21 ก.ย. 63 - นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "แด่...ม็อบมุ้งมิ้ง" ผ่าน www.thaipost.net โดยมีเนื้อหาดังนี้
ถาม เห็นการชุมนุม ๑๙ กันยา ยุติลงโดยสงบอย่างนี้แล้ว คิดอย่างไรที่อาจารย์ไปคัดค้านเขา
ตอบ ดีใจครับ..ทั้งในฐานะประชาชนที่ไม่เกิดจลาจลวุ่นวาย และในฐานะศิษย์เก่าธรรมศาสตร์จำนวนหนึ่ง ก็พอใจที่เห็นธรรมศาสตร์ไม่ถูกใช้ในงานนี้ งานนี้มีข้อสรุปหลายอย่างที่นักศึกษาควรจะได้เรียนรู้
ถาม มีอะไรบ้าง
ตอบ การชุมนุมในสังคมประชาธิปไตยจะต้องโปร่งใส นักศึกษาต้องรวมตัวจริงๆ ไม่ใช่มีแค่ไม่กี่คนอย่างนี้ จัดในนามองค์การนักศึกษาได้ยิ่งดี ทางความคิดต้องคิดจริงๆ ว่าเป้าหมายและเหตุผลคืออะไร จะปฏิรูปสถาบันกษัตริย์หรือจะแก้รัฐธรรมนูญล้มระบอบประยุทธ์ก็บอกมา พร้อมเหตุผลและทฤษฎีที่อธิบายได้เป็นเรื่องเป็นราว คนเขาจะได้คิดแย้งคิดคล้อยได้ ข้อสุดท้ายคือความโปร่งใส ข้อนี้สำคัญที่สุด
ถาม เขาไม่โปร่งใสอย่างไร
ตอบ ข้อแรกต่อไปถ้าอยากใช้สนามหลวง ก็ต้องไปขอเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายชุมนุมสาธารณะให้ชัดเจน ไม่ใช่มาเลี่ยงกฎหมายอ้างว่าชุมนุมในธรรมศาสตร์ แล้วคนล้นออกสนามหลวงไปเองอย่างนี้ เห็นชัดเลยว่าพังประตูเอาหางแหย่เข้าไปในธรรมศาสตร์ ไม่กี่นาทีและไม่กี่คน แล้วก็รีบมายึดสนามหลวง ประกาศเป็นสนามราษฎร์แล้วฝังหมุดในวันรุ่งขึ้นเลย
ถาม เขาเลี่ยงกฎหมายอย่างไร
ตอบ ในกฎหมายชุมนุมสาธารณะเขายกเว้นไว้ว่าไม่ใช้บังคับกับการชุมนุมในสถาบันการศึกษา เมื่อพวกเขาไม่ต้องการชุมนุมโดยโปร่งใสตามที่กฎหมายนั้นได้กำหนดไว้ เขาไม่ต้องการเปิดตัวผู้รับผิดชอบทั้งหมด ช่วงเวลาและแผนการเคลื่อนไหว วัตถุประสงค์และกิจกรรมที่จะทำ ไม่ต้องการวางแผนรักษาความปลอดภัยร่วมกับตำรวจ เขาก็เลี่ยงมาใช้ธรรมศาสตร์ กฎเกณฑ์ตามกฎหมายทั้งหมดนี้ ถ้าเขายอมทำตาม ขออนุญาตให้ชัดเจนโปร่งใส สังคมก็ไม่แตกตื่นวุ่นวาย พวกแดงรุนแรงก็ไม่ต้องมาร่วมแล้วผิดหวังว่าทำไมมุ้งมิ้งอย่างนี้วะ คนที่เห็นด้วยเขาก็มาร่วมฟังร่วมแสดงออกด้วย จบลงด้วยดีด้วยการยื่นข้อเสนอต่อผู้เกี่ยวข้อง สงบทั้งบ้านเมืองและการชุมนุม
ถาม กฎหมายชุมนุมสาธารณะต้องการเห็นอย่างนี้
ตอบ ถูกต้องครับ ต้องการการชุมนุมเพื่อแสดงออกซึ่งความเห็นที่แท้จริง สงบ และโปร่งใส ไม่มีใครต้องแตกตื่น จัดอภิปรายใหญ่คนมาเป็นสามหมื่นจบอภิปรายแล้วก็เลิก สภาก็รับกระแสจากที่ชุมนุมไปเข้าระบบ ไม่ต้องมาคุยว่าเบิ้มๆ หรือมีบิ๊กเซอร์ไพรส์ หรือเผด็จการจะได้แผลลึก อย่างในครั้งนี้ ทำได้อย่างนี้ความสับสนก็ไม่เกิด ทั้งในสังคมและในการชุมนุมเองก็ตาม ตำรวจทหารก็ไม่ต้องเหนื่อย ธรรมศาสตร์หรือทำเนียบก็ไม่ต้องปิด Human Right ก็ไม่ต้องโผล่มาเสือก
ถาม ในที่ชุมนุมเอง สับสนอย่างไร
ตอบ งานนี้ผู้จัดชุมนุมต้องการแสดงทางสัญลักษณ์ยกนิ้วให้สถาบันกษัตริย์ แต่คนที่เห็นด้วยหรือมาร่วมชุมนุมกลับต้องการขับไล่รัฐบาล ต่างกันอย่างนี้ก็ยุ่งแล้วครับ เห็นชัดว่าในที่ชุมนุม ๑๙ กันยานั้น มวลชน กับเวที มีช่องว่างมากมายไม่สนใจกันเลย ไม่มีการสื่อสารทางความคิดสมกับเป็นการชุมนุมเลย เป็นแค่ให้เสื้อแดงไปดูอีเวนต์นักศึกษาเท่านั้น
ถาม นักศึกษาควรปรับตัวอย่างไร
ตอบ ควรจัดอภิปรายในมหาวิทยาลัย ให้เป็นเรื่องเป็นราวในทางวิชาการว่า สถาบันกษัตริย์กับระบอบประชาธิปไตย มีปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างไร อะไรคือจุดอ่อนจุดแข็ง มันมีทฤษฎีในโลกวิชาการให้คิดอ่านได้เพียงพอทีเดียว
ถาม ตัวอาจารย์ขึ้นเวทีนี้ได้ไหม
ตอบ ผมเห็นด้วยกับคำอธิบายของ Walter Bagehot นักกฎหมายรัฐธรรมนูญเรืองนามยุคคลาสสิกของอังกฤษ ที่ยืนยันถึงคุณูปการของสถาบันกษัตริย์ ในรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยไว้อย่างชัดเจนจากประสบการณ์จริงของสังคมของเขา เป็นวิธีคิดวิธีมองที่เอามาอธิบายในบริบทของไทยได้ ถ้าเขาจัดเป็นอภิปรายทางวิชาการจริงๆ ไม่โห่มีฮาไม่มีจัดตั้ง เป็นเวทีแลกเปลี่ยนทางความคิดได้จริงๆ ผมยินดีร่วมด้วย คุณปิยะบุตรร่วมด้วยยิ่งดี
ถาม เด็กพวกนี้จะจัดได้หรือครับ เวทีทางปัญญาแบบนี้ นี่เป็นเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้นะครับ
ตอบ ผมยังมีความหวังว่า พวกเขาอาจจะได้คิดรู้จักและตระหนักถึงเสรีภาพทางความคิดขึ้นมาได้ว่า เสรีภาพนี้ต่างจากเสรีภาพที่จะพูดอะไรก็ได้อย่างไร ถ้าคิดได้เขาก็จะเปลี่ยนไปได้ ถ้าคิดได้แค่จัดอีเวนต์ ตอกหมุดและถวายฎีกาท้าทายใครต่อใครเขา ก็อย่าขอโผล่มาให้รำคาญเมืองอีกเลย อาจารย์ที่ปรึกษาก็ช่วยชี้แนะด้วย อย่าให้เด็กเอาชื่อไปใช้เฉยๆ เลยนะครับ มันน่าจะน่าอดสูมากทีเดียว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |