11 ก.ย. 63 - นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว) กล่าวถึงกรณีที่ส.ส.ฝ่ายค้าน ยื่นญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมอีก 4 ญัตติว่า ตนไม่ทราบเจตนาของพรรคฝ่ายค้านที่ดำเนินการยื่นญัตติแยกรายประเด็นดังกล่าว ส่วนตัวเห็นว่าการกระทำดังกล่าวนั้นอาจทำให้เสียพลังต่อการลงมติเห็นด้วยต่อเนื้อหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้จากการฟังเสียงของส.ว.ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแก้ไขโดยลดอำนาจของส.ว.ในการโหวตนายกรัฐมนตรี ซึ่งตนเห็นด้วย ส่วนญัตติที่ตัดอำนาจของส.ว. ว่าด้วยการเสนอแนะ เร่งรัด และติดตามการปฏิรูปนั้น ไม่เห็นข้อดีหรือสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างแก้ไข หรือไม่แก้ไข และเป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนต้องแก้ไขหรือไม่
“แม้ญัตติที่รัฐสภาจะพิจารณาสามารถแยกลงมติตามญัตติได้ แต่จะทำให้พลังของการออกเสียงแตกแยกมากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับการเสนอแก้ไขเป็นญัตติเดียว ผมยืนยันในหลักการเดิม แต่เมื่อมีประเด็นใหม่เกิดขึ้น เชื่อว่า ส.ว.ต้องคุยกันในกลุ่มของตนเองมากขึ้น และเท่าที่ฟัง ส.ว.มีความเห็นเป็นอิสระ ดังนั้นต้องคิด วิเคราะห์ให้ดีก่อนจะมีความเห็นไปในทางใดทางหนึ่ง” นายวันชัย กล่าว
นายวันชัย กล่าวด้วยว่าสำหรับญัตติที่ยื่นให้แก้ไขมาตรา 279 ว่าด้วการรับรองความชอบธรรมตามกฎหมายของคำสั่งและประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นั้น อาจเป็นประเด็นขัดแย้ง จนกระทบต่อกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ เพราะการลงมติแก้ไขต้องอาศัยเสียงสนับสนุนของพรรคร่วมรัฐบาลด้วย ดังนั้นการแก้ไขมาตรา 279 เชื่อว่าจะเป็นการวางยุทธศาสตร์ของพรรคฝ่ายค้านที่ผิดพลาด เช่นเดียวกับที่ขอแก้ไขมาตรา 159 ที่กำหนดให้สภาฯ เห็นชอบบุคคลเป็นนายกฯ ตามบัญชีของพรรคการเมือง ซึ่งตนมองว่าต้องกำหนดไว้เพื่อไม่ให้เกิดวิกฤต
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |