นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีมีความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์คือ มีทำเลที่ตั้งอยู่ในโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงทั้งในและนอกประเทศ มีเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างประเทศเพื่อนบ้านกับจีนตอนใต้ โดยใช้เส้นทาง R12, R9 และ R8 อยู่ในเส้นทางรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย ที่สามารถรองรับการขนส่งสินค้าระหว่างไทยกับจีนตอนใต้ไปยังท่าเรือแหลมฉบังและพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีศูนย์กระจายสินค้าทางรางและศูนย์โลจิสติกส์ในพื้นที่กว่า 400 ไร่ อยู่ติดกับเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-หนองคาย
ภาคตะวันออกเฉียง หรือภาคอีสาน ถือเป็นภูมิภาคที่มีความโดดเด่นในด้านต่างๆ มากมาย ทั้งวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมที่สืบต่อกันมา ขณะเดียวกันภาคอีสานยังจัดได้ว่ามีเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ จึงทำให้มีประชากรมากตามมาด้วยเช่นกัน ซึ่งที่ผ่านมาในอดีตภาพจำของหลายๆ คนจะเห็นว่า ภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่แห้งแล้ง การเข้าไปถึงก็ทำได้ยาก เนื่องจากความกว้างขวางของพื้นที่แต่ละจังหวัดทำให้การพัฒนาในเรื่องต่างๆ นั้นไม่ครอบคลุมทั้งหมด วิถีชีวิตของชาวอีสานเองก็อยู่กันแบบเรียบง่ายตามประสาของคนท้องถิ่น
แต่ในสังคมที่เริ่มมีการแข่งขันกันมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตเริ่มมีเงินทองเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดการดิ้นรนที่สูงขึ้น ลูกหลานของหลายครอบครัวต้องเดินทางเข้ามาสู่เมืองหลวง หรือหัวเมืองใหญ่เพื่อหางานทำที่จะได้เงินเพิ่มมากขึ้น ทำให้ในหลายพื้นที่ไม่ว่าจะภูมิภาคไหน ก็จะมีคนอีสานแทรกตัวอยู่เพื่อทำมาหากินเกือบทุกที่
แต่ด้วยในปัจจุบันที่ความเจริญ เทคโนโลยี และสิ่งใหม่ๆ ได้แพร่กระจายไปจนถึงท้องที่หลายจังหวัดภาคอีสานมากขึ้นแล้ว ทำให้หัวเมืองใหญ่ๆ มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดและตามทันความเจริญในเมืองหลวงอย่างไม่น้อยหน้า ซึ่งจากจุดนี้เองทำให้ประชากรทางภาคอีสานไม่จำเป็นต้องแยกจากถิ่นฐานเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่อีกต่อไป
และการพัฒนาในภาคอีสานนั้นดูเหมือนจะไม่หยุดลงแค่นี้แน่นอน ด้วยทรัพยากรต่างๆ ความพร้อมและศักยภาพของพื้นที่ ทำให้ในหลายจังหวัดเป็นเป้าหมายของนักลงทุนในการที่จะไปตั้งฐานการผลิต หรือสำนักงานในพื้นที่มากขึ้น จึงทำให้เกิดการเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นๆ ในประเทศและเกิดการค้าขายส่งออกกับต่างประเทศด้วย ส่งผลให้ตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจในภาคอีสานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ด้วยเหตุนี้เอง บริษัท เมืองอุตสากรรมอุดรธานี จำกัด จึงได้เล็งเห็นศักยภาพของพื้นที่จังหวัดอุดรธานี และได้ร่วมมือกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ลงนามสัญญาร่วมดำเนินการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีขึ้น เมื่อปี 2557 ทีผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดฉากการพัฒนา”นิคมอุตสาหกรรมสีเขียวแห่งแรกของภาคอีสาน” ภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคม โดยเน้นกลไกการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความเจริญเติบโตให้คนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยนิคมฯ อุดรธานี ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลโนนสูง ตำบลหนองไผ่ และตำบลหนองนาคำ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี บนพื้นที่ขนาด 2,170.63 ไร่ มูลค่าการลงทุนประมาณ 100,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 เฟส โดยเฟสแรกมีพื้นที่ 1,000 ไร่ โดยขายจริง 700 ไร่ ที่เหลือเป็นระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน และเฟส 2 อีก 1,000 ไร่ เช่นกัน โดยคาดว่าจะมีการพัฒนาเฟสแรกแล้วเสร็จในปี 2464 ซึ่งทั้ง 2 โครงการจะทำให้เกิดการจ้างงานไม่ต่ำกว่า 20,000 คน ซึ่งทั้ง 2 เฟส เน้นอุตสาหกรรมที่มีวัตถุดิบอยู่ในภาคอีสาน เช่น ยางพารา ที่จะผลิตเป็นสินค้าขั้นปลาย อย่างถุงมือยางพารา เป็นต้น
นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีมีความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์คือ มีทำเลที่ตั้งอยู่ในโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงทั้งในและนอกประเทศ มีเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างประเทศเพื่อนบ้านกับจีนตอนใต้ โดยใช้เส้นทาง R12, R9 และ R8 อยู่ในเส้นทางรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย ที่สามารถรองรับการขนส่งสินค้าระหว่างไทยกับจีนตอนใต้ไปยังท่าเรือแหลมฉบังและพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีศูนย์กระจายสินค้าทางรางและศูนย์โลจิสติกส์ในพื้นที่กว่า 400 ไร่ อยู่ติดกับเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-หนองคาย
ขณะเดียวกัน เพื่อให้การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีสามารถให้บริการแก่นักลงทุนและจูงใจนักลงทุนให้เข้ามาลงทุน จึงได้มีการศึกษาความเหมาะสมของโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่ เช่น การศึกษาท่าเรือบก จังหวัดอุดรธานี, พัฒนาระบบการเดินรถไฟจากสถานีหนองตะไก้เข้ามายังพื้นที่โครงการ 1.8 กิโลเมตร รวมทั้งการให้สิทธิประโยชน์พิเศษแก่ผู้ประกอบการในนิคมฯ ให้เทียบเท่ากับผู้ประกอบการในเขตพื้นที่อีอีซี
โดยอุตสาหกรรมเป้าหมายในนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยางพาราขั้นปลาย อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะและประกอบรถยนต์ อุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเหล็กขั้นปลาย ศูนย์โลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมสนับสนุนการผลิตในพื้นที่
“นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีเป็นนิคมฯ แห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นนิคมอุตสาหกรรมลำดับที่ 56 ของประเทศ และเป็นจังหวัดที่ 16 ที่มีนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่ โดยนิคมฯ แห่งนี้ถือได้ว่ามีระบบการขนส่งสินค้าได้อย่างดี เนื่องจากมีพื้นที่ห่างจากท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีเพียง 14 กิโลเมตร อยู่ห่างจากถนนทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพประมาณ 2 กิโลเมตร ขณะที่ทางทิศใต้อยู่ติดกับทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-หนองคาย มีการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าที่อยู่ห่างชายแดนจากด่านหนองคาย 53 กิโลเมตร โดยสามารถเชื่อมต่อเศรษฐกิจการค้า ขนส่งสินค้า และกระจายสินค้าผ่านไปทางกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ได้อย่างสะดวก” นางสาวสมจิณณ์กล่าว
ด้านนายพิสิษฏ์ พิพัฒน์วิไลกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองอุตสาหกรรมอุดรธานี จำกัด กล่าวว่า ต้องการให้ภาครัฐขยายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายครอบคลุมมาถึงจังหวัดอุดรธานี เพราะมีศักยภาพเรื่องทำเลที่ตั้ง เพื่อให้นักลงทุนได้รับสิทธิประโยชน์ในการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ประกอบกับไทยยังได้รับอานิสงส์จากสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐ ที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจย้ายฐานผลิตเข้ามาในไทยมากขึ้น จึงเป็นสิ่งที่ควรเร่งสนับสนุน
นอกจากนี้บริษัทได้แบ่งที่ดินในเฟสแรกประมาณ 100 ไร่ มาพัฒนาเป็นพื้นที่ของไมโคร แฟคทอ โรงงานขนาดเล็ก) เพื่อรองรับผู้ประกอบการที่มีความสนใจเช่าหรือซื้อโกดังสำเร็จรูปขนาดเล็ก ขนาดกลาง เพื่อขยายฐานการผลิตหรือเป็นแหล่งกระจายสินค้าเพื่อส่งออกไปในภูมิภาคใกล้เคียง โดยการดำเนินการก่อสร้างจะใช้ระยะเวลาประมาณ 6-8 เดือนเท่านั้น ซึ่งขณะนี้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนจากไต้หวันและสิงคโปร์จำนวนมาก เบื้องต้นคาดว่าจะรองรับได้ประมาณ 30โรงงาน
“เชื่อว่าเส้นทางการคมนาคมที่สมบูรณ์แบบของนิคมอุดรฯ จะเป็นสิ่งจูงใจทำให้นักลงทุนสนใจที่จะเข้ามาลงทุน ด้วยการยกระดับการขนส่งในระบบรางของประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความแม่นยำและลดเวลาการขนส่งได้ถึง 30% แต่ต้นทุนถูกกว่า 2 เท่า อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อไปยังท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบังได้ ซึ่งภายในปี 2568 จังหวัดอุดรธานีจะมีเครือข่ายการคมนาคมขนส่งที่ทรงประสิทธิภาพ ทั้งรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ-โคราช-หนองคาย-เวียงจันทน์-คุนหมิง เพื่อการขนส่งผู้โดยสารและรถไฟทางคู่ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุน” นายพิสิษฏ์กล่าว
จากความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาพื้นที่ภาคอีสานให้สามารถใช้ศักยภาพอย่างเต็มกำลัง จนเกิดโครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีขึ้นมา นอกจากจะสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่แล้ว ยังเป็นช่องทางที่จะสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในพื้นที่ รวมถึงเป็นปัจจัยที่ช่วยลดการย้ายถิ่นฐานได้อีกด้วย ถือว่าการพัฒนานิคมสีเขียวแห่งภาคอีสานแห่งแรกนี้กำลังเดินไปที่เส้นทางที่ถูกต้องที่สุด.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |