กรมโยธาฯรับฟังเขื่อนกันคลื่นเกาะสุกร ชาวบ้านห่วงกระทบวิถีเลี้ยงควายริมทะเลอันดามัน


เพิ่มเพื่อน    

กรมโยธาธิการและผังเมืองจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น โครงการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จ.ตรัง ระยะที่ 

23 ก.ย.63 - ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดตรังว่า ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกร อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมือง จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ระยะที่ 2 

โดยมี นายมเหสักข์ หิรัญตระการ ผอ.ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สนง.ทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งที่ 7 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นายอรินทร์ โสมบ้านกวย ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม รศ.ดร.เชิดวงศ์ แสงศุภวานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชายฝั่ง ร่วมให้ข้อมูลโครงการเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล

ในส่วนภาคประชาชนและชุมชน มีนางราตรี จิตรหลัง นายก อบต.เกาะสุกร พร้อมด้วยผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ส.อบต. รพ.สต. โรงเรียน องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการอิสระ สถานประกอบการ(รีสอร์ท) เจ้าของที่ดิน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชาวบ้านในพื้นที่ศึกษา เช่น หมู่ 1, 2,3,4  ต.เกาะสุกร เข้าร่วมรับฟังและเสนอความคิดเห็น ซึ่งหัวข้อในครั้งนี้คือทางเลือกรูปแบบโครงสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่เหมาะสม ซึ่งมีถึง 5 รูปแบบ มีแบบมีนั่งสำหรับพักผ่อน และไม่มีที่นั่ง และแนวทางและขั้นตอนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น

การเสนอความคิดเห็นหลายฝ่ายมองว่าการสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งนั้น ต้องเหมาะสมกับการใช้งานโครงสร้างรากฐานต้องหนักแน่นแข็งแรง คงทน สามารถรองรับกระแสคลื่นลมพายุได้ดี

นางราตรี ให้ความคิดเห็นว่า เป็นห่วงวิถีชีวิตบนเกาะสุกร ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมมีจุดขายคือ ควายเล่นน้ำทะเล หลายคนเป็นห่วงว่าเมื่อสร้างเขื่อนขึ้นมาจะกระทบต่อการใช้ชีวิตของควายที่ทุกวันจะต้องลงทะเลเพื่อไปเล่นน้ำตามวิถีปกติ ซึ่งควายมีอยู่ 2 หมู่บ้าน กลัวว่าควายจะไม่เดินลงทะเลเพราะระยะทางการสร้างเขื่อนยาวหลายกิโลเมตร ที่ผ่านมาควายยังมีตัวเลือกที่จะเดินเลี่ยงเขื่อนเก่าเพื่อลงทะเลได้ แต่ถ้าสร้างเขื่อนเพิ่มเติมอีกก็ไม่แน่ใจว่าควายเหล่านี้จะกล้าลงบันใดหรือไม่ ซึ่งอยากให้ชาวบ้านช่วยกันมองส่วนนี้ด้วย

ในขณะที่บางคนเสนอแนะว่าควรจะนำงบส่วนนี้มาปรับปรุงคลองส่งน้ำหรืออย่างอื่นให้กับคนบนเกาะสุกร ซึ่งให้เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของกรมโยธาฯจะได้หรือไม่ แทนการสร้างเขื่อน มีหลายคนเสนอความคิดเห็นว่าพื้นที่ที่จะสร้างเขื่อนนั้นไม่ได้เป็นพื้นที่น้ำกัดเซาะ แต่ที่ทุกคนของบสร้างเขื่อนเพราะรักษาพื้นที่ถนนรอบเกาะเพราะน้ำเข้ามากัดเซาะเข้ามาเป็นเมตรกว่าแล้ว และมองว่าควรจะแก้ปัญหาในพื้นที่ที่น้ำกัดเซาะชายฝั่งให้ถูกต้อง

นายมเหสักข์ กล่าวว่า ประเด็นที่ตนเองมีความห่วงใยและกังวลคือ จากการลงตรวจสอบพื้นที่บริเวณนี้ ตามที่สำรวจในปีนี้ไปเปรียบเทียบข้อมูลของปี 49 บริเวณพื้นที่ตรงนี้ไม่มีการกัดเซาะชายฝั่ง เพราะฉะนั้นการจะแก้ปัญหาการการกัดเซาะชายฝั่งต้องแก้พื้นที่ที่น้ำกัดเซาะจริงๆ การจะเอาโครงการอะไรลงไปขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบลักษณะของพื้นที่ที่จะดำเนินการว่ามันเกิดปัญหาจริงหรือไม่ เพราะมองว่าพื้นที่ดังกล่าวมีทรายสะสมตัว

"ส่วนตัวมองว่าพื้นที่ไม่ได้รับผลกระทบคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง จึงไม่ควรเอาโครงการลงมาในพื้นที่ ตามที่หลายคนมองว่าจะกระทบวิถีชีวิตของชาวบ้านนั้น ตนมองว่าถ้าสร้างเขื่อนก็ต้องมีผลกระทบเพราะกระแสของคลื่นที่เข้ามากระทบจะแรงกว่าหลายเท่าตัว แต่ในส่วนของสัตว์เลี้ยงตนไม่ขอออกความคิดเห็นในส่วนนั้น"

ด้านนางราตรี กล่าวอีกว่า จากการฟังความคิดเห็นของชาวบ้านสรุปได้ว่าชาวบ้านให้สร้างเขื่อน เพราะพื้นที่ของชาวบ้านส่วนนั้นหากปล่อยนานไปจะโดนน้ำเข้ากัดเซาะทำให้พื้นที่อยู่อาศัยต้องสูญหายไป แต่ทั้งนี้ได้ขอร้องว่าต้องเว้นพื้นที่ให้ควายได้ลงทะเลด้วย เพราะเป็นวิถีชีวิตของคนเกาะมีการเลี้ยงวัวควายจำนวนมาก ตนมองว่าถ้าสร้างเขื่อนไม่น่าจะเสียทัศนียภาพเพียงแต่เราเพิ่มสันเขื่อนไปนิดหนึ่ง แต่พื้นที่อื่นยังเหมือนเดิมอยู่ ซึ่งฟังจากเสียงชาวบ้านแล้วไม่มีใครคัดค้านการสร้างเขื่อนกัดเซาะของคลื่นทะเลในครั้งนี้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"