14 ก.ย. 2563 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่ากระทรวงอุตสาหกรรมมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เร่งจัดทำมาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายต่างๆ ต่อไป โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงอุตสาหกรรมอาหารและการแพทย์ที่ขยายตัวต่อเนื่องตามความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก มีการลงทุนและการจ้างงานเพิ่มขึ้น และอุตสาหกรรมหลักอื่นจะค่อยๆ ฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการและการใช้จ่ายภายในประเทศที่ดีขึ้น เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและยานยนต์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในต่างประเทศยังน่าเป็นห่วง พฤติกรรมการบริโภคทั่วโลกเปลี่ยนแปลงจากเดิม ผู้บริโภคมีการบริโภคสินค้าคงทนลดลงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ขณะที่การบริโภคสินค้าอุปโภคบริโภคกลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ภาคอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องยกระดับเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อตอบสนองพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงนี้ให้ทัน และใช้โอกาสจากวิกฤตในครั้งนี้ดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาสร้างฐานการผลิตในไทย รองรับอุตสาหกรรมไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
“สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้การใช้เทคโนโลยีดิจิตอลถูกนำมาใช้ประกอบการทำงานและชีวิตประจำวัน ผู้บริโภคจำเป็นต้องปรับตัวสู่ชีวิตวิถีใหม่ ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าที่คาด กระทรวงอุตสาหกรรมจึงเตรียมแผนการดำเนินงานเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ให้เร็วขึ้นจากเดิม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมาย (เอส-เคิร์ฟ)”นายสุริยะ กล่าว
นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการ สศอ. กล่าวว่า การยกระดับอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 จะเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาช่วยในการทำงานผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายอัจฉริยะ พร้อมนำข้อมูลการทำงานไปวิเคราะห์และประมวลผลสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยทำให้อุตสาหกรรมการผลิตทำงานได้รวดเร็ว ยืดหยุ่น และสามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มศักยภาพให้อุตสาหกรรมไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้
“สถานการณ์โควิด-19 ในต่างประเทศหลายประเทศที่เป็นฐานการผลิตสำคัญ รวมทั้งสถานการณ์สงครามการค้าส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกต้องชะงักลง อุตสาหกรรมบางประเภทขาดชิ้นส่วนการผลิต เกิดปัญหาทางด้านการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบ ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มทบทวนแผนการผลิตใหม่และมีความต้องการย้ายฐานการผลิตออกเพื่อกระจายความเสี่ยง นับเป็นโอกาสของประเทศไทยที่จะดึงดูดผู้ให้ประกอบการเข้ามาลงทุน”นายทองชัย กล่าว
อย่างไรก็ตาม ไทยมีจุดแข็งทางด้านของแรงงานที่มีฝีมือและมีการควบคุมโควิด-19 ที่ดี สอดรับกับนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่มุ่งพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายให้สามารถรองรับอุตสาหกรรมที่จะย้ายเข้ามาใหม่ได้ รวมถึงการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) การเตรียมความพร้อมในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถรองรับการย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติได้ทันที
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |