อว.ยกกระดับมาตรฐานการผลิตแพะนม สามจังหวัดชายแดนใต้


เพิ่มเพื่อน    

ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) พร้อมผู้บริหาร อว.ลงพื้นที่เยี่ยมชมผลสำเร็จโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตด้านการเกษตร(ด้านปศุสัตว์) พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ จ.นราธิวาส ยะลาและปัตตานี

  โดยหนึ่งในพื้นที่ที่คณะเยี่ยมชมผลการดำเนินงาน คือ กลุ่มแพะอารมณ์ดี ต.บันนังสาเรง อ.เมือง จ.ยะลา ซึ่งเป็นความร่วมมือของ 3 มหาวิทยาลัยในพื้นที่  มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาปัตตานี เข้าไปช่วยพัฒนาเพิ่มศักยภาพในการผลิต  สำหรับกลุ่มแพะอารมณ์ดี ซึ่งเป็นฟาร์มอยู่ภายใต้เครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะนมจังหวัดยะลา เป็นฟาร์มแพะนมสายพันธุ์ซาแนน ซึ่งสามารถให้น้ำนมเฉลี่ยตัวละกิโลครึ่งต่อวัน ปัจจุบันที่ฟาร์มมีแพะเลี้ยงจำนวนทั้งหมด 20 ตัว มีแพะที่พร้อมให้น้ำนมได้แล้วสามารถให้น้ำนมได้ประมาณวันละ 5– 6 กิโลกรัม ในฟาร์มมีการเปิดเพลงให้ฟังอยู่เสมอ ทั้งในช่วงเวลาให้อาหารและช่วงรีดนมแพะเพื่อให้แพะรู้สึกผ่อนคลาย อาหารที่ใช้เลี้ยงจะเป็นหญ้าหวาน ผิวถั่วเหลือง ต้นข้าวโพด เป็นต้น  มีแปลงปลูกหญ้าหวาน ประมาณ 1 ไร่  โดยหญ้าหวาน และผิวถั่วเหลืองเป็นอาหารที่ให้โปรตีนสูง ส่งผลให้น้ำนมมีคุณภาพดี ให้มีความหวานในน้ำนม เพิ่มน้ำนม และช่วยให้น้ำนมแพะไม่มีกลิ่นคาว  ในด้านการทำการตลาดนั้นมีทั้งการขายตรงจากฟาร์ม และทางตลาดออนไลน์ผ่านทางช่องทางเฟสบุ๊ค

ปัจจุบันกลุ่มแพะอารมณ์ดี ได้ทำความร่วมมือบริษัทเอกชนเพื่อต่อยอดทางการตลาด รวมทั้งการพัฒนามาตรฐานฟาร์ม การพัฒนาความหลากหลายของสินค้าที่ใช้น้ำแพะเป็นส่วนประกอบหลัก การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายให้มีความหลากหลาย การหาโรงงานแปรรูปที่ได้มาตรฐานเพื่อจ้างผลิตนมแพะพร้อมดื่มรสชาติต่างๆ การนำนมแพะมาทำนมผง เป็นต้น เนื่องจากที่ผ่านมา ในช่วงโควิดได้ประสบปัญหาเรื่องนมแพะล้นตลาดจึงต้องการหันมาแปรรูปนมแพะเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นและสามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น ฟาร์มยังไม่ได้มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์จากนมยังไม่ได้มาตรฐาน ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากนมแพะให้หลากหลายขึ้น

ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ ให้สัมภาษณ์ หลังเยี่ยมว่า โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตด้านการเกษตร(ด้านปศุสัตว์) พื้นที่จังหวัดภาคใต้ชายแดน เป็นโครงการที่ดี และจะต้องสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่เป็นผู้ประกอบการในพื้นที่ให้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะการต่อยอดสินค้าที่ทำอยู่ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โดย อว.จะเข้าไปช่วย “อัพสกิล-รีสกิล" ให้กับชาวบ้าน เพื่อเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันได้อย่างเต็มที่ในโลกธุรกิจยุคใหม่ ทั้งจะเปิดรับอาสาสมัครวิทยาศาสตร์ โดยดึงชาวบ้านและประชาชน ไม่จำกัดอายุ ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครวิทยาศาสตร์ เพื่อนำเสนอปัญหาที่แต่ละกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้กับคลินิกเทคโนโลยีของ อว.เข้าไปแก้ไข เช่น เรื่อของการรับรองมาตรฐานสินค้า การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ขณะเดียวกัน อว.จะหาทางช่วยโปรโมทสินค้าและหาช่องทางการตลาดกับชาวบ้าน กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เช่น อาจจะเปิดตลาดให้ใหม่ทั้งในและต่างประเทศ

“ที่สำคัญ ผมได้สั่งการให้สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัด อว.เก็บประเด็นความต้องการของชาวบ้าน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มต่างๆ  เพื่อนำมากแก้ปัญหาต่อ เช่น สินค้าที่ผลิตยังไม่มีการรับรองมาตรฐาน มาตรฐานฟาร์ม การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ได้มามาตรฐาน เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางการต่อยอดทางธุรกิจของสินค้าให้กับชาวบ้าน” ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"