20 ก.ย.2563 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15 – 17 กันยายน 2563 จากประชาชนที่เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของรัฐและพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษา รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,343 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ และความเป็นธรรมการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.57 ระบุว่า ความสามารถและประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่งใหม่ รองลงมา ร้อยละ 24.80 ระบุว่า ความสามารถและผลงาน ที่ผ่านมา ร้อยละ 14.37 ระบุว่า ความอาวุโสในตำแหน่ง ร้อยละ 8.19 ระบุว่า ความรู้ (เช่น ระดับการศึกษา การเข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ เป็นต้น) ร้อยละ 7.22 ระบุว่า วิสัยทัศน์ในการทำงานตำแหน่งใหม่ ร้อยละ 5.58 ระบุว่า ระเบียบ วินัยและความประพฤติที่ผ่านมา ร้อยละ 0.67 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ การใช้เส้นสายของที่ผู้พิจารณา เอาพรรคพวกเดียวกัน และร้อยละ 0.60 ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2562 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 33.95 ระบุว่า ความสามารถและประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่งใหม่ รองลงมาร้อยละ 24.36 ระบุว่า ความสามารถและผลงานที่ผ่านมา ร้อยละ 16.93 ระบุว่า ความอาวุโสในตำแหน่ง ร้อยละ 12.54 ระบุว่า ความรู้ (เช่น ระดับการศึกษา การเข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ เป็นต้น) ร้อยละ 6.23 ระบุว่า วิสัยทัศน์ในการทำงานตำแหน่งใหม่ ร้อยละ 5.03 ระบุว่า ระเบียบ วินัยและความประพฤติที่ผ่านมา ร้อยละ 0.72 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ การใช้เส้นสายของผู้ที่พิจารณาเอาพรรคพวกเดียวกัน และร้อยละ 0.24 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นต่อความเป็นธรรมในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ พบว่า ร้อยละ 14.00 ระบุว่า มีความเป็นธรรมมาก ร้อยละ 35.37 ระบุว่า ค่อนข้างมีความเป็นธรรม ร้อยละ 35.51 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเป็นธรรม ร้อยละ 12.66 ระบุว่า ไม่มีความเป็นธรรมเลย และร้อยละ 2.46 ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ สำหรับผลสำรวจในปี 2562 พบว่า ร้อยละ 13.10 ระบุว่า มีความเป็นธรรมมาก ร้อยละ 32.67 ระบุว่า ค่อนข้างมีความเป็นธรรม ร้อยละ 37.86 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความเป็นธรรม ร้อยละ 12.78 ระบุว่า ไม่มีความเป็นธรรมเลย และร้อยละ 3.59 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
สำหรับความคิดเห็นต่อการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในหน่วยงาน พบว่า ร้อยละ 19.73 ระบุว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายอย่างมาก ร้อยละ 33.65 ระบุว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายค่อนข้างบ่อย ร้อยละ 21.00 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสาย ร้อยละ 23.83 ระบุว่า ไม่มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายเลย และร้อยละ 1.79 ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ ในขณะที่ผลการสำรวจ ปี 2562 พบว่า ร้อยละ 13.58 ระบุว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายอย่างมาก ร้อยละ 33.07 ระบุว่า มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายค่อนข้างบ่อย ร้อยละ 23.72 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสาย ร้อยละ 25.80 ระบุว่า ไม่มีการใช้ระบบอุปถัมภ์หรือเส้นสายเลย และร้อยละ 3.83 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในหน่วยงาน พบว่า ร้อยละ 10.05 ระบุว่า มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เป็นประจำ ร้อยละ 20.63 ระบุว่า มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ค่อนข้างบ่อย ร้อยละ 19.73 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ร้อยละ 42.44 ระบุว่า ไม่มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เลย และร้อยละ 7.15 ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ ในขณะที่ปี 2562 ผลสำรวจ พบว่า ร้อยละ 6.23 ระบุว่า มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เป็นประจำ ร้อยละ 18.85 ระบุว่า มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ค่อนข้างบ่อย ร้อยละ 21.64 ระบุว่า ไม่ค่อยมีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ร้อยละ 44.65 ระบุว่า ไม่มีการใช้ระบบแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เลย และร้อยละ 8.63 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการดำเนินการหากไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาการแต่งตั้งโยกย้าย พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.20 ระบุว่า จะใช้วิธีการอุทธรณ์ร้องไปตามขั้นตอนของระเบียบข้าราชการ รองลงมา ร้อยละ 23.31 ระบุว่า ไม่ทำอะไรเลย เพราะ เป็นกฎระเบียบซึ่งลูกน้องต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ขณะที่บางส่วนระบุว่า ทำอะไรไม่ได้เลย จึงต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 10.35 ระบุว่า ฟ้องศาลปกครองทันที ร้อยละ 4.24 ระบุว่า ใช้ Social Network เป็นเครื่องมือในการเรียกร้องขอความเป็นธรรม ร้อยละ 3.87 ระบุว่า ลาออก ร้อยละ 1.94 ระบุว่า ฟ้องสื่อมวลชน ร้อยละ 0.89 ระบุว่า พยายามหาเส้นสายที่ใหญ่กว่าไปกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 0.22 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ สอบถามเหตุผลในการสั่งย้ายแล้วนำไปปรึกษาหารือกับผู้ใหญ่หรือฝ่ายกฎหมายในหน่วยงาน และร้อยละ 2.98 ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจ ปี 2562 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.00 ระบุว่า จะใช้วิธีการอุทธรณ์ร้องไปตามขั้นตอนของระเบียบข้าราชการ รองลงมา ร้อยละ 29.55 ระบุว่า ไม่ทำอะไรเลย เพราะ เป็นกฎระเบียบซึ่งลูกน้องต้องทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ขณะที่บางส่วนระบุว่า ทำอะไรไม่ได้เลย จึงต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 9.02 ระบุว่า ฟ้องศาลปกครองทันที ร้อยละ 4.07 ระบุว่า ลาออก ร้อยละ 2.40 ระบุว่า ฟ้องสื่อมวลชน ร้อยละ 2.32 ระบุว่า ใช้ Social Network เป็นเครื่องมือในการเรียกร้องขอความเป็นธรรม ร้อยละ 1.36 ระบุว่า พยายามหาเส้นสายที่ใหญ่กว่าไปกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 0.08 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ สอบถามเหตุผลในการสั่งย้ายแล้วนำไปปรึกษาหารือกับผู้ใหญ่หรือฝ่ายกฎหมายในหน่วยงาน และร้อยละ 1.20 ระบุว่า ไม่มีความเห็น/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |