สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดเสวนา เนื่องในโอกาสสัปดาห์แห่งการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโลก นักวิชาการชี้ มีคน4กลุ่มเข้าไม่ถึงวัคซีน ทำให้ไทยมีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น จากการระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน หรือโรคที่หายไปแต่ลับมาระบาดใหม่ จนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขได้อีกครั้ง ชี้สังคมทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วม
24 เม.ย.61- ณ โรงแรมแลงคาสเตอร์ กรุงเทพฯ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มีการจัดกิจกรรมสัปดาห์แห่งการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโลก พ.ศ.2561 ภายใต้แนวคิด”ทุกภาคส่วนร่วมใจ หยุดโรคภัยด้วยวัคซีน” ซึ่งองค์การอนามัยโลก (Who) ได้กำหนดให้สัปดาห์สุดท้ายของเดือนเมษายนเป็นสัปดาห์แห่งการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโลก โดยในปีนี้ตรงกับวันที่ 24-30 เม.ย. โดย นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า ในการส่งเสริมป้องกันโรคนั้น พบว่าการให้วัคซีนมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเทียบกับการดำเนินการในด้านอื่นๆ ซึ่งควรผลักดันให้เป็นโครงการระดับชาติ โดยการผลักดันเป็นนโยบายควรดำเนินการใน 2 เรื่อง คือ 1 . การสร้างความมั่นคงในวัคซีน ซึ่งปัจจุบันมีความเข้าใจผิดว่ามีเงินก็สามารถซื้อวัคซีนได้ แต่ความมั่นคงจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากเรายังไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะโรงงานผลิตวัคซีนขององค์การเภสัชกรรม (อภ.)คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จในเร็ววันนี้
นอกจากนี้ในการสร้างความมั่นคงนั้นก็ต้องมีการกระจายเพื่อให้ครอบคลุมประชาชนไทยทุกกลุ่ม 2. เดินตามรอยพระราชปณิธานของในหลวงทุกพระองค์ ตั้งแต่ในหลวงรัชกาลที่ 3 ที่เริ่มมีการนำวัคซีนมาใช้ โดยมีแนวคิดให้พึ่งตัวเอง ผลิตเอง เพราะหากผลิตได้เองเราก็จะสามารถกระจายยังประเทศอื่นๆได้ ซึ่งเราก็มีการส่งเสริมในเรื่องดังกล่าว จนมีระบบที่ชัดเจนจน และหลังจากที่พึ่งมีการประชุมไปทำให้10 ประเทศในอาเซียนได้เชื่อมั่นและยกให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในการสร้างความมั่นคงทางวัคซีน
“อย่างไรก็ตามพบว่าปัญหาหนึ่งของการเข้าถึงวัคซีนของคนในประเทศ เนื่องมาจากการที่พ่อแม่ ผู้ปกครองมักคิดว่า วัคซีนที่จำเป็นรัฐต้องให้ฟรี หากไม่ฟรีแปลว่าไม่จำเป็น ซึ่งจริงๆแล้ว รัฐต้องมีการประเมินความคุ้มทุน และหากมีความคุ้มทุนแล้วยังต้องคำนึงถึงงบประมาณของรัฐว่ามีเพียงพอหรือไม่ ดังนั้นนอกจากภาครัฐ ภาคสาธารณสุขแล้ว ภาคประชาชนก็ต้องร่วมด้วย ซึ่งในการนำเข้าวัคซีนเป็นยาพื้นฐานเพื่อให้ฟรีหรือไม่นั้น ก็ยังต้องมีการประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนใหม่ๆที่ออกมา เช่น วัคซีนไข้เลือกออกก็ต้องรอดูประสิทธิภาพว่าได้ผลหรือไม่ ไม่ใช่ว่าตัวใหม่ๆออกมาแล้วจะสามารถนำมาใช้ได้ทันที”นพ.จรุง กล่าว.
พญ.จุไร วงศ์สวัสดิ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ด้านกุมารเวชกรรม กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ปัจจุบันนอกจากกรมควบคุมโรค มีการวางยุทธศาสตร์ว่าจะมีการเดินหน้าเรื่องวัคซีนอย่างไรแล้ว มีคณะอนุกรรมการวัคซีนมาช่วยพิจารณาว่าวัคซีนตัวไหนมีความจำเป็น ซึ่งก็ต้องมองไปถึงความคุ้มทุนในการจัดซื้อจัดหา โดยในคณะอนุกรรมการก็จะมีมาจาก สำนักงานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)เพื่อช่วยคิดในเรื่องความคุ้มทุน เพื่อให้การนำเข้าวัคซีนเกิดความคุ้มค่าโปร่งใสด้วย ทั้งนี้ ในยุทธศาสตร์ยังได้มองไปถึงความครอบคลุม เพื่อกระจายวัคซีนไปในแต่ละพื้นที่ ไม่ใช่แค่เพียงคนกลุ่มใหญ่ในสังคม แต่รวมไปถึงชนกลุ่มน้อยด้วย ซึ่งก็ได้พบปัญหาความครอบคลุมการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในประชากรกลุ่มเสี่ยง 4 กลุ่ม คือ 1) ประชากรเคลื่อนย้ายทั้งแรงงานไทยและต่างด้าว 2) ประชากรที่อยู่ในพื้นที่สูงชายแดนทุรกันดารชาวเขาและห่างไกลจากการเข้าถึงสถานบริการสาธารณสุข 3) ประชากรที่อยู่ในพื้นที่ที่ด้วยเหตุใดก็ตาม มีระดับความครอบคลุมการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์หรือมีประวัติการเกิดการระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน 4) ประชากรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีปัญหาความไม่สงบ จากสภาพปัญหาดังกล่าวเห็นได้ว่ายังมีโอกาสเสี่ยงที่ประเทศไทยจะเกิดการระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ที่มีแนวโน้มลดลง หรือหมดไปแล้วกลับมาระบาดจนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขได้อีกครั้ง ด้วยเหตุนี้การขยายความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนจึงเป็นแนวทางที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ควรร่วมมือกันพยายามผลักดันเพื่อให้เกิดกุมารดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและบรรลุตามเป้าหมาย
ดร.ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี กล่าวว่าปัญหาการเข้าถึงวัคซีนในชายแดนใต้ พบปัญหาค่อนข้างมาก มีความครอบคลุมต่ำมาก เนื่องมาจากปัญหาความไม่สงบของพื้นที่ ทำให้ประชากรเข้าถึงหน่วยบริการได้ลำบาก และเนื่องจากสภาพบริบทของประชากรที่แตกต่างไปจากภาคอื่นๆ ในเรื่องความเชื่อ เช่น ในเรื่องความเชื่อ ซึ่งจริงๆในเรื่องศาสนานั้นไม่ได้มีการกีดกันการเข้ารับวัคซีนไปเป็นไปในเชิงส่งเสริม นอกจากนี้ยังพบปัญหาประชาชนไม่นำบุตรหลานมาเข้ารับการฉีดวัคซีน เนื่องจากมีความกังวลในเรื่องประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของตัววัคซีน ซึ่งในการแก้ไขนั้นควรมีการเพิ่มกลไกเพื่อให้ครอบคลุมการเข้าถึงตัววัคซีน ทั้งในเรื่องหน่วยบริการเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงมากขึ้น นอกจากนี้อาจต้องมีการเพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับวัคซีน ซึ่งคงไม่ใช่เพิ่มในส่วนของพ่อแม่อย่างเดียว แต่ต้องครอบคลุมทั้งพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตายาย ผู้นำศาสนา หากมีกลไกดังกล่าวจะช่วยให้การบริการวัคซีนครอบคลุมจังหวัดในชายแดนมากขึ้น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |