9 ก.ย. 2563 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมว.ดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยถึง กรณีการประกาศเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เรื่องห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการในลักษณะการขายทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2563 เนื่องจากปัจจุบันมีวิฒนาการใช้เทคโนโลยีที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้ประกอบการและร้านค้าบางส่วนใช้ช่องทางในการซื้อขายผ่านออนไลน์มากขึ้น ทำให้ยากต่อการควบคุม ซึ่งขณะนี้กระบวนการดำเนินงานของกระทรวงหลังจากที่มีการออกกฏหมาย ห้ามขายเหล้า ขายเบียร์ ออนไลน์ เป็นผู้รับนโยบายโดยตรง ซึ่งต้นเรื่องของการออกกฏหมายนี้ กรมสรรพสามิต และยังไม่ได้หารืออย่างเป็นทางการกับกรมฯ
อย่างไรก็ตามจะมีการหารือถึงกระบวนการขั้นตอนหลังจากนี้กับกรมฯ ในสัปดาห์หน้า เนื่องจากมีผู้ประกอบการและประชาชนได้รับผลกระทบในวงกว้าง และได้รับความเดือดร้อน ทำให้กระทรวงดีอีเอส จะต้องมีการพูดคุยกับกรมฯ ในรายละเอียดถึงการกระทำรูปแบบไหนบ้างที่เข้าข่ายความผิดกฏหมายนี้
นางสาวปาณิสรา ปาลาศ ผู้ประกอบการร้านอาหาร และบาร์ เปิดเผยว่า กฏหมาย ที่ออกมาล่าสุดเกี่ยวกับการห้ามขายแอลกอฮอล์ออนไลน์ โดยใช้คำว่า “ห้ามผู้ใด” และใช้คำว่า “วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์” รวมถึงการตีขลุมคำว่า “การดำเนินการใดๆ ทั้งเชิญชวน เสนอขาย การขาย หรือการให้บริการ” เป็นการตัดแขนขา และกำจัดการทำธุรกิจของกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากปัจจุบันการติดต่อสื่อสารทั้งหมดถูกโยกไปอยู่บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หมดแล้ว การที่มาออกประกาศโดยใช้คำที่กว้างแบบนี้กลายเป็นว่าใครทำอะไรก็ผิดหมด
“ไม่ว่าจะ “ดำเนินการใดๆ” ก็คือเข้าข่ายผิดกฎหมายแล้ว แบบนี้เรียกว่าให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐมากจนเกิดขอบเขต ถอยหลังกลับไปใช้ระบบยี่ปั๊ว คนต้องเดินทางออกมาซื้อหน้าร้าน ทั้งที่ตามวิสัยของการซื้อสินค้าออนไลน์ ประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนมีการศึกษา ใช้วิธีการหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตก่อน และเสริชหาว่ามีเว็บไซต์ใดที่มีสินค้าดังกล่าว จึงจะเข้าไปสอบถาม ทำการซื้อ ซึ่งส่วนใหญ่การชำระเงินต้องผ่านบัตรเครดิตหรือโอนเงิน และรอสินค้า 3-5 วัน ซึ่งไม่ใช่วิสัยของการบอกว่าเพื่อป้องกันเยาวชนเข้าถึง เพราะที่ๆ เยาวชนเข้าถึงได้ทันทีและง่าย คือ ตามร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของชำ ยี่ปั๊ว ซาปั๊วในชุมชน”
ขณะเดียวกันกฏหมายดังกล่าว ยังไม่ชัดเจนถึงการกระทำความผิดและมีความไม่เข้าใจในหลายๆ กรณี เข้าข่ายการกระทำความผิดตามกฏหมายฉบับนี้หรือไม่ อาทิ กรณีร้านอาหารโพสต์เกี่ยวกับร้าน แต่ในร้านมีขายเครื่องดื่มด้วย เว็บไซต์ที่ถูกกฎหมาย ที่มีการซื้อขายตัดบัตรเครดิต มีถามอายุผู้ซื้อก่อน เป็นแพลทฟอร์มลักษณะเดียวกับการ Shopping Online จะผิดกฏหมายนี้ด้วยหรือไม่ เช่น Wishbeer.com ซึ่งพวกนี้จะมีสินค้า Limited บนหน้าเว็บไซต์ รวมถึงการทำงานของพนักงานขาย เช่น เซลส์เบียร์ ไวน์ พนักงานหน้าร้าน ที่ต้องพูดคุยกับลูกค้าผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกอย่าง และการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ เพื่อป้องกันการเข้าถึงของเยาวชน ทำได้ทั้งแบบอนุญาตเฉพาะตัดบัตรเครดิตเท่านั้น หรือชำระก่อน และวันรับสินค้าผู้รับต้องแสดงบัตรประชาชนว่าอายุเกิน 20 ปีก็ยังได้ รวมถึงยังมีเว็บไซต์บริษัทนำเข้า ต่างๆ ที่มีการแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์ เพื่อจัดจำหน่าย เข้าข่ายผิดกฏหมายหรือไม่
อย่างไรก็ตามการออกกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ ออกมาแบบคนที่ไม่มีความรู้ ไม่ศึกษาข้อมูลปัจจุบัน ถอยหลังลงคลอง และล้าหลังเข้าไปทุกวัน ถ้ารัฐอยากจะแทร็คหรือห้ามตามช่วงเวลาและอายุ การกำหนดให้ซื้อออนไลน์ จะยิ่งเป็นตัวแทร็คที่ทำได้ง่าย เพียงออกกฎมาก็เชื่อว่าผู้ประกอบการยินดีให้ความร่วมมือ แต่กับการสั่งห้ามล่าสุดที่ออกมา คือความบิดเบี้ยว ของการแก้ปัญหา ที่ไม่มีประเทศไหนในโลกที่บอกว่าตัวเองเป็นประเทศเสรีทำกัน
สำหรับผลกระทบขณะนี้ทางเราในฐานะผู้ประกอบการยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ขณะนี้ที่ทางร้านต้องปรึกษาทนาย และผู้มีความรู้ทางกฎหมายในการตีความราชกิจจาฯ ฉบับนี้ ว่าสรุปคนทำมาค้าขายทำได้แค่ไหน เพราะไม่เช่นนั้นก็จะผิดกฎหมายไปหมด อีกทั้งในฝั่งของผู้ที่ทำธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยตรงเช่น ผู้นำเข้า ธุรกิจค้าปลีก-ส่ง ที่ต้องมีการอัพเดทรายการสินค้า การให้ข้อมูลสินค้าแต่ละประเภทแต่ละชนิด บนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ก็จะไม่สามารถทำได้อีกต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |