จุฬาฯโชว์ผลสำเร็จวัคซีนโควิด จากใบยาสูบ ได้ผลดีแม้เชื้อกลายพันธุ์"หมอธีระวัฒน์"เผยดีเอ็นเอคนไทยมี"ของดี"ป้องกันและทำลายเชื้อโควิดได้เอง


เพิ่มเพื่อน    

11ก.ย.63-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการ Chula The Impact ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ "จุฬาฯ - ใบยาวัคซีน นวัตกรรมไทย ไขวิกฤติ Covid-19"นำเสนอความก้าวหน้าการผลิตวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบยาสูบ โดยบริษัท "ใบยา ไฟโตฟาร์ม" บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ได้รับการบ่มพาะจาก CU Innovation Hub  โดยมี  ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ ศนพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ. จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ ผศ.ภญ.ดร.ธีร เตชคุณวุฒิ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ และ CEO & Co Founder บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ผู้ร่วมคิดค้นวัคซีนป้องกันCovid-19 จากใบพืชตระกูลยาสูบ  

ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ กล่าวถึงความคืบหน้าของวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพยาสูบ สปีซีส์ "N, benthmion" ผลงานจากบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ว่าปัจจุบันได้พัฒนวัคซีนป้องกันโควิด ต้นแบบ 6 ชนิด  วัคซีนต้นแบบชนิดแรก "Baiya SARS-COV-2 Vax 1" ได้รับการนำไปฉีดในสัตว์ทดลองและดำเนินการเสร็จสิ้นในขั้นตอนของการทดลองในสัตว์ทดลองทั้ง 2 ชนิด ได้แก่หนูขาวและลิง ซึ่งผลที่ได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจสามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองทั้ง 2 ชนิด ได้ในปริมาณสูงจากการฉีดวัดชีนเพียง 2 ครั้ง โดยขั้นตอนต่อจากนี้ จะมีการทดสอบวัคซีนในหนูอีกครั้ง เพื่อทดสอบความเป็นพิษหรือผลข้างเคียงต่ออวัยวะต่าง ๆ โดยละเอียด จากการทดสอบดังกล่าว ทำให้จะสามารถกำหนดปริมาณ และขนาดของวัคซีนที่จะนำไปใช้ศึกษาในมนุษย์ต่อไปได้ ทั้งนี้ จะมีการตรวจสอบภูมิคุ้มกันของลิงหลังจากได้รับวัคซีนไปแล้ว 6 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าลิงยังคงมีแอนติบอดี้ต่อเชื้อโควิด19 อยู่หรือไม่ ซึ่งจะนำไปสู่ข้อสรุปว่าวัคซีนดังกล่าวนี้ สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ในระยะยาวได้เป็นผลสำเร็จ


ศ.นพ.ธีระวัฒน์  กล่าวว่า ผลการทดสอบวัคซีน จากใบยาสูบ  จากการทดลองในลิง ฉีดไป2เข็ม เมื่อดูจากเซลล์และน้ำเหลือง  พบว่าทั้งในหนูและลิงสามารถยับยั้งไวรัสได้สูงพอๆกับการทดลองที่มีการรายงานในต่างประเทศ  และวัคซีนดังกล่าวยังมีผลกระตุ้นระบบหน่วยความจำในร่างกาย เนื่องจากไวรัสโควิด เมื่อติดเชื้อจากร่างกาคนไปสู่อีกคน เช่น คนติดเชื้อคนแรกเป็นไวรัสเบอร์  1 แต่มีการติดเชื้อไปเรื่อยๆ จนถึงเบอร์ 15  ที่ถือว่าเป็นลูกหลานของไวรัสเบอร์แรก  ถ้าหน่วยความจำจำไม่ได้ วัคซีนก็จะไม่มีผลในการป้องกัน


"ถ้าวัคซีนไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่เป็นตัวยับยั้งไวรัส เหมือนกับเราได้พาสปอร์ต  แต่พบว่า ภูมิคุ้มกันนี้ อาจอยู่ในร่างกายไม่นานไม่กี่เดือน แล้วก็จะลดลง หรือไม่มีแล้ว  อันนี้ตรวจจากน้ำเหลืองได้ ถ้าภูมิคุ้มกันลดลง  ฉะนั้นก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อใหม่ได้  หน่วยความจำ จึงมีความสำคัญมากกว่าน้ำเหลือง เช่น ถ้าฉีดวัคซีนไปแล้ว 4 เดือนภูมิคุ้มกันลด  เมื่อได้รับเชื้อไวรัสใหม่ หน่วยความจำก็จะถูกปลุกขึ้นมา ต่อสู้กับไวรัสทันที  ซึ่งคุณสมบัตินี้มีในวัคซีนใบยาสูบที่เรากำลังทำวิจัย"


ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า  นอกจากนี้ การทดลองในคน ที่จะมีขึ้นกลางปี64 หรือในอีก 9เดือนข้างหน้าถือว่า สร้างโอกาสให้คนไทย เพราะขณะนี้  ทั่วโลกกำลังทดสอบวัคซีน แต่ไม่รู้ว่าปลอดภัยหรือไม่ และครอบคลุมพันธุกรรมไวรัสที่ผันแปรหรือไม่ เพราะไวรัสโควิด เมื่อเข้าตัวมนุษย์ และไปสู่อีกคนจะมีการผันแปรพันธุกรรมให้ไม่เหมือนเเดิม ถ้าวัคซีนโควิดจำลูกหลานตัวเองไม่ได้ ฉีดแล้วก็ไม่มีผลการในการป้องกัน    จูงมือเชื้อเข้าเซลล์  เม็ดเลือดขาวในคนก็จะถูกกระตุ้น ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ ตรงนี้ถือว่าอันตราย   ดังนั้น หน่วยความจำจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งพบว่าคนที่หายจากโควิด หลังจากนั้น60วันต่อมา แขนขาเกิดอัมพาต  ตากรอกไม่ได้ ซึ่งเกิดในต่างประเทศหลายราย และในไทย1ราย ตอนนี้รักษาอยู่ที่รพ.จุฬาฯส่วนสาเหตุที่ป่วยภายหลัง เพราะโควิด ส่งผ่านล่อลวงร่างกาย ให้คิดว่าเส้นประสาทเป็นเชื้อโรค จึงทำลาย เส้นประสาท ดังนั้น วัคซีนที่ผลิตออกมาจะต้องป้องกันตรงนี้ด้วย


"เพราะฉะนั้น การที่เรารอให้โลกผลิตวัคซีนออกมาก่อน แล้วค่อยทดลองในคนของเราในอีก 9เดือน ข้างหน้าถือว่าเป็นเรื่องดี เพื่อที่เราจะมีโอกาสพัฒนาวัคซีนได้เต็มที่ ดังนั้น ระหว่างนี้  ประเทศไทยจะต้องไม่มีการระบาด ถ้าระบาดเราคงไม่มีทางเลือก ที่่จะเข็นวัคซีนออกมา ซึ่งจะอันตรายต่อผลข้างเคียง เราจึงต้องรักษาไม่ให้การ์ดตก ต้องรักษาระยะห่าง "


 ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าวอีกว่า จากการลงพื้นที่สำรวจของ ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬา ฯ พบว่าคนไทยมีของดีในตัว ซึ่งต้องยอมรับว่าไทยมีการติดเชื้ออยู่ระดับหนึ่งโดยไม่มีอาการ  ทีมของจุฬาฯ ได้ติดตามผู้ติดเชื้อในต่างจังหวัดกลุ่มหนึ่งตั้งแต่เดือนเมษายน-เดือนกันยายน ซึ่งพบคนกลุ่มนี้ ว่ามีการติดเชื้อแต่ไม่ได้แสดงอาการ และเชื้อหายไปเอง  ซึ่งสันนิษฐานว่าคนไทยน่าจะมีของดีอยู่ในตัว หรือได้รับเชื้อโควิด มาตั้งแต่สมัยปู่ย่ามาก่อน พอได้รับเชื้อ เชื้่อไม่เข้าร่างกายหรือถูกทำลายไป 


" เรื่องนี้ เราไม่ได้มีพูดลอยๆ มีหลักฐานในพื้นที่หนึ่ง ซึ่งนักวิจัยต่างประเทศกำลังจับตา ว่าเรามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ เพราะว่าคนไทยไม่เหมือนยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ ฉะนั้น เรามีของดี จึงต้องรักษาของดีไว้" ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าว


ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล กล่าวว่า ทุกขั้นตอนของการพัฒนาวัคซีนเราได้วางแผนหารือร่วมกั สถาบันวัคซีนแห่งชาติ องค์กรอาหารและยา (อย.) และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อให้ได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง ตามมาตรฐานที่สามารถใช้เพื่อการวิจัยในมนุษย์ ระยะที่ 1 ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้หากแต่ในขั้นตอต่อไปนั้น ยังอยู่ระหว่างการเจรจจัดหาโรงงานผลิตวัคซีนที่ได้มาตรฐาน ซึ่งหากบรรลุข้อตกลงจะนำไปสู่การพัฒนาโรงานผลิตวัคซีนจากใบพืชแห่งแรกของประเทศไทยและอาเซียน"ขอได้รับความขอบคุณจากศูนย์สื่อสารองค์กรจุฬาๆ


ด้านผศ.ภญ.ดร.สุธีรา  กล่าวเสริมว่า การทดลองในมนุษย์ จะต้องมีการออกแบบวิธีการประเมินผล ซึ่งต้องหารือกับศ.นพ.ธีระวัฒน์ ซึ่งในช่วง 9เดือนนี้ จะต้องมีองค์ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับวัคซีนออกมาแน่ ซึ่งจุดที่เน้นในการทดลองคือความปลอดภัย  ส่วนการผลิตวัคซีนได้หารือกับทางไพล็อต แพลนท์ ของม.มหิดล ซึ่งหวังว่าสิ้นปีหน้าเราจะมีวัคซีนใช้เอง และแม้ว่าในระหว่างนี้ ที่เรายังทดลองไม่สำเร็จและในโลกมีวัคซีนออกมา เราก็จะยังเดินหน้าวิจัยต่อ เพราะเชื่อว่าคนทั้งโลก 6-7พันล้านมีความต้องการวัคซีน วัคซีนที่ประเทศอื่นผลิตอาจจะไม่มาถึงเรา


"วัคซีนจากใบยาสูบมีจุดแข็ง ตรงที่ใช้พืชที่ไม่มีการตัดแต่งพันธุกรรม การผลิตง่าย ด้วยการใส่พันธุกรรมไวรัส เพื่อให้พืชผลิตโปรตีนออกมาแล้วเราสกัดโปรตีนนั้น มาเป็นวัคซีน  เราเชี่ยวชาญด้านเกษตร สามารถปลูกพืชนี้ได้เป็นพันเป็นหมื่นต้นได้ จึงได้เปรียบไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ เราทำเองตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และสามารถผลิตได้มาก เพียงแค่ในพื้นที่ปลูก 50 ตามรางเมตร ก็สามารถผลิตวัคซีนได้ 1.5หมื่นโด๊ส ถึง 2แสนโด๊ส จึงมั่นใจว่าเราจะสามารถขยายการผลิตได้"ผศ.ภญ.ดร.สุธีรากล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"