ผ้าขาวม้าจก ลายช้าง จ่ากบ้านหาดเสี้ยว จ.สุโขทัย เป็นภูมิปัญญาจากขาวบ้านที่อพยพมาจากเชียงขวาง ประเทศลาว
มาตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยร.5
"ผ้าขาวม้า"เป็นผ้าที่คนไทยคุ้นเคย ในภาพจำของคนไทยจะเห็นได้ว่า คนไทยใช้ผ้าขาวม้าหลากหลายประโยชน์ มีทั้งเอาไว้โพกหัว ผูกเอว นุ่งอาบน้ำ ของผู้ชายทุกวัย ทั้งเด็ก คนหนุ่ม และคนแก่ หรือเอาไว้ผูกเปลให้เด็กแรกเกิดนอน คนรุ่นก่อนหลายคนจึงผ่านการนอนเปลผ้าขาวม้ามาแล้ว
ปัจจุบัน ผ้าข่าวม้า ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น ผู้ผลิตที่เป็นชาวบ้าน ได้รับการส่งเสริมในด้านการออกแบบลาย ให้มีความหลากหลาย ในบริบทที่เข้ากับไลฟ์สไตล์คนในยุคปัจจุบันมากขึ้น และแปลงรูปแบบเป็นทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า หมวก รองเท้า ทำให้ตลาดของผ้าขาวม้า มีการขยับขยาย สร้างรายได้ให้กับชุมชนมากยิ่งขึ้น จนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการอนุรักษ์ผ้าขาวม้า ให้อยู่คู่กับสังคมไทยต่อไป
ล่าสุด บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เครือข่าย ชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือทั่วประเทศ และภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา และบริษัทภาคเอกชน ได้จัดงาน ผ้าขาวม้าทอใจ ปี 2563 ภายใต้โครงการ ผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย ปีที่ 5 เพื่อส่งเสริม กระตุ้น ให้กับประชาชนได้กันมาสนใจการสวมใส่ หรือผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้ามากขึ้น และยังสร้างรายได้ให้กับชุมชน พร้อมชมนิทรรศการภาพถ่าย IG และผลงานการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า หัวข้อ ผ้าขาวม้ารัก(ษ์)โลก และช้อปกับสินค้าผ้าขาวม้าจากชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือชั้นนำจากทั่วประเทศ 18 ชุมชน ตั้งแต่วันนี้ - 13 กันยายน 2563 ณ บริเวณชั้น G ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์
ชุดจากผ้าขาวม้า ที่ได้รับการดีไซน์ใหม่ ดูดี ราคาแพง สวมใส่ได้เก๋ไก๋ ในยุคปัจจุบัน
สำหรับปีนี้ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ Creative Young Designers กับ 6 สถาบันการศึกษาในเครือข่าย EISA (Education Institute Support Activity) ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่ได้ร่วมออกแบบผ้าขาวม้ากับ 6 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนผ้าขาวม้าบ้านหนองขาว จ.กาญจนบุรี, ชุมชมผ้าขาวม้าบ้านไทรงาม จ.สระแก้ว, ชุมชนผ้าขาวม้าบ้านเขาเต่า จ.ประจวบคีรีขันธ์, วิสาหกิจชุมชนคอตตอลดีไซน์ จ.ปทุมธานี, ชุมชนผ้าขาวม้าบ้านดอนแร่ จ.ราชบุรี, ชุมชนผ้าขาวม้าบ้านหาดเสี้ยว จ.สุโขทัย และ ชุมชนผ้าขาวม้าบ้านหนองลิง จ.สุพรรณบุรี
ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผ้าขาวม้า นับว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมายาวนาน ที่ยังคงเห็นชาวบ้านได้ใช้อยู่ และได้มีการปรับเปลี่ยนแปรรูปมาเป็นผลิตภัณฑ์อย่าง เสื้อบุรุษ หรือเสื้อสตรี ที่มีการใช้สี หรือแพทเทิร์นในการทอที่หลากหลายอาจจะ มีมากถึง 4-5 แสนแพทเทิร์น สะท้อนให้เห็นว่าในชุมชนสามารถสร้างเอกลักษณ์ของตนเองได้ ซึ่งในตลอดระยะเวลากว่า 4 ปี ที่ผ่านมา ก็ได้ทำงานร่วมกับชุมชน ในการสนับสนุน ส่งเสริม ให้องค์ความรู้ ในส่วนของแพทเทิร์น หรือด้านธุรกิจ ทั้งนี้ยังได้สถาบันการศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมในการรังสรรค์ผ้าขาวม้า จะเห็นว่ามีการสร้างสรรค์ที่เชื่อมโยงให้เห็นถึงผ้าขาวผ้าในวิถีของชุมชนและสไตล์ที่ตอบโจทย์คนในยุคสมัยใหม่ ที่สามารถขยายตลาดนอกชุมชนได้ โดย 26 ชุมชนในโครงการในรอบ 4 ปี สามารถสร้างรายได้กว่า 118 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนวงการแฟชั่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และชุมชนให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต
ผลิตภัณฑ์ จากผ้าขาวม้า ในงานผ้าขาวม้าทอใจ
ต้องใจ ธนะชานันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า งานในปีนี้แม้ว่าจะจัดล่าช้ากว่าทุกปี ด้วยสถานการณ์โควิด-19 แต่เราก็ได้นำเสนอในคอนเซ็ปท์ ผ้าขาวม้าทอใจ เพื่อเชื่อมโยงระหว่างชุมชนกับคนเมือง ในการช่วยเหลือกัน และยังนำเสนอผ้าขาวม้าในบริบทใหม่ๆ อย่าง การทำหน้ากากผ้าขาวม้า หรือการขายทางออนไลน์ เพื่อเป็นช่องทางการขายให้กับชุมชนมากยิ่งขึ้น หรือการช่วยในส่วนของธุรกิจของการทำธุรกิจในการจดลิขสิทธิ์สินค้า ในปัจจุบันมีชุมชนที่อยู่ในโครงการกว่า 80 ชุมชน และได้ 6 สถาบันการศึกษาได้เข้ามาร่วมออกแบบลงพื้นที่เรียนรู้พร้อมกับชุมชน เป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการทอ แพทเทิร์นสำหรับตัดเสื้อผ้า ซึ่งทางมหาลัยก็จะมอบให้กับชุมชนไว้ต่อยอด นอกจากนี้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมายังได้เห็นคนรุ่นใหม่ในชุมชน ผู้ผลิตหลายแห่งที่เข้ามาร่วมสืบสาน และพัฒนาต่อยอดผ้าขาวม้าทอมืออย่างเข้มแข็ง ดังจะเห็นได้ว่ามีสินค้าแบรนด์ใหม่ๆเกิดขึ้น ที่ตอบโจทย์กับคนในยุคปัจจุบันด้วย
ส่วนภาพถ่ายผ้าขาวม้าจาก instagram
ด้านธัญรดา พลายชมภู ผู้ดูแลชุมชนบ้านเขาเต่า จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้เล่าว่า ในชุมชนของเราเคยมีการทอผ้าขาวม้า แต่ในปัจจุบันมีคนที่มีใจรักในการทอผ้าขาวม้าเหลืออยู่ 15 คน ซึ่งทุกคนมีส่วนในการออกแบบลายหรือสี และสร้างลายที่มีเอกลักษณ์ของเขาเต่าคือ ผ้าขาวม้าเก้าเส้น ที่จะใช้เทคนิคการทอโดยเส้นยืนจะคือลายอะไรก็ได้ แต่ต้องพุ่งเส้นด้ายเก้าเส้น เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงได้ส่งเสริมอาชีพทอผ้าขาวม้าซึ่งเราก็ได้เข้าร่วมโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย ทำให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงช่องทางในการจำหน่าย ยิ่งมีนักศึกษาเข้ามาช่วยออกแบบแพทเทิร์นเสื้อผ้าให้ดูมีความทันสมัย เข้ากับหัวหินกลายเป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายทั้งเสื้อผ้า การเป๋า หมวก ของที่ระลึกต่างๆ
อีกหนึ่งชุมชนที่ผ้าขาวม้ามีเอกลักษณ์ด้วยลายจกช้าง สุจินต์ โพธิวิจิตร ประธานชุมชนผ้าขาวม้าบ้านหาดเสี้ยว จ.สุโขทัย บอกว่า ในชุมชนแห่งนี้ทอผ้าขาวม้ามานาน ตั้งแต่อพยพมาจากเชียงขวาง ประเทศลาว มาตั้งรกรากอยู่ที่นี่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งสิ่งที่นำติดตัวมาด้วยคือภูมิปัญญาการทอผ้า และผ้าขาวม้าคือหนึ่งในภูมิปัญญาที่ได้ส่งทอดจากบรรพบุรุษมาจนถึงปัจจุบัน คือ การจกลายช้างตรงเชิงชายผ้าขาวม้า ทำให้แตกต่างจากที่อื่น แต่เพราะการจกต้องใช้เวลา และราคาแพง จึงได้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้วิธียกขิดแทน ราคาก็จะถูกลง และไวขึ้น อีกแรงสำคัญคือเมื่อได้เข้าร่วมโครงการเราก็อยากจะทอผ้าขาวม้าต่อไป เพราะเราได้เรียนรู้การปรับสีให้ทันสมัย มีความหลากหลาย รวมถึงได้ความรู้ใหม่ๆ ของการออกแบบจากนักศึกษามหาลัยที่ได้เข้ามาให้คำแนะนำ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตามผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมงานผ้าขาวม้าทอใจ ได้ตั้งแต่วันนี้ - 13 กันยายน 2563 ณ บริเวณชั้น G ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |