บสย. เปิดผลงานไตรมาสแรก ปี 2561 ลุยค้ำประกันสินเชื่ออุ้มผู้ประกอบการ 2.33 หมื่นล้านบาท “ธุรกิจบริการ” ครองแชมป์ยอดค้ำประกันสูงสุด 5.44 พันล้านบาท เดินเครื่องขอคลังลุยโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS7 วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท ท และโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Non Bank คาดเริ่มให้บริการได้ในไตรมาส 3 พร้อมดึงเทคโนโลยีช่วยหนุนแผนอนุมัติค้ำประกันจบภายใน 1 วันทำการ
นางนิภารัตน์ พิสิฐพิทยเสรี รักษาการแทนผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานการค้ำประกันสินเชื่อในช่วงไตรมาส 1 ปี 2561 ว่า ยอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ อยู่ที่ 2.33 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 95% จากเป้าหมายที่ 2.45 หมื่นล้านบาท โดยมีจำนวนหนังสือค้ำประกัน อยู่ที่ 3.17 หมื่นฉบับ โดยจากตัวเลขการอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อสูงสุด 5 หมวดธุรกิจ ได้แก่ 1. ธุรกิจบริการ 5.44 พันล้านบาท คิดเป็น 23% 2. ธุรกิจผลิตสินค้าและการค้าอื่น ๆ 2.71 พันล้านบาท คิดเป็น 11% 3. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 2.31 พันล้านบาท คิดเป็น 9% 4. ธุรกิจเกษตรกรรม 2.16 พันล้านบาท คิดเป็น 9% และ 5. ธุรกิจเหล็ก ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร 2.02 พันล้านบาท คิดเป็น 8%
“เป้าหมายการค้ำประกันสินเชื่อในปี 2561 อยู่ที่ 1.1 แสนล้านบาท โดยจากสถิติที่ผ่านมา พบว่า ยอดการค้ำประกันสินเชื่อจะเพิ่มสูงขึ้นมาก ในเดือน มี.ค., พ.ค., มิ.ย. และ ก.ย. เป็นหลัก และเชื่อว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะสามารถค้ำประกันสินเชื่อได้มากขึ้น ขณะที่ภาพรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ปัจจุบันอยู่ที่ 13.4% หรือ 4.8 หมื่นล้านบาท” นางนิภารัตน์ กล่าว
นายวรเชษฐ วรกุล รองผู้จัดการทั่วไป สายงานธุรกิจ บสย. เปิดเผยว่า แผนงานในไตรมาสา 2 ของ บสย.ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS7 วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท โดยเงื่อนไขจะมีการปรับจากเดิมเล็กน้อย คือ จะฟรีค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสำหรับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก หลังจากโครงการค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอี ทวีทุน (PGS6) ปรับปรุงใหม่ วงเงิน 8.1 หมื่นล้านบาท ขณะนี้ยังมีวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ รองรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกอีก 2.6 หมื่นล้านบาท โดยโครงการจะสิ้นสุดในวันที่ 30 มิ.ย. 2561
นอกจากนี้ บสย. ยังได้เตรียมเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro Entrepreneur ระยะที่ 3 วงเงิน 1.5 หมื่นลานบาท หลังจากโครงการในระยะที่ 2 วงเงิน 1.35 หมื่นล้านบาท เหลือวงเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการอีกเพียง 600 ล้านบาทเท่านั้น ส่วนความคืบหน้าของโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Non Bank นั้น ปัจจุบันมี 2 ธนาคารให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการนี้ โดยเบื้องต้นคาดว่าทั้ง 3 โครงการใหม่นี้จะสามารถดำเนินการได้ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561
นายจตุฤทธิ์ จันทรกานต์ รองผู้จัดการทั่วไป บสย. เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการค้ำประกันสินเชื่อ และการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยในปีนี้จะให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รองรับแผนงานการอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อให้เร็วขึ้นจาก 3 วัน เป็น 1 วันทำการ โดยเบื้องต้นจะเริ่มดำเนินการร่วมกับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ และ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ในเดือน มิ.ย. 2561
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |