'ธปท.'ลุยพัฒนาดิจิทัลระบบการเงินปลื้มคนแห่ใช้พร้อมเพย์55.1ล้านราย


เพิ่มเพื่อน    

 

19 ก.ย.2563 นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน “Bangkok Fintech Fair 2020” ว่า ธปท.ให้ความสำคัญกับการผลักดันการพัฒนาและลงทุนด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีในระบบการเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ภาคการเงินและภาคธุรกิจในการลดต้นทุน บริหารจัดการความเสี่ยง และอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าในการให้บริการได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำให้ธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ยังสามารถทำได้ในภาวะที่ทุกคนไม่สามารถเดินทางออกไปข้างนอกได้ ส่งผลให้การใช้บริการธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลเร่งตัวขึ้นมากในช่วงล็อกดาวน์ รวมถึงในภาคธุรกิจก็ยังเดินต่อไปได้เช่นกัน

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ธปท.สนับสนุนการให้บริการผ่านดิจิทัลเริ่มจากบริการพร้อมเพย์ ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้บริการพร้อมเพย์เพิ่มขึ้นที่ 55.1 ล้านราย และมีจำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากข้อมูลพบว่า ปริมาณการทำธุรกรรมผ่านบริการพร้อมเพย์สูงสุดถึง 20 ล้านรายการ/วัน ส่วนการทำคิวอาร์โค้ด (QR Code)ก็ได้รับความนิยมต่อเนื่อง หลังจากที่ผู้ประกอบการเห็นถึงความสะดวกในการใช้คิวอาร์โค้ดรับโอนเงินชำระค่าสินค้าและบริการต่าง ๆ ซึ่งขณะนี้มีจำนวนผู้ประกอบการที่ลงทะเบียนใช้คิวอาร์โค้ดจำนวน 6 ล้านไอดี

นายวิรไท กล่าวอีกว่า ธปท.ยังผลักดัน โครงการอินทนนท์ เพื่อรองรับการโอนเงินในประเทศระหว่างสถาบันการเงิน ด้วยการแปลงเงินฝากของสถาบันการเงินที่นำมาฝากไว้ที่ ธปท.ให้อยู่ในรูปสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนและโอนชำระเงินระหว่างกัน โดยขณะนี้ได้มีการขยายไปสู่ความร่วมมือกับพันธมิตรธนาคารในฮ่องกงแล้ว และยังมีการใช้แพลตฟอร์มทางการเงินสำหรับภาครัฐในสังกัดกระทรวงการคลังเพื่อนำไปใช้ทำธุรกรรมระหว่างบุคคลกับบุคคล

สำหรับการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ ได้เริ่มให้ใช้การยืนยันตัวตนผ่านแพลตฟอร์ม National Digital ID (NDID) ในการเปิดบัญชีเงินฝากไปแล้ว และมีการนำ Bio Metrix มาใช้ในการยืนยันตัวตน และบริการแพลตฟอร์มการให้บริการด้านสินเชื่อที่ทำให้ลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้อย่างสะดวกขึ้น

ส่วนการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ที่นำดิจิทัลและเทคโนโลยีไปใช้ในการให้บริการลูกค้าภาคธุรกิจและลูกค้ารายย่อย ได้เริ่มให้ใช้การยืนยันตัวตนผ่านแพลตฟอร์ม National Digital ID (NDID) ในการเปิดบัญชีเงินฝากไปแล้ว และการนำ Bio Metrix มาใช้ในการยืนยันตัวตน รวมถึงการบริการแพลตฟอร์มการให้บริการด้านสินเชื่อที่ทำให้ลูกค้าของธนาคารต่างๆ สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้อย่างสะดวกขึ้น

“มีอีกหลายเรื่องที่ ธปท. ภาครัฐและภาคเอกชน ยังต้องเร่งทำงานร่วมกัน เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยลดต้นทุน และบริหารความเสี่ยงได้ดีขึ้น เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมการเป็น Digital Economy” นายวิรไท กล่าว

นายวิรไท กล่าวอีกว่า ธปท. จะเดินหน้าผลักดันแผนงาน 4 ด้านและต่อยอดต่อไป ได้แก่ 1.การวางระบบโครงสร้างพื้นฐานของภาคการเงินและภาคธุรกิจโดยใช้มาตรฐาน ISO 20022 เพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมกับสามารถช่วยภาคธุรกิจในด้านข้อมูลเกี่ยวกับการทำ E-invoice และ E-Factoring ทำให้ช่วยภาคธุรกิจในเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูล และเพิ่มความรวดเร็วในการได้รับเงิน ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบคาดว่าจะใช้ระยะเวลาอีก 1 ปีครึ่งจากนี้ จึงจะนำออกมาใช้ในวงกว้างได้

2. ระบบDigital Footprint เป็นระบบที่ภาคธนาคารพาณิชย์จะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการประเมินความสามารถของลูกค้าเพื่อพิจารณาให้สินเชื่อ และทำให้ธนาคารพาณิชย์บริหารความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น และช่วยให้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินใหม่ ๆ ออกมาตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้า 3. การผลักดัน NDID ในอนาคตธปท.ต้องการผลักดันใช้ระบบNDID ได้ในวงกว้าง ให้ทุกภาคส่วนหันมาใช้ NDID เพื่อประกอบการทำธุรกรรมและกิจกรรมต่าง ๆ โดยในระยะต่อไปจะขยายการใช้ NDID ไปสู่บริการด้านหลักทรัพย์ และบริการภาครัฐ 4. โครงการอินทนนท์ เพื่อช่วยเหลือในด้านกลไกการชำระเงินระหว่างภาคธุรกิจด้วยกันเอง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การชำระเงินของภาคธุรกิจ และมีความปลอดภัยมากขึ้น
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"