ถูกตั้งคำถามพอสมควร สำหรับการปักหมุดคณะราษฎร 2563 และการยื่นข้อเรียกร้องถึงประธานองคมนตรีผ่านผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ที่กลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม มองว่า นั่นคือ “ชัยชนะ” ของการชุมนุมเมื่อวันที่ 19-20 กันยายนที่ผ่านมา
เพราะหากนั่นคือ “ชัยชนะ” คำถามคือ การชุมนุมดังกล่าวหวังเพียงเพื่อต้องการ “ความสะใจ” ที่ได้กล้าแสดงออกในสิ่งที่หลายคนไม่กล้าแสดงออกเท่านั้นใช่หรือไม่
ต้องยอมรับว่า ภายหลังการชุมนุมที่ท้องสนามหลวง เรื่องการปักหมุด-รื้อหมุด ดูจะเป็นกระแสที่ได้รับความสนใจจากโซเชียลมีเดียก็จริง แต่ในขณะเดียวกัน ปฏิกิริยาที่ไม่เห็นด้วยกับการแสดงออกหลายอย่างของม็อบ เริ่มมีมิติที่มากขึ้นกว่าเดิม
หลายฝ่ายเลือกจะผละออกจากม็อบ ไม่ใช่เพราะเลิกเกลียดรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หากแต่มองว่าม็อบได้ถลำล้ำเส้นเกินกว่าการเรียกร้องประชาธิปไตย โดยเฉพาะการรุกล้ำสถาบันเบื้องสูงของชาติ
ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่ที่มุ่งตรงเข้าสู่ท้องสนามหลวงและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อต้องการความเปลี่ยนแปลงจากสภาวะที่ยากลำบาก
เปลี่ยนแปลงในที่นี้ นั่นคือ ต้องการขับไล่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เนื่องจากไม่พอใจการบริหารประเทศตลอดระยะเวลา 6 ปี
นอกจากนี้ยังออกมาเพราะรู้สึกไม่พอใจการดำเนินการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ตั้งแต่ยังเป็นคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไม่ว่าจะเป็นการร่างรัฐธรรมนูญที่ออกแบบกติกาที่ทำให้รู้สึกว่า พรรคที่ตัวเองชอบอย่างพรรคเพื่อไทยเสียเปรียบ
การแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา โดยให้มีอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี จนทำให้พรรคเพื่อไทย หรือรวมไปถึงพรรคอนาคตใหม่ ไม่สามารถแข่งขันจัดตั้งรัฐบาลได้
การมีข่าวเรื่องอื้อฉาวในโครงการทุจริตต่างๆ การใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา และที่สำคัญคือ ปัญหาปากท้องที่คนเหล่านี้รู้สึกว่าย่ำแย่ลง
หากแต่ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ถูกพูดขึ้นในเวทีปราศรัยของกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม แต่มุ่งเน้นไปที่การปฏิรูปสถาบันเบื้องสูง
ในมุมของประชาชนรากหญ้า เนื้อหาที่แกนนำพยายามนำเสนอมันดูค่อนข้างไกล เพราะสิ่งที่รู้สึกได้มากที่สุดคือ เรื่องปากท้อง ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
มันจึงมีปฏิกิริยาที่ค่อนข้างผิดหวังกับม็อบออกมาอยู่เนืองๆ หลังจากนั้น ซึ่งข้อคิดเห็นของ “วรวรรณ ธาราภูมิ” อดีตประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย และนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) ที่หากมองด้วยเหตุด้วยผลค่อนข้างขยายภาพได้มากที่สุด
“ข้าพเจ้าคาดหวังว่าจะมีคนพูดเรื่องข้อดีข้อเสียของการมี ส.ว. แบบปัจจุบัน รวมไปถึงการนับคะแนนเลือกตั้งที่เอามาหารด้วยสูตรประหลาดที่ข้าพเจ้าไม่เข้าใจ ข้าพเจ้าคาดหวังว่าจะมีนักศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์สักคน ที่สามารถชี้แนวทางใหม่ที่ปฏิบัติได้จริงในเรื่องทุนนิยม การผูกขาด และความเหลื่อมล้ำ”
มีคนเห็นด้วยกับ “วรวรรณ” อยู่ไม่น้อย เพราะก่อนหน้านี้มีการวิเคราะห์กันว่า หากการชุมนุมวันที่ 19-20 กันยายนที่ผ่านมา มุ่งเน้นไปที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ แนวร่วมของม็อบจะมากขึ้นกว่านี้ หรือการเคลื่อนไหวของม็อบจะหนักหน่วงกว่านี้
ขณะเดียวกัน วิถีที่ม็อบเดินยังกำลังจะเป็น “ดาบสองคม” ให้แก่ตัวเอง โดยเฉพาะปฏิบัติการไล่ล่าผู้เห็นต่าง ที่ทำให้พวกเขากำลังถูกคำถามว่า แล้ววันนี้ “ม็อบปลดแอก” แตกต่างกับ “กปปส.” ที่พวกเขาต่อว่ามาตลอดอย่างไร
มีการปกป้องพฤติกรรมการตัดโซ่คล้องประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า เมื่อครั้ง กปปส. ทำยิ่งกว่านี้ ทั้งที่โดยหลักหากอะไรเป็นสิ่งไม่ดีมันก็ไม่ควรจะต้องปฏิบัติตาม โดยเฉพาะเมื่อพวกเขาถูกยกให้เป็น “คนรุ่นใหม่”
การรณรงค์ให้ “แบน” สินค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เชื่อมโยง เกี่ยวข้อง หรือสนับสนุนบุคคลที่เห็นต่าง กำลังถูกกระแสตีกลับว่า เป็นการ “ไล่ล่า” ผู้เห็นต่าง ซึ่งไม่ใช่วิถีของคนรุ่นใหม่
มีการถึงขั้นเปรียบเปรยว่า สุดท้ายแล้วอาจไม่ใช่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ที่ทำร้ายม็อบ หากแต่เป็นม็อบที่กำลัง “ทำร้ายตัวเอง”
น่าสนใจว่า เมื่อมีปฏิกิริยาในลักษณะนี้ออกมา ม็อบจะรับฟัง หรือปรับเปลี่ยนแนวทางการเคลื่อนไหวใหม่หรือไม่ หรือจะยังยืนหยัดในวิธีเดิม.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |