18 ก.ย.63 - ในงานเสวนาเรื่อง “ถอดบทเรียนจากประสบการณ์การชุมนุมทางการเมืองและข้อเสนอต่อสังคม” ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เมื่อวานนี้ นายพิภพ ธงไชย อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า คนวิตกเรื่องความรุนแรงที่จะมีการชุมนุมทางการเมือง เราลองพูดกันว่าความรุนแรงเกิดจากใคร สมัชชาคนจนเคยล้อมทำเนียบสมัยรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ไม่มีคนบาดเจ็บล้มตาย เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ยุติการชุมนุมแล้ว ความรุนแรงก็เกิดจากตำรวจ การใช้ความรุนแรงเกิดจากรัฐ เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ก็ไม่มีความรุนแรงที่เกิดจากนิสิตนักศึกษา มาถึงพันธมิตรฯ เราชุมนุมกันนานมาก ยึดทำเนียบฯ ในคำพิพากษาชี้ชัดเจนความรุนแรงไม่ได้เกิดจากผู้ชุมนุม และในเหตุการณ์ 7 ตุลาฯ ล้อมรัฐสภา ความรุนแรงก็เกิดจากตำรวจยิงแก๊สน้ำตาใส่
นายพิภพ ย้ำว่า ความรุนแรงมาจากอำนาจรัฐเป็นตัวกระทำ อยู่ที่อำนาจรัฐจะป้องกันความรุนแรงได้หรือไม่ ที่วิตกกันว่าการชุมนุม 19 ก.ย. นี้ ถ้ารัฐไม่คิดใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม สิ่งที่รัฐต้องทำคือ รัฐสามารถกำหนดระยะการยิงได้ ว่าการยิงเอ็ม 79 มีระยะกี่ร้อยเมตร ระเบิดขว้างมีระยะกี่เมตร รวมถึงจุดที่สามารถยิงสไนเปอร์ได้ รัฐวางผังแล้วสามารถกำหนดดูแลไม่ให้ฆาตกรไปใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมได้ ที่ผ่านมามักจะกล่าวหากันว่าความรุนแรงมาจากผู้ชุมนุม ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ถ้าเกิดความรุนแรง รัฐบาลต้องรับผิดชอบ เพราะรัฐบาลรู้ระยะยิงกระสุนและระเบิดทั้งหมด ต้องกระจายตัวไปดูแลยังจุดที่ยิงได้
ขณะที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวว่า ไม่ว่าผู้ชุมนุมความเชื่ออย่างไรก็ตาม ไม่ควรมีใครต้องบาดเจ็บล้มตายหรือถูกจองจำ การตัดสินใจลงท้องถนนเป็นการตัดสินใจต่อสู้ทางการเมือง ไม่ใช่ทางการทหาร เพราะอยู่ในที่โล่งแจ้ง จะตกเป็นเป้าได้ตลอดเวลา ถ้าถึงจุดที่ทนกันไม่ได้ ปฏิบัติการทางทหารเริ่มขึ้น ทำลายสันติวิธีแล้วความรุนแรงตามมา การสร้างสถานการณ์ในแต่ละยุคไม่ต่างกัน โรคแทรกซ้อนในการชุมนุมสู้กลไกรัฐไม่ได้ จะมีเจ้าหน้าที่รัฐแต่งตัวแบบผู้ชุมนุมประกบในที่ชุมนุม และการปลุกม็อบง่ายกว่าเอาม็อบลง
นายจตุพร กล่าวถึงเหตุการณ์สลายชุมนุมปี 2553 ว่า เป็นปรากฏการณ์แรกที่มีการใช้สไนเปอร์กับผู้ชุมนุม ทุกศพไม่มีเขม่าดินปืนในมือ วันสุดท้ายประชาชนพร้อมยอมตาย ตนไม่สามารถทนเห็นภาพนี้ได้ จึงยุติและเรียกร้องรัฐให้ปล่อยประชาชนกลับ กรณี 6 ศพวัดปทุมฯ ไม่ควรเกิดขึ้น และยังมีคนตายหลังบาดเจ็บ ร่วมร้อยมากกว่าทุกเหตุการณ์ ไม่อยากเห็นคนตาย ไม่ได้หมายความว่าประชาชนต้องหยุด การต่อสู้ต้องมีต่อไป รัฐต้องไม่คิดฆ่า ไม่คิดปราบ ไม่คิดใช้ความรุนแรง การสร้างสถานการณ์ทำให้การฆ่ามีความชอบธรรม ถ้ารัฐถือการชุมนุมเป็นเสรีภาพของประชาชน ความตายก็จะไม่เกิดขึ้น และความตายไม่สามารถหยุดอำนาจรัฐได้ กรณีมือที่ 3 รัฐจัดการได้ อำนาจเหนือปืนคือโทรศัพท์มือถือ ความตายไม่ควรจะเกิดขึ้นอีกแล้ว แต่การต่อสู้ต้องมีต่อไปตราบใดที่บ้านเมืองยังไม่เป็นประชาธิปไตย
ด้าน นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย อดีตแกนนำ กปปส. กล่าวว่า ทุกการชุมนุมต้องมีเงื่อนไขเสมอให้คนก้าวออกจากบ้านมาท้องถนน ไม่มีใครออกมาด้วยเงินแล้วเอาชีวิตไปเสี่ยง ในยุค กปปส. เงื่อนไขสะสมมาจนถึงการออกกฎหมายนิรโทษกรรมคนถูกตัดสินความผิดคอร์รัปชั่น และคนถูกดำเนินคดีอาญา เป็นความรู้สึกร่วมว่านิรโทษกรรมออกแล้วทำลายนิติรัฐนิติธรรม กปปส. ไม่ใช่แค่คนต่อต้านนิรโทษกรรม มีชาวนาไม่ได้เงินจากจำนำข้าว มีกลุ่มต่างๆ แสดงออกถึงสิ่งที่เรียกร้องให้อำนาจรัฐแก้ไข ทำให้โครงสร้างการชุมนุมใหญ่ขึ้น เมื่อมีคนตาย คนเจ็บ เราจ่ายเงินดูแลครอบครัวและคนที่พิการจนถึงปัจจุบัน ส่วนตัวแกนนำมีคดี คาดตัดสินได้ในปีหน้า
นายสาทิตย์ กล่าวแนะนำว่า การชุมนุมโดยสุจริตใจต้องใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ คนพูดต้องไม่ปลุกเร้า เพราะจะเกิดสภาพมวลชนก้าวหน้ากว่าแกนนำแล้วคุมไม่ได้ ตนไม่เชื่อว่าวันที่ 19 ก.ย. นี้จบ จะเกิดขึ้นอีกหลายครั้งในอนาคต เงื่อนไขแนวทางต้องชัด ถ้าเกินขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนดต้องเจอกระบวนการยุติธรรม และผู้จัดการชุมนุมต้องรับผิดชอบกับคนที่มาชุมนุมด้วย ทั้งนี้ นายสาทิตย์ ยังเตือนถึงการปล่อยข่าวลือในกลุ่มผู้ชุมนุม ที่แกนนำต้องระวัง ส่วนสิ่งที่กังวลต่อการชุมนุมนั้น มีผู้เข้าร่วมหลายกลุ่ม แนวคิดไม่ตรงกันทั้งหมด การเอาอารมณ์เหนือเหตุผลมีโอกาสเกิดความขัดแย้งได้ ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ชุมนุม และผู้ต่อต้าน หากทุกฝ่ายลดเงื่อนไขอารมณ์จะลดความขัดแย้งได้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |