22 ก.ย.63- ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) - ในการแถลงข่าว "สปสช.แจงยกเลิกสัญญา 64 คลินิก-โรงพยาบาลเอกชน ด้วยเหตุทุจริต ย้ำสิทธิบัตรทองยังคงอยู่ มีมาตรการรองรับ-บรรเทาผลกระทบ” นายจิรวุสฐ์ สุขได้พึ่ง ประธานอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีหน่วยบริการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขเกินจริง กล่าวว่า ก่อนอื่นชี้แจงว่าอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ มีความเป็นอิสระ ไม่มีเจ้าหน้าที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) อยู่ในคณะกรรมการ หรือถูกครอบงำจาก สปสช. ซึ่งการตรวจสอบมีความจำเป็นต้องทำโดยละเอียด เพราะเป็นการปกป้องประชาชนผู้มีสิทธิ์ รักษาและปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งเป็นภาษีของประชาชน ทั้งไม่มีการเลือกปฏิบัติ หรือกลั่นแกล้งใคร ซึ่งพบว่ามีความจงใจสร้างเอกสารเท็จเพื่อเบิกจ่าย เริ่มจากคลินิก 18 แห่ง ขยายผล 64 แห่ง และตรวจพบอีก 106 แห่ง ที่เป็นความผิดทางอาญา ทำให้ สปสช.ต้องร้องทุกข์ดำเนินคดีและต้องเพิกถอนสัญญา ซึ่งต้องย้ำว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาคลินิก ไม่กระทบสิทธิของประชาชนในการรักษา โดยประชาชนยังคงเป็นผู้มีสิทธิบัตรทองอยู่
จากการตรวจสอบครบ 189 แห่ง มีเพียงแห่งเดียวที่ดำเนินการถูกต้อง โดยคลินิกอีก 188 แห่ง พบความผิดปกติ ใช้ข้อมูลไม่ถูกต้องในการเบิกจ่าย สปสช. อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งการตรวจสอบนี้ยังเป็นเพียงหนึ่งในรายการบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 18 รายการ และเป็นข้อมูลเฉพาะในปีงบประมาณ 2562 เท่านั้น หากถูกต้องจะต้องขยายตรวจสอบย้อนหลังปีที่ผ่านมาด้วย ซึ่งจะทำให้ทราบว่ามีการทุจริตปีละเท่าไหร่ และ สปสช. ต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายเท่าไหร่ ไม่ใช่ปล่อยให้มาสูบผลประโยชน์จากกองทุนบัตรทอง ซึ่งขอย้ำว่าการตรวจสอบจำเป็นต้องทำ เพราะประชาชนกำลังถูกแอบอ้างนำข้อมูลไปเบิกจ่าย
นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ต้องขออภัยประชาชนที่ประสบปัญหาการเข้ารับบริการในระหว่างที่ สปสช. กำลังเร่งแก้ไขปัญหา ซึ่ง สปสช.ไม่ได้นิ่งนอนใจ นอกจากการดำเนินการทางกฎหมายกับหน่วยบริการที่ทำผิดจนถึงที่สุดแล้ว ในส่วนที่เกิดผลกระทบกับประชาชน สปสช.ได้เตรียมการรองรับไว้แล้ว แต่ด้วยจำนวนผู้ป่วยที่มีมาก อาจทำให้ระบบรองรับไม่เพียงพอ เบื้องต้นขณะนี้มีประชาชนได้รับผลกระทบประมาณ 1 ล้านคน ในจำนวนนี้ 2 แสนคน ในคลินิก 18 แห่งที่ถูกเพิกถอนสัญญา สปสช. ได้ลงทะเบียนหน่วยบริการใหม่แล้ว ส่วนอีก 8 แสนคน ในหน่วยบริการ 64 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ 3 ส่วน ดังนี้ คือ
1.กลุ่มผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนัดผ่าตัด ผู้ป่วยล้างไต หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ สปสช.มีฐานข้อมูลที่ชัดเจนและได้มีการโทรประสานไปยังผู้ป่วยโดยตรงแล้ว เพื่อให้สามารถเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง แต่ด้วยในกรณีที่ขัดข้อง ไม่ได้รับการติดต่อจาก สปสช. ขอให้ส่งข้อความผ่าน Facebook สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย สปสช.จะติดต่อกลับโดยเร็ว
2.กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องรับการดูแลต่อเนื่อง อาทิ เบาหวาน ความดันสูง เป็นต้น ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ สปสช.ได้ประชุมร่วมกับสำนักการแพทย์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ในระยะสั้นก่อนระหว่างรอหน่วยบริการใหม่ เบื้องต้นผู้ป่วยเรื้อรังที่ได้รับผลกระทบสามารถเข้ารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 37 แห่ง ของกรุงเทพมหานครได้ โดย สปสช.ได้ส่งข้อมูลให้ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 19 แห่งแล้ว
3.กลุ่มผู้ป่วยทั่วไป ขณะนี้กำหนดสถานะเป็นสิทธิว่างที่เหมือนเป็นวีซ่าพิเศษ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้เข้ารับบริการที่หน่วยบริการบัตรทองที่ใดก็ได้ เป็นการอำนวยความสะดวนในการรับบริการผู้ป่วยนอก หน่วยบริการจะเรียกเก็บค่าบริการมาที่ สปสช. โดยได้ทำการแจ้งยังหน่วยบริการเครือข่ายแล้ว
“ย้ำว่าเหตุที่เกิดขึ้นนี้ เป็นการดำเนินการเฉพาะหน่วยบริการที่กระทำผิดเบิกเท็จเท่านั้น หน่วยบริการอื่นยังคงบริการตามปกติ ทั้งยังจำกัดเฉพาะพื้นที่ กทม. ไม่เกี่ยวข้องกับจังหวัดอื่น ซึ่งประชาชนอีกกว่า 76 จังหวัด ไม่ต้องกังวลและสามารถรับบริการปกติเช่นเดิม” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.การุณย์ คุณติรานนท์ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ประชาชน 8 แสนคนที่ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนสัญญาคลินิกและโรงพยาบาลเอกชน 64 แห่ง ในจำนวนนี้มีเพียง 30% ที่เจ็บป่วยและต้องมีมาตรการรองรับโดยเร็ว โดย สปสช.อยู่ระหว่างประสานงานและเพิ่มหน่วยบริการรองรับโดยเร็ว โดย สปสช. เขต 13 กทม.ได้เชิญหน่วยบริการในพื้นที่ กทม. มาชี้แจงแนวทางเพื่อดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้รับความร่วมมืออย่างดี อาทิ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร กรมการแพทย์ กรมการแพทย์ทหารเรือ กรมการแพทย์ทหาร กรมการแพทย์ทหารอากาศ โรงเรียนแพทย์ เป็นต้น
สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบและ สปสช. ได้วางมาตรการรองรับแล้ว มีดังนี้ 1.ผู้ติดเชื้อเอชไอวี 2,166 ราย รับบริการต่อเนื่องที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 37 แห่ง รพ.สำนักการแพทย์ 8 แห่ง รพ.รัฐทุกแห่ง รพ.มงกุฎวัฒนะ และ รพ.แพทย์ปัญญา 2.ผู้ป่วยไต 295 ราย ให้ รพ.ยกเลิกสัญญาส่งผู้ป่วยไปรับบริการต่อยังหน่วยบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช. เป็นการชั่วคราว 3.ผู้ป่วยที่นัดผ่าตัด 132 ราย สปสช. ได้ประสานกับ รพ.ในระบบบัตรทอง และได้ประสานกับ รพ.มงกุฎวัฒนะ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 4.หญิงตั้งครรภ์ 5,000 คน ประสานโรงพยาบาลเพื่อดูคิวบริการ และนัดวันทำคลอด 5.ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร ตามเขตพื้นที่
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |