10 ก.ย.63 - เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า กล่าวถึงการทำหน้าที่ครั้งสุดท้ายในการเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ว่า ตนได้เขียนความคิดเห็นส่วนตัวโดยสังเขปเอาไว้ประมาณ 25 หน้าบางประเด็นตรงกับกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่บางประเด็นก็เห็นต่างกับกรรมาธิการส่วนใหญ่เช่น เรื่องหมวด 1 หมวด 2 ที่สามารถแก้ไขได้เพราะในบางกรณีในอดีตที่ผ่านมาก็ได้มีการแก้ไขแล้วหากมีการจำเป็นก็ต้องสามารถแก้ได้ , การสนับสนุนให้ประเทศไทยมีสภาเดียว , การลบล้างผลพวงรัฐประหาร , การแก้ไขที่มาขององค์กรอิสระและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ , เรื่องของการตรวจสอบถ่วงดุลขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ , การแก้ไขระบบกระบวนการนิติบัญญัติที่จะเพิ่มอำนาจให้กับสภามากขึ้น , การสร้างหน่วยงานใหม่ๆเช่น ผู้ตรวจการกองทัพ เป็นต้น ทั้งนี้ ถ้าหากมีโอกาสในวันนี้จะขออนุญาตขึ้นอภิปรายในสภาด้วย
สำหรับการการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรานั้น ตนมองว่าสามารถทำไปได้ทั้ง 2 แบบ พร้อมๆกัน แต่กว่าจะมีการทำประชามติ กว่าเลือกตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)จนได้รัฐธรรมนูญใหม่ที่สมบูรณ์ อาจจะทำให้รัฐบาลชุดนี้อยู่ครบ 4 ปี ดังนั้นระหว่างทางก่อนที่จะถึงวันนั้นก็สามารถแก้ไขรายมาตราได้โดยเฉพาะมาตราที่แก้ไขที่เป็นปัญหา เช่นมาตรา 279 ที่รับรองความชอบธรรมของประกาศ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) , การเลิกอำนาจของสมาชิกวุฒิสภา 250 คน ระบบการเลือกตั้งระบบพรรคการเมือง และปรับปรุงแก้ไขเรื่องการได้มาขององค์กรอิสระด้วย
นายปิยบุตร ยังกล่าวถึง ขอเสนอของกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ที่จะสามารถนำมาปรับในการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ว่า ตนมองว่าสภาเป็นตัวแทนของประชาชนและปฏิเสธไม่ได้ว่านักเรียน นิสิต นักศึกษาประชาชนจำนวนมากที่ชุมนุมกันทั่วประเทศ มีประเด็นเรื่องการปฏิรูปการศึกษาจำนวนมาก โดยเมื่อนอกสภาพูดแล้ว ในสภาในฐานะผู้แทนประชาชนเป็นสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องพูด ทั้งหมดไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองใดๆยังอยู่ในระบบการปกครองประชาธิปไตยตามกรอบกฎหมายในรัฐธรรมนูญ
ส่วนข้อครหาเรื่องของการที่ตนอยู่เบื้องหลังชุมนุมนักศึกษานั้น ตนยืนยันมาตลอดว่าตนสนับสนุนการชุมนุม แต่การที่บอกว่าตนไปบริหารจัดการผู้ชุมนุมเป็นการดูหมิ่นดูแคลนกลุ่มนักศึกษา ที่มีสิทธิ์ในการขับเคลื่อนการชุมนุมซึ่งมีบางเรื่องที่ตนเห็นด้วยและตนเห็นต่าง แต่สุดท้ายการชุมนุมก็เป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่อยากเห็นประเทศไทยเปลี่ยนไปในหลายเรื่องและขอให้มองเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติขออย่าปิดกั้นการแสดงออกของใคร อยากให้ทุกคนมองว่าเป็นความสวยงามในระบอบประชาธิปไตย ตนขอให้กำลังใจและยากให้พยายามมองว่านิสิตนักศึกษาเป็นตัวของตัวเองมีความรู้ มีเสรีภาพ มีสิทธิในการที่จะแสดงออกอย่าไปคิดว่าจะมีใครอยู่เบื้องหน้าเบื้องหลัง เพราะนักศึกษามีวิจารณญาณของตนเอง
สำหรับเรื่องมือที่สามของการชุมนุมนั้น ตนอยากให้มองว่าเมื่อมีมือที่สามแทนที่จะชี้นิ้วกล่าวโทษไปที่กลุ่มผู้ชุมนุม ต้องชี้นิ้วกล่าวโทษไปที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเพราะการชุมนุมเป็นสิทธิเสรีภาพเจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดความรุนแรงเพราะการแสดงออกเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชน ขออย่าสร้างสถานการณ์ให้ลุกลามบานปลาย
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า กล่าวถึงบทบาทหลังจากนี้ ว่า ตนเองจะอยู่ด้านนอกสภาจะขับเคลื่อนกับคณะก้าวหน้าต่อไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเลือกตั้งท้องถิ่นและเน้นเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะว่าในท้ายที่สุดสิ่งในสภาจะหันมาสนใจเรื่องแก้รัฐธรรมนูญอย่างจริงจังก็ต่อเมื่อนอกสภากดดัน
ส่วนเรื่องกระแสข่าวการทำรัฐประหาร นั้น ตนมองว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่สอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยแล้วยังเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ถูกต้อง ถ้าหากวันนี้จะหาทางออกให้กับการเมืองด้วยการรัฐประหารอีกรอบก็เป็นการผิดซ้ำซากอยากให้มองบทเรียนที่ผ่านมากว่ารัฐธรรมนูญจะปรับให้เป็นประชาธิปไตยได้ต้องเสียเลือดเนื้อมากน้อยแค่ไหนในเมื่อบทเรียนมีอยู่แล้วจะต้องเสียเลือดเนื้อทำไม และในวันนี้สมาชิกวุฒิสภาหลายคนก็ส่งสัญญาณมาแล้วว่าต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ และให้ความสำคัญเกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญ ส่วนถ้ามีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ตนและนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ยืนยันว่าจะออกไปต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างแน่นอน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |