พัฒนานวัตกรรมแก้ปัญหาการขนส่งก๊าซเอ็นจีวี สร้างมาตรฐานตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค


เพิ่มเพื่อน    

 

ที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของสถานการณ์โควิด-19 นั้น รัฐบาลได้มีการประกาศพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และขอความร่วมมือประชาชนไม่เคลื่อนย้ายเดินทางไปต่างถิ่น เพื่อไม่ให้การแพร่กระจายของเชื้อไปในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศได้ จึงได้ส่งผลกระทบในแง่ลบให้กับประเทศ โดยสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือการเดินทางลดลง และส่งผลต่อเนื่องไปยังการใช้เชื้อเพลิงที่ลดลงตามมาด้วย

             

โดยจากข้อมูลของกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่าภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวันรวม 7 เดือนของปี 2563 (มกราคม – กรกฎาคม) ลดลง 13.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มเบนซิน ลดลง 5.4% กลุ่มดีเซล ลดลง 4.5% และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ลดลง 31.7% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สะท้อนสถานการณ์ในประเทศได้เป็นอย่างดี

 

             

แม้ว่าปริมาณการใช้พลังงานจะมีแนวโน้มที่ลดลง แต่การเตรียมความพร้อมในการจัดหาและผลิตพลังงานยังต้องทำอยู่เสมอเพื่อตอบสนองความต้องการของคนในประเทศได้อย่างดีที่สุด เพราะว่าการใช้ที่ลดลงไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการใช้เลย ยังมีการใช้งานของเชื้อเพลิงกระจายไปอยู่ทั่วประเทศ ดังนั้นการมีเชื้อเพลิงที่เพียงพอและมีสำรองในช่วงเวลาฉุกเฉิน จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก

 

นอกจากการจัดหาแหล่งพลังงานให้เพียงพอจะมีความสำคัญแล้ว การกระจายพลังงานไปยังพื้นที่ที่มีความต้องการนั้นก็สำคัญเช่นกัน เพราะที่ผ่านมา เมื่อมีการหยุดซ่อมบำรุงประจำปีของแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติบางแหล่ง จะเกิดปัญหาพลังงานที่ไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ โดยเฉพาะก๊าซเอ็นจีวี ที่ให้บริการในสถานีบริการที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งผลิตก๊าซฯ ซึ่งมีอุปสรรคในการขนส่งก๊าซฯ จากแหล่งอื่นทดแทน ทำให้การจ่ายก๊าซฯ อาจเกิดการหยุดชะงักหรือไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้รับผิดชอบจะต้องเข้ามาแก้ไขในส่วนดังกล่าว

 

 

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) โดยสายงานก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ ได้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงมีแนวคิดในการแก้ปัญหาในส่วนนี้ จากเดิมที่ต้องอาศัยการจัดส่งก๊าซเอ็นจีวีในรูปแบบก๊าซด้วยรถขนส่ง ซึ่งการขนส่งในแต่ละเที่ยว สามารถบรรจุก๊าซได้ปริมาณน้อย ต้องอาศัยการขนส่งหลายเที่ยวเพื่อให้ได้ปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ ได้ปรับเปลี่ยนเป็นการขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) เพื่อนำมาแปรสภาพเป็นก๊าซ และป้อนให้กับสถานีบริการก๊าซเอ็นจีวีแทน ซึ่งสามารถขนส่งได้มากกว่าในรูปของก๊าซกว่า 3 เท่า ต่อ 1 เที่ยว

 

จากแนวคิดดังกล่าว ปตท. ได้พัฒนาชุดอุปกรณ์กักเก็บ และแปรสภาพก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ Liquefied Natural Gas Storage and Regasification Mobile Unit (LNG-SRM) ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยชุดอุปกรณ์ ประกอบด้วย ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Storage Tank) ที่สามารถเก็บแอลเอ็นจี ที่อุณหภูมิ -161 องศาเซลเซียส และชุดอุปกรณ์แปรสภาพก๊าซ (Regasification Unit) เพื่อแปลงสถานะแอลเอ็นจี จากของเหลวให้กลายเป็นไอ

 

 

โดยหลักการบริหารจัดการก๊าซด้วยชุดอุปกรณ์ LNG-SRM มีดังนี้

1.ปตท. รับก๊าซแอลเอ็นจี จากคลังรับเก็บจ่ายแอลเอ็นจี (LNG Terminal) ต.มาบตาพุด จ.ระยอง และขนส่งด้วยรถขนส่งแอลเอ็นจีในรูปของเหลว ไปยังสถานีก๊าซธรรมชาติหลัก ปตท.

2.เมื่อขนส่งถึงสถานีฯ หลัก รถขนส่งจะสูบถ่ายแอลเอ็นจีไปจัดเก็บในถังเก็บ

3.หลังจากนั้นก๊าซแอลเอ็นจีจะถูกส่งเข้าชุดอุปกรณ์แปรสภาพก๊าซ เพื่อเปลี่ยนสถานะของแอลเอ็นจีให้เป็นก๊าซก่อนสูบอัดเพื่อผลิตเป็นก๊าซเอ็นจีวี พร้อมจัดส่งไปยังสถานีบริการตามกระบวนการปกติต่อไป

 

และจากการที่ ปตท. ได้นำชุดอุปกรณ์ LNG-SRM มาทดลองใช้ในการบริหารจัดการก๊าซเอ็นจีวี ตั้งแต่ปี 2562 ในช่วงแหล่งก๊าซธรรมชาติ JDA A-18 และแหล่งก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อมหยุดซ่อมบำรุงตามวาระ ซึ่งผลการดำเนินงานประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ส่งผลให้ก๊าซเอ็นจีวีมีเพียงพอตลอดช่วงการหยุดซ่อมบำรุง

 

การดำเนินงานที่เกิดความต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก จากความมุ่งมั่นของ ปตท. ที่ต้องการรักษาความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยี LNG-SRM นี้ ถือเป็นนวัตกรรมชิ้นสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากภาคขนส่งของประเทศ อีกทั้งช่วยส่งเสริมให้คนไทยใช้เชื้อเพลิงทางเลือกที่ลดมลพิษทางอากาศอีกทางหนึ่งด้วย

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"