จบม็อบ'สนามหลวง' แรงกดดันกลับไปที่โหวตแก้รธน.


เพิ่มเพื่อน    

 

      ผ่านพ้นไปได้ด้วยดีสำหรับการชุมนุมทางการเมืองที่ท้องสนามหลวง-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 19-20 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งกลายเป็นการชุมนุมใหญ่ทางการเมืองที่มีประชาชนมาร่วมมากที่สุดนับแต่หลังรัฐประหาร คสช.ปี 2557

      สิ่งที่ต้องติดตามต่อไปก็คือ ท่าทีการเคลื่อนไหวต่อจากนี้ของแกนนำกลุ่มนักศึกษาในปีก "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และคณะประชาชนปลดแอก" จะขยับกันอย่างไร โดยเฉพาะการนัดชุมนุมครั้งใหญ่ๆ ต่อจากนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใด และอะไรคือตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เกิดการนัดรวมตัวกันอีก

      พบว่าก่อนที่การชุมนุมจะสิ้นสุดลง "พริษฐ์ ชิวารักษ์ แกนนำกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" ได้แสดงท่าทีการเคลื่อนไหวไว้บนเวทีที่สนามหลวงเมื่อช่วงเช้า 20 ก.ย. ว่าแนวทางการต่อสู้หลังจากนี้มี 8 ข้อ

      1.ได้ยินเพลงชาติที่ไหนให้ชูสามนิ้ว 2.ได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ไม่ต้องยืนขึ้น แต่ให้ชูสามนิ้วขึ้นด้วย 3.ให้ผูกโบขวาไว้หน้าและรถเพื่อให้รู้ว่ารักประชาธิปไตย 4.เขียนแผ่นผ่านประจานเผด็จการตามที่ชุมชนต่างๆ 5.ถ้าเจอขบวนรถของกลุ่มคนอภิสิทธิ์ รวมไปถึงขบวนเสด็จให้บีบแตรใส่ทันที 6.พล.อ.ประยุทธ์ไปจังหวัดไหน ขอให้ขึ้นป้ายไม่ต้อนรับ 7.นัดหยุดงานประท้วงรัฐบาล เริ่มต้นจากลาพักร้อนวันที่ 14 ตุลา. พร้อมกันทั่วประเทศ 8.ทุบหม้อข้าวเผด็จการเลิกใช้บริการธนาคารไทยพาณิชย์

      "วันที่ 24 ก.ย. ใครที่มีเวลาขอให้ไปที่รัฐสภาที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อไปดูว่าจะมีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อทำร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนหรือไม่" พริษฐ์ระบุ

      สถานการณ์เฉพาะหน้า แลเห็นชัด หลังจบม็อบสนามหลวงแล้ว แรงเหวี่ยง-เป้าสนใจทั้งหมด ว่าการเมืองนอกรัฐสภาจะร้อนแรงอีกครั้งหรือไม่ ก็อยู่ที่ "ผลการลงมติของสมาชิกรัฐสภาในการโหวตญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน" ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมร่วมรัฐสภา ทั้ง ส.ส.-ส.ว. ในพุธ-พฤหัสบดีที่ 23-24 ก.ย. 

      ซึ่งขณะนี้ "ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา" ได้บรรจุญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญที่พรรคร่วมรัฐบาล-ฝ่ายค้านยื่นมารวมทั้งสิ้น 6 ญัตติ เข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมอย่างเป็นทางการแล้ว ประกอบด้วย

       1.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ให้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 ที่เสนอโดยพรรคเพื่อไทย 2.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ให้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 ที่เสนอโดยพรรคร่วมรัฐบาล 3.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ให้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 270 และมาตรา 271 ในเรื่องการปฏิรูปประเทศ 

      4.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ให้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 159 และยกเลิกมาตรา 272 เรื่องยกเลิกอำนาจ ส.ว.ในการโหวตนายกรัฐมนตรี 5.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ให้แก้ไขเพิ่มเติมที่ให้ยกเลิกมาตรา 279 ที่ให้ยกเลิกประกาศและคำสั่งของหัวหน้า คสช. 6.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ให้แก้ไขเพิ่มเติมที่ให้ยกเลิกมาตรา 93 และมาตรา 101 (4) เรื่องให้กลับไปใช้บัตรเลือกตั้ง ส.ส. 2 ใบตามรัฐธรรมนูญปี 2540

      ไฮไลต์สำคัญนอกเหนือจากการอภิปรายแสดงเหตุผล เห็นด้วย-ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข รธน.แต่ละญัตติ แต่ละประเด็นของ ส.ส.-ส.ว.แล้ว หลังจากนั้นก็คือการรอลุ้นผลการออกเสียงของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด ที่จะต้องออกเสียงโดยการขานชื่อเรียงลำดับไปทีละคนตามตัวอักษรนำหน้าชื่อ ที่จะเหมือนกับตอนที่มีการประชุมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อปีที่แล้ว ที่จะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2-3 ชั่วโมง ซึ่งวิปสามฝ่าย คือรัฐบาล-ฝายค้าน-ส.ว. ต้องไปตกลงกันว่าจะประชุมกันอย่างไรเพื่อให้ทันกับกรอบเวลา ซึ่งเบื้องต้นอาจจะใช้วิธีอภิปรายรวมกันทุกญัตติ สมาชิกรัฐสภาคนไหนจะอภิปรายในญัตติไหนก็ได้ใน 6 ญัตติทั้งหมด แต่เวลาลงมติจะให้ลงมติแยกทีละฉบับ

      ซึ่งญัตติขอแก้ไข รธน.จะผ่านความเห็นชอบในวาระแรกขั้นรับหลักการได้ต้องมีเสียงเห็นชอบจากสมาชิกรัฐสภาไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่

      โดยตัวแปรสำคัญก็คือ คะแนนเสียงเห็นชอบของ ส.ว.ที่ต้องมีคะแนนเห็นชอบไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวน ส.ว.ทั้งหมด ที่ก็คือต้องได้ไม่ต่ำกว่า 84 เสียง

      หากดูตามข้อเรียกร้องของม็อบสนามหลวง รวมถึงแนวร่วมต่างๆ ของกลุ่มม็อบนักศึกษา-ประชาชน พบว่าต้องการให้มีการตั้งสภาร่าง รธน. เพื่อยกร่าง รธน.ฉบับใหม่เป็นหลัก ที่ก็คือจะอยู่ในญัตติที่ 1 และ 2 ซึ่งดูแล้วเสียงสนับสนุนจาก ส.ส.รัฐบาลและฝ่ายค้าน เสียงเห็นชอบใน 2 ญัตติดังกล่าวทะลุเพดานแน่นอน แต่ที่ยังคลุมเครือไม่ชัดเจนก็คือ ท่าทีของ ส.ว.ว่าจะเอาด้วยหรือไม่กับการแก้ รธน.รอบนี้ จะเห็นชอบหมดทุกญัตติ หรือจะเห็นชอบแค่บางญัตติ เพราะถึงต่อให้ ส.ส.ทั้งรัฐบาล-ฝ่ายค้านเห็นชอบญัตติแก้ไข รธน. แต่หาก ส.ว.ลงมติเห็นชอบไม่ถึง 84 เสียง การแก้ไข รธน.ก็ไม่เกิดขึ้น ต้องถูกล้มกระดานหมด

      โดยเฉพาะหากการแก้ไข 256 เพื่อตั้งสภาร่าง รธน.ไม่เกิดขึ้น ก็ย่อมเป็นเงื่อนไขใหม่ให้ม็อบนำมาอ้างเหตุผลในการนัดชุมนุมได้อีกหลายครั้ง ที่จะกลายเป็นการสร้างความกดดันให้กับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาลไปในตัว

      มติโหวตแก้ไข รธน. 24 ก.ย. จะเป็นชนวนเร่งให้การเมืองรัฐสภาร้องแรงหรือเย็นลง ก็อยู่ที่ผลโหวตที่จะออกมาในวันดังกล่าว โดยเฉพาะจากสภาสูง-วุฒิสภา.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"