25ก.ย.63- องค์การเภสัชกรรม (อภ.)และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ได้ลงนามสัญญา การก่อสร้างโรงงานผลิตยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง เป็นแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อให้ผู้ป่วยคนไทย เข้าถึงยาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงมากขึ้น คาดว่า ลดภาระด้านค่าใช้จ่ายในการนำเข้ายาจากต่างประเทศที่มีมูลค่าปีละกว่า 21,000 ล้านบาท ลงมากกว่า 50% เพิ่มจีดความสามารถในการแข่งขัน ในอุตสาหกรรมยาของประเทศ โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) และนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีลงนาม พร้อมด้วย นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ. )นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
นายอนุทิน กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุข และเป็นสาเหตุการตายสูงเป็นอันดับ 1 ต่อเนื่องนาน 20 ปี คนไทยต้องเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งกว่า 80,000 คนต่อปี และมีค่าใช้จ่ายด้านยาที่สูงมาก ความร่วมมือในการสร้างโรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็งในครั้งนี้ จะทำให้ประเทศไทยมีโรงงานที่สามารถผลิตยารักษาโรคมะเร็งที่ครอบคลุมการรักษาทุกกลุ่มโรคมะเร็งในปัจจุบัน และในทุกกลุ่มการผลิต ทั้งรูปแบบยาเคมีบำบัด ซึ่งเป็นยาพื้นฐานในการรักษาโรคมะเร็งที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย และกลุ่มยารักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง เมื่อผลิตได้สำเร็จคาดว่าจะช่วยลดราคายาลงได้มากกว่า 50% ลดภาระการนำเข้ายาจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าปีละมากกว่า 21,000 ล้านบาท และเพิ่มโอกาสให้คนไทยเข้าถึงยาได้มากขึ้น เป็นการพึ่งพาตนเอง และยังเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมยาของไทยให้ทัดเทียมสากล สร้างความมั่นคงทางยา ถือเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
"ความร่วมมือครั้งนี้ ยังมีสถาบันการแพทย์ สถาบันวิจัยต่างๆ ที่จะมาร่วมมือด้วย ถ้าเรามีโรงงานที่ดี เชื่อว่า ต่อไป จะมีคนอยากเข้ามาร่วมด้วยไม่ได้มีแต่ปตท.เท่านั้น เพราะตอนนี้ วงการแพทย์ทั่วโลกเขาก็สนใจประเทศไทย " นายอนุทินกล่าว
ส่วนนายสุพัฒนพงษ์ กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยการใช้ยาต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่น ทำให้การเข้าถึงยาที่มีคุณภาพทำได้ยากและมีราคาแพง ดังนั้น การส่งเสริมการวิจัยและการผลิตยาที่ทันสมัย จึงเป็นสิ่งจำเป็น สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศ ในการมุ่งเน้น เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) ซึ่งเป็น New S-Curve ของประเทศไทย โดยอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Comprehensive Medical Industry) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของไทยเป็นศูนย์กลางทางด้านสุขภาพและวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น (Life Science) ซึ่งเป็นยอดปิรามิดสูงสุดในอุตสาหกรรมชีวภาพ
"ผมเชื่อมั่นในศักยภาพคนไทย งานสาธารณสุขเราไม่เป็นรองใคร ทั้งในส่วน อภ.และปตท.ที่จะมาเติมเต็มความพร้อมให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น และดีใจที่อภ.มีเป้าหมายผลิตยารักษามะเร็ง ที่มีระดับสูง ไม่ใช่แค่ยารักษามะเร็งระดับพื้นๆ เท่านั้น แสดงให้เห็นว่าทั้งอภ.และปตท.มีเป้าหมายที่ไกลกว่านั้น ต่อไปไม่แน่ว่า การพัฒนายารักษามะเร็ง เราอาจทำใได้ เหมือนการให้ยาโรคไม่ติดเต่อเรื้อรัง คือ สามารถให้กินยาและดูแลต่อไปได้เรื่อยๆ" นายสุพัฒนพงษ์กล่าว
นพ. วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ .ผู้อำนวยการ อภ. กล่าวว่า การผลิตยารักษามะเร็ง อภ. มุ่งเน้นการผลิตยารักษา ทั้งยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) และกลุ่มยารักษาแบบจำเพาะเจาะจง (Targeted Therapy) ประกอบด้วย ยาชนิดเม็ดประเภท Tyrosine Kinase Inhibitors (TKIs) ซึ่งเป็นยาชนิด small molecule สามารถแพร่เข้าเซลล์และจับกับเป้าหมายภายในเซลล์ได้โดยตรง และยาฉีดชีววัตถุคล้ายคลึงประเภท Monoclonal antibodies (Biosimilar) ซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ แต่จะไปจับเป้าหมายที่อยู่ภายนอกเซลล์หรือบนผิวเซลล์
ผอ.อภ.กล่าวอีกว่า สำหรับ โรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็ง จะมีคุณภาพมาตรฐานสากล ใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง ซึ่งอภ. กับ ปตท. ร่วมกันศึกษาและออกแบบ ส่วนเทคโนโลยีการผลิต จะนำจากต่างประเทศ ขณะนี้ กำลังพิจารณามี 2แห่ง คือ ประเทศจีน กับอินเดีย ซึ่งทั้งสองประเทศ ถือว่ามีเทคโนโลยีและมีความเชี่ยวชาญ ในระดับมาตรฐานสากล
"ทั้งนี้ คาดว่าเราจะสามารถผลิตยาออกมาวางจำหน่ายได้ในปี2570 ซึ่งเป้าหมายการผลิตเราไม่ได้มองเฉพาะประเทศไทย แต่มองพลเมืองอาเซียนทั้งหมด 500 ล้านคน เราน่าจะตอบโจทย์ตรงนี้ได้ ซึ่งเบื้องต้นตัวที่เป็นเคมีบำบัด จะผลิตได้ 30 ล้านยูนิตต่อปี และในสวนที่เป็นยาเฉพาะเจาะจง ประมาณ 31 ล้านยูนิตต่อปี เพียงพอรองรับคนไทย แต่โรงงานยังมีศักยภาพมากกว่านั้น สามารถขยายกำลังการผลิตส่งออกประเทศไปในภูมิภาคอาเซียนได้ทั้งหมด ด้านราคายา แน่นอนว่าจะต้องถูกกว่าปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 50% แต่เชื่อว่าในอนาคตอาจถูกลงได้มากกว่านี้อีก ถ้าเรามีอำนาจต่อรองกับผู้ผลิตวัตถุดิบ แต่เราก็เล็งที่จะเพิ่มศักยภาพผลิตวัตถุดิบเองด้วย ซึ่งตอนนี้ เราสามารถผลิตวัตถุดิบที่นำมาผลิตยารักษาธาลัสซีเมียได้เอง"
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) กล่าวว่า โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็งนี้ ปตท.ลงทุนสนับสนุนโครงการเป็นวงเงิน 2,500 ล้านบาท ตัวโรงงานจะตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมวนารมย์ของ ปตท. หรือ PTT WEcoZi อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนต่อไปในการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงงา และ คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 14 เดือนในการก่อสร้างแล้วเสร็จ นอกจากการนำความชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมมาสนับสนุนการก่อสร้างโรงงาน เพื่อให้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้สามารถผลิตยาวางจำหน่ายได้ในภายในปี 2570 หลังจากนั้น ปตท.จะนำองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ และความสามารถด้านการตลาด มาช่วยสนับสนุนการดำเนินงานอีกทีหนึ่ง ซึ่งการทำการตลาดไม่ได้มีเฉพาะตลาดในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงตลาดในภูมิภาคนี้ด้วย
"เป็นเจตนามณ์ของ ปตท. ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทย และช่วยการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายมุ่งสู่การเป็นเมดิคัลฮีบ และการร่วมมือครั้งนี้ จะทำให้เราสามารถก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสู่ขั้นที่สูงขึ้น รวมทั้งยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ตลอดจนเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไทย ให้มีโอกาสเข้าถึงยาได้มากขึ้น รวมถึง ประหยัดงบประมาณ ลดการพึ่งพิงการนำเข้ายาจากต่างประเทศ สร้างความมั่นคงทางยา "
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |