พุทธะอิสระอ่านแล้ว อยากหัวเราะให้เหงือกหลุด มันทำกันได้อย่างที่กล่าวอ้างจริงหรือ หากหมู่สงฆ์ช่วยกันดูแล ตรวจสอบ ซึ่งกันและกันจริง ตามหลักพระธรรมวินัย ทุกวันนี้ จะมีอลัชชีไปนั่งอยู่ในที่ประชุมมหาเถรได้อย่างไร
และคดีธรรมกายทำไมต้องให้รัฐทุ่มเทกำลังพล ทั้งงบประมาณเป็นร้อยๆ ล้านเข้าไปจัดการ
อย่าเอาแต่เพ้อฝัน มโนโลกสวย ตื่นมาอยู่กับโลกแห่งความจริงได้แล้ว
ถามจริงๆ เถิด พวกคุณเชื่อจริงๆ หรือว่า พระสงฆ์ในเถรสมาคม จะตรวจสอบกันได้จริงๆ เคยได้ยินไหมคำว่า “แมลงวันจะไม่ตอมแมลงวันด้วยกัน” นี่คือคำพูดของอดีตกรรมการหัวหน้ามหาเถร แห่งวัดสระเกศที่ตายไปแล้ว
หากจะออกมาปกป้องกันก็ว่ากันไปตรงๆ เลย อย่ามามดเท็จเบี่ยงเบนประเด็นให้ผู้ที่ไม่รู้เขาสับสน
ต่อไปก็เป็นข้อกล่าวอ้างหาที่ ๔ กล่าวหาที่ว่าหากพระสงฆ์กระทำความผิดจริง ควรที่จะให้พระสงฆ์ดูแลกันเองก่อน นี่คือเหตุผลของกลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน
แหม..พุทธะอิสระไม่รู้ว่าคนกลุ่มนี้มาจากซีกโลกไหน ถึงมองไม่ออก อ่านไม่ได้ว่า เหตุการณ์ที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นกรณีเณรคำ สมีนิพล หรือกรณีธรรมกาย กฎนิคหกรรมที่ศาลสงฆ์มีอยู่เคยได้ถูกหยิบเอามาใช้พิจารณาความผิดใครได้บ้าง
นอกจากศาลสงฆ์จะไม่สามารถเอาคนผิดมาลงโทษตามหลักธรรมวินัยได้แล้ว ตัวศาลสงฆ์สูงสุดอย่างกรรมการมหาเถร ยังมีเหตุให้เป็นมลทินจนเป็นที่ระแวงสงสัยในความบริสุทธิ์ ยุติธรรมเสียเอง และอย่างนี้พุทธบริษัทยังจะหวังพึงศาลสงฆ์ได้อยู่อีกหรือ
๕. ข้อกล่าวหาที่หากมีความผิดจริง บุคคลที่จะแจ้งความเอาผิดได้นั้นจะต้องเป็นประชาชนไม่ใช่บุคคลที่อยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยงานพระพุทธศาสนา
บ้าไปแล้ว เงินก็เป็นเงินภาษีของราษฎรที่รัฐอนุมัติงบค่าใช้จ่ายให้แก่สำนักพุทธ เพื่อใช้ในภารกิจของพระพุทธศาสนา เมื่อมีภิกษุหรือวัดใดขอเงินไปใช้เพื่อการอุดหนุนในโครงการต่างๆ ตามระเบียบสำนักพุทธก็มีสิทธิ์พิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติก็ได้
ยิ่งการของบที่ไม่ถูกระเบียบด้วยแล้ว หากสำนักพุทธยังกล้าให้นั้นแสดงว่า มีเจตนาทุจริตทั้งผู้อนุมัติและผู้ขอ
เมื่อผู้บริหารองค์กร คือ ผอ.สำนักพุทธ รู้เรื่องแล้วตรวจสอบมันก็เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริหารองค์กรที่ต้องการความโปร่งใส
แต่ถ้า ผอ.สำนักพุทธ ไม่มีการตรวจสอบการเบิกจ่ายการใช้งบประมาณในองค์กรของตนนี่ซิ ถือว่าละเลยต่อหน้าที่ตามระเบียบที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีในเรื่องอำนาจหน้าที่ของสำนักพุทธ ข้อ ๖ ความว่า
ในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้มีศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตเพื่อทำหน้าที่หลักในการบูรณาการและขับเคลื่อน แผนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และการส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรมในสำนักงาน
รับผิดชอบงานขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะแก่ผู้อำนวยการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสำนักงาน รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ และนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง เสนอต่อผู้อำนวยการ
(๒) ประสานงาน เร่งรัด และกำกับให้ส่วนราชการในสำนักงานดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการ
(๓) รับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๕) ประสานงาน เร่งรัด และติดตามเกี่ยวกับการดำเนินงานตาม (๓) และ (๔) และร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๖) ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการในสำนักงานและการคุ้มครองจริยธรรม เสนอต่อผู้อำนวยการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๗) สำนักงานเลขานุการมีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่และยานพาหนะของสำนักงาน
(๘) สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคมมีหน้าที่ดำเนินการและประสานงานเกี่ยวกับการคุ้มครองพระพุทธศาสนา
เหล่านี้คืออำนาจหน้าที่ของ พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนา ตามประกาศในกฎกระทรวง เซ็นคำสั่งโดยนายกรัฐมนตรี ออกคำสั่งเมื่อ พศ.๒๕๕๗
แล้วทีนี้พวกกลุ่มปกป้องอลัชชีจะแถดแถไปอย่างไรอีก จากการสังเกตุดูคนเผ่าพันธุ์นี้ มีสันดานคล้ายคลึงกันคือ กลัวความจริง ไม่มีความกล้าที่จะพิสูจน์ความจริง และมักจะไม่ยอมรับต่อกระบวนการยุติธรรม ถ้าพวกตนเสียเปรียบ
หากกลุ่มชาวพุทธพลังแผ่นดิน อยากให้ประชาชนเป็นผู้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพระภิกษุที่ร่วมหัวกันทุจริตเสียเองดังที่กล่าวอ้าง
เดียวพุทธะอิสระจัดให้
จะได้ส่งสัญญาณให้แกนนำชาวพุทธในแต่ละจังหวัด ไปแจ้งความเอาผิดกับภิกษุผู้ทุจริตทุกรูป โอเคไหม
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |