'คณิศ'ปลื้มสนามบินอู่ตะเภาคืบคาดสร้างรันเวย์ที่2ภายในปี64


เพิ่มเพื่อน    

 

21 ก.ย. 2563 นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)เปิดเผยภายหลังงานสัมมนา ”สนามบินอู่ตะเภา มุ่งสู่ความเป็นสนามบินนานานชาติแห่งที่3 ของกรุงเทพฯ”ว่า การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกในปัจจุบันผ่านเข้าสู่ระยะที่ 3 แล้ว ที่เป็นการลงมือจริง หลังจากได้นักลงทุนในระยะที่ 2 กำลังจะตอกเสาเข็มเพื่อพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ในขั้นตอนทบทวนรูปแบบแผนหลักในการพัฒนา และได้ทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ของรันเวย์ที่ 2 เป็นที่เรียบร้อย โดยในสัปดาห์นี้จะส่งให้ตรวจสอบได้ ส่วนอื่นๆก็กำลังวางแผนในเกิดความสมบูรณ์

“สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ คือ เมือง 2 เมือง หนึ่งคือกรุงเทพ และอีกที่คือมหานครการบินภาคตะวันออกที่จะเป็นเมืองคู่แฝดกับกรุงเทพ ที่มีจุดขนส่งทางถนน ทางเรือ ทางอากาศ เพราะกรุงเทพฯเมืองเดียวไม่เพียงพอต่อการขยายตัวอีกแล้ว โดยพื้นที่ 30 กิโลเมตรรอบสนามบินอู่ตะเภาจะเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นสนามบินอู่ตะเภาจะเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของ อีอีซี ผ่านแนวคิด "The Middle Aeroropolis of future Cities" ที่จะมีเมืองพัทยา ระยอง อยู่รายล้อมให้เป็นเมืองแห่งอนาคตอย่างแท้จริง”นายคณิต กล่าว

สำหรับการลงทุนโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO) บนพื้นที่ 200ไร่ ของ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) หลังแอร์บัสตัดสินใจไม่ร่วมลงทุนด้วยแล้ว เนื่องจากได้รับผลกระทบโควิด-19 โดยอีอีซีจะต้องกลับมาพิจารณาโครงการใหม่ มี 2 แนวทางเลือก คือ 1.จะให้การบินไทยดำเนินการลงทุนเอง แต่ต้องรอดูแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทก่อน และ 2.การบินไทยร่วมทุนกับบริษัทอื่น

“ธุรกิจการบินจะได้รับผลกระทบจากโควิด การก่อสร้าง​ MRO ยังต้องมีเพื่อสนับสนุน การพัฒนาอยู่ตะเภา แต่อาจต้องลดขนาการก่อสร้าMRO ลงในช่วงแรก เพื่อให้ทันกับการเปิดสนามบินอู่ตะเภา และค่อยขยับให้ใหญ่ขึ้นในระยะต่อไป ซึ่งได้มีการหารือกับสายการบินที่มีศักยภาพและสนใจจะทำธุรกิจซ่อมบำรุงอากาศยาน อาทิ แอร์เอเชีย บางกอกแอร์เวย์ “นายคณิศ กล่าว

นายโชคชัย ปัญญายงค์ ผู้เชียวชาญพิเศษด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (สกพอ.) กล่าวว่า สำหรับการก่อสร้างรันเวย์ ที่กองทัพเรือ จะออกร่างทีโออาร์เพื่อคัดเลือกเอกชน ซึ่งคาดว่าจะออกภายใน 2 เดือน โดยจะดำเนินการคู่ขนานไปกับการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยคาดว่าน่าจะเซ็นลงนามและเริ่มก่อสร้างภายใน กลางปี 64 สำหรับมูลค่าที่จะก่อสร้างรันเวย์ และแท็กซี่เวย์ อยู่ที่ประมาณ 1หมื่นกว่าล้านบาท

ด้านนายอนวัช ลีละวัฒน์วัฒนา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส สายการเงินและบัญชี บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) กล่าวว่ากลุ่มบีบีเอส ได้ว่าจ้างสนามบินนาริตะ (Narita International Airport) เพื่อเข้ามาบริหารสนามบินอู่ตะเภา โดยจุดแข็งของนาริตะอยู่ที่การเป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาสนามบินที่มีพื้นฐานใกล้เคียงกับสนามบินอู่ตะเภา เพราะปัจจุบันสนามบินนาริตะตั้งอยู่บนพื้นที่ใกล้ชิดสนามบินอื่นที่อยู่ในบริเวณที่ไม่ห่างกันมาก ซึ่งคล้ายกับสนามบินอู่ตะเภาและสนามบินสุวรรณภูมิที่อยู่ใกล้กัน

พลเรือเอก ช่อฉัตร กระเทศ รองผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวว่าการดำเนินการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา ให้เป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 ของกรุงเทพ นับเป็นจุดสำคัญในการเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่ง 3 รูปแบบ กล่าวคือ ทางรางด้วยรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ทางถนน และทางเรือ โดยมีการพัฒนาครอบคลุมบนพื้นที่กว่า 6,500 ไร่ของกองทัพเรือ และ กว่า 30 ปีที่ผ่านมากองทัพเรือเป็นผู้ดูแลสนามบินอู่ตะเภาเพื่อการใช้งานทางทหารในภารกิจด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศเป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตามแต่ปัจจุบันได้มีการยกระดับขีดความสามารถของสนามบินนี้ให้เป็นท่าอากาศยานนานาชาติเชิงพาณิชย์ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ส่วนการดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน ได้ยึดหลักการของความยุติธรรมและโปร่งใส จนได้กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ประกอบด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด และบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ซึ่งเสนอเงินประกันผลตอบแทนค่าเช่าและส่วนแบ่งรายได้คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน ให้ภาครัฐ 3.05 แสนล้านบาทเป็นเอกชนผู้ได้รับการคัดเลือก ในส่วนโครงการก่อสร้างที่กองทัพเรือรับผิดชอบในปีงบประมาณ 2564 ที่สำคัญคือ การก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 และการปรับพื้นที่ของโครงการ เพื่อส่งมอบให้เอกชนร่วมลงทุนดำเนินการต่อไป

ด้านนายอินทรีย์ เกิดมณี ปลัดจังหวัดระยอง กล่าวว่าสภาพของปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่มีการหยุดชะงัก หรือมีการชะลอตัวในระดับต่ำ จากวิกฤตการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ ส่งผลผลกระทบต่อภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ตลอดจนการค้า การลงทุน และการส่งออก  มองว่าโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี ที่มีโครงสร้างพื้นฐานเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงเป็นโครงการที่เป็นความหวังของประเทศที่จะนำไปสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนในต่างประเทศได้

สำหรับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก นับเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ทางจังหวัดพร้อมให้ความสนับสนุน และประสานงานกับทุกหน่วยงานของจังหวัดเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น สามารถพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) ในระดับภูมิภาค ซึ่งจะนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่จังหวัดระยองและประเทศชาติโดยรวม


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"