11 ก.ย. 63 - ร.ท.หญิง สุณิสา ทิวากรดำรง รองโฆษกพรรคเพื่อไทย โพสต์เฟสบุ๊กแฟนเพจหมวดเจี๊ยบ Sunisa Divakorndamrong ตอนหนึ่งว่า แสดงความชื่นชม รายงานผลการศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เพิ่งมีการเสนอรายงานต่อสภาผู้แทนราษฏรเมื่อวันที่ 10 ก.ย 2563 โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญ ศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ 60 เนื้อหารายงานออกมาดีกว่าที่คิด เพราะไม่ได้มุ่งอวยรัฐบาล แต่กล้าพูดถึงปัญหาการใช้อำนาจเผด็จการของรัฐบาล ในหลาย ๆ เรื่องอย่างตรงไปตรงมา โดยเฉพาะประเด็นที่มาอันไม่ชอบธรรมของ สว. ที่สรรหาโดยคสช. ซึ่งในรายงานฉบับนี้ ระบุชัดเจนว่า เรื่องนี้เป็นต้นตอหนึ่งของความขัดแย้งในสังคม ทั้งนี้ ที่มาและอำนาจของสมาชิกวุฒิสภาชุดปัจจุบันขัดกับหลักประชาธิปไตยและทำลายหลักความเป็นกฎหมายสุงสุดของรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดปัญหาบ้านเมืองและเป็นการสร้างความไม่ชอบธรรมและทำให้เกิดการต่อต้านรัฐธรรมนูญ และยังระบุด้วยว่า สว. ชุดนี้ ไม่มีความเป็นกลาง แต่มุ่งรับใช้เป็นเครื่องมือของรัฐบาล และไม่ควร มีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ หากในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแต่ยังให้วุฒิสภามีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรีอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองได้ ซึ่งจะเห็นว่าผลการศึกษาดังกล่าวสอดคล้องกับเสียงเรียกร้องของคนส่วนใหญ่ในสังคม ซึ่งปรากฏในหน้าที่ 133,135 และ 136 ของรายงานเล่มหลักของคณะกรรมาธิการ
ในรายงานหน้า 125 ยังระบุว่า “กรรมาธิการจำนวนมากเห็นว่าควรตัดบทบัญญัติในเรื่องการปฏิรูปประเทศออกจากรัฐธรรมนูญ ในหมวดที่ 16 เพราะที่ผ่านมาไม่สามารถปฏิรูปประเทศได้จริง"ซึ่งในความคิดเห็นส่วนตัวของตน ถือเป็นการ ด้อยค่าเผด็จการ ในเชิงสัญญลักษณ์อย่างหนึ่งทีเดียว เพราะเป็นเจ้าของความคิดในการปฏิรูปประเทศ รวมทั้ง ไอเดียประเภทยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งจะบังคับให้ประชาชนทำตามโดยเขียนไว้เป็นกฎหมาย โดยไม่สนใจเสียงวิจารณ์ว่า เป็นแนวคิดที่เชยล้าหลังยิ่งกว่าไดโนเสาร์ เป็นต้น
ชื่นชมสปิริต ของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ทั้ง 49 ท่าน ที่ยอมให้รายงานเขียนออกมาอย่างตรงไปตรงมาได้มากขนาดนี้ เพราะต้องยอมรับว่า กรรมาธิการทุกคนไม่ได้คิดเหมือนกันทั้งหมด และมาจากพรรคหรือกลุ่มการเมืองที่มีจุดยืนแตกต่างกัน แต่ทุกท่านก็ยอมรับเสียงส่วนใหญ่ ทำให้หน้าตาของรายงานฉบับนี้ไม่ได้ขี้เหร่หรือเน้นอวยรัฐบาลจนเดินงามอย่างที่ใครๆ กลัวกันในตอนแรก
อย่างไรก็ตาม รายงานผลการศึกษาเรื่องแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการฯ ในครั้งนี้ ก็เป็นเพียงก้าวแรกของการแก้รัฐธรรมนูญ ด้วยการร่าง รธน. ใหม่ทั้งฉบับ โดย สสร. เท่านั้น ส่วนการตั้ง สสร. จะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ ต้องลุ้นในการประชุมสภา วันที่ 23-24 ก.ย. นี้ ซึ่งจะมีการพิจารณาญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร
แต่สิ่งที่สำคัญคือ รายงานฉบับนี้จะกลายเป็นคัมภีร์อ้างอิงของทุกฝ่ายในการออกแบบรัฐธรรมนูญในอนาคต เพราะมีความชอบธรรมในฐานะที่เป็นผลการศึกษาอันเกิดจากการระดมความคิดเห็นของทุกภาคส่วนในสังคม ตามกลไกของรัฐสภาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ประชาชนจึงควรไปหามาอ่าน เพราะรัฐธรรมนูญ คือ เข็มทิศของประเทศ และเป็นเรื่องที่คนไทยทุกคนควรรู้ เพราะเป็นผลประโยชน์ของพวกเราทุกคน ทั้งนี้รายงานผลการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไข รธน. 60 ดังกล่าว มีด้วยกัน 3 เล่ม ประกอบด้วย รายงานเล่มหลัก 1 เล่ม และภาคผนวกอีก 2 เล่ม รวมเป็น 3 เล่ม โดยความยาวรวมกันกว่าหนึ่งพันหน้า.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |