"หมอธี"ย้ำผลคะแนนสอบโอเน็ต ผู้บริหารต้องรับผิดชอบร่วมกันเชื่อนำไปสู่ปฎิรูปการศึกษา


เพิ่มเพื่อน    

 

ภาพจาก winnews-tv

"หมอธี" ยกผลสอบโอเน็ต เป็นประเด็นที่ผู้บริหารทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบ  เชื่อการสอบโอเน็ตจะนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาในอนาคต ด้าน "เลขาฯ กอศ." ปลื้ม ผลคะแนนวีเน็ตของ ปวช. เพิ่ม กว่า 3%


นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ในการประชุมกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ประชุมได้หารือถึงผลการวิเคราะห์คะแนนทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ที่จัดสอบในระดับประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6  ของปีการศึกษา 2560  โดยสภาการศึกษา (สกศ.) และ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้ร่วมกันวิเคราะห์ และพบว่า ปัญหาใหญ่ที่คะแนนโอเน็ตต่ำมาจากกลุ่มโรงเรียนด้อยโอกาส แต่ก็พบโรงเรียนด้อยโอกาสบางแห่งจัดการศึกษาได้ดีเช่นกัน ดังนั้นเพราะการสอบโอเน็ตจะนำไปสู่การปฎิรูปการศึกษา  ศธ. จึงได้ยกให้ประเด็นนี้เป็นเรื่องหลักสำคัญที่ผู้บริหารทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบ เพราะเท่ากับว่าเรายังมีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอยู่และการสอบโอเน็ตจะนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาในอนาคต


ด้านนายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาฯ กอศ.) กล่าวว่า ในส่วนของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา หรือ วีเน็ต ปีการศึกษา 2560 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ผู้เข้าสอบจำนวน 133,243 คน และ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 120,817 คน โดยพบว่า ผลคะแนนวีเน็ตของ ปวช. อยู่ที่ 41.60 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2559 อยู่ที่ร้อยละ 3.67 โดยมีนักศึกษาทำคะแนนเฉลี่ยดีเยี่ยม 254 คน  ขณะที่ระดับปวส.คะแนนวีเน็ตร้อยละ 37.11 ลดลงจากปีการศึกษา 2559 ร้อยละ 0.24 มีนักศึกษาที่ทำคะแนนได้ดีเยี่ยม 21 คน ทั้งนี้ตนมีแนวทางยกระดับคะแนนวีเน็ต โดยต้องการให้วิทยาลัยและนักศึกษาเห็นความสำคัญของการทดสอบนี้ ซึ่งตนจะให้เป็นแนวปฎิบัติแก่ทุกวิทยาลัยได้นำคะแนนวีเน็ตมาใส่ไว้ในใบจบการศึกษาของผู้เรียนด้วย เพราะแนวทางนี้จะเป็นผลดีต่อผู้เรียนเมื่อไปทำงานในสถานประกอบการจะได้เห็นว่านักศึกษาอาชีวะมีทักษวิชาชีพที่เก่งแล้วยังมีความโดดเด่นในด้านวิชาการด้วย


               “นอกจากเราจะส่งเสริมทักษะวิชาชีพเด็กอาชีวะแล้ว ในด้านวิชาการก็มีความจำเป็นเช่นกันและทิ้งไม่ได้ เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่านักศึกษาเมื่อเข้าทำงานไม่สามารถเป็นหัวหน้างานได้ เพราะยังขาดทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะการคิดและการแก้ปัญหา ซึ่งการส่งเสริมให้เด็กเห็นความสำคัญของการสอบวีเน็ตจะทำให้เด็กตั้งใจเรียนตั้งแต่ในห้องเรียนในวิชาทฤษฎีและยกระดับความสารมารถของตนเองได้ ขณะเดียวกัน รมว.ศธ.ยังได้ย้ำให้นำผลคะแนนโอเน็ตและวีเน็ตไปใช้ประโยชน์และสู่การปฏิบัติ ดังนั้นผมจึงได้ตั้งคณะทำงานวิเคราะห์จุดอ่อนเป็นรายวิทยาลัย เพื่อยกระดับผลคะแนนทั้งระบบต่อไป” เลขาฯ กอศ.กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"