สุริยะลุยปั้นอุตฯแปรรูปอาหารไทยฟื้นฟูเศรษฐกิจ พลิกวิกฤตโควิด-19


เพิ่มเพื่อน    

 

9 ก.ย. 2563 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (ปี 2562-2570) ตั้งเป้าหมายให้ไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารอนาคตของอาเซียน และเป็น 1 ใน 10 ของประเทศผู้ส่งออกอาหารของโลก ซึ่งปี 2563 กระทรวงมีงบประมาณขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปทั้งสิ้นกว่า 1,000 ล้านบาท ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจระดับฐานราก (Local Economy)

นอกจากนี้ ยังยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารสู่อาหารอนาคต รวมถึงเพิ่มมูลค่าการส่งออกอาหาร ก่อเกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารที่ไทยมีศักยภาพ เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้กระจายสู่ท้องถิ่น นำไปสู่ฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจของไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน

“คาดว่าภายใน 1 ปี รายได้เกษตรกรจะเพิ่มเป็น 53,000 บาท ต่อคนต่อปี ภายใน 5 ปี รายได้เกษตรกรจะเพิ่มเป็น 66,000 บาท ต่อคนต่อปี และภายในปี 2570 รายได้เกษตรกรจะเพิ่มเป็น 91,000 บาท ต่อคนต่อปี เพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมอุตสาหกรรมอาหารของไทยเป็น 1.42 ล้านล้านบาท สร้างรายได้ให้ธุรกิจเกี่ยวเนื่องเพิ่มขึ้น 4.5 ล้านล้านบาท ครอบคลุมผู้ประกอบการในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกว่า 7.6 ล้านราย และก่อให้เกิดการลงทุนใหม่ในอุตสาหกรรมอาหารภายในประเทศกว่า 4.8 แสนล้านบาท”

ทั้งนี้ เนื่องจากกระทรวงอุตสาหกรรมตั้งเป้าผลักดันอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักในการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย เนื่องจากมีศักยภาพในการขยายตัวท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และตอบสนองความต้องการทั่วโลกภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ (นิว นอร์มอล)

นายสุริยะ กล่าวเพิ่มเติมว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจึงเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปให้เกิดการกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจระดับฐานราก ซึ่งภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารของไทยในช่วงโควิด-19 ยังคงเติบโต เห็นได้จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร 6 เดือนแรกของปี 2563 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.5%

โดยผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารบางชนิดมีแนวโน้มดีขึ้น เช่น สินค้าอาหารแช่แข็ง อาหารกระป๋อง เนื่องจากเก็บรักษาไว้ได้นาน เนื่องจากมีความกังวลว่าจะเกิดการขาดแคลนอาหาร จึงมีการสำรองอาหารอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไทยถือเป็นประเทศที่มีวัตถุดิบทางการเกษตรหลากหลายและสมบูรณ์มากกว่าหลายประเทศ ประกอบกับไทยมีมาตรการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารไทย

ด้าน นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่าในส่วนการดำเนินงานด้านอาหาร ปัจจุบัน สศอ.ร่วมกับสถาบันอาหาร อยู่ระหว่างการจัดทำแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล เนื่องจากได้เล็งเห็นถึงศักยภาพและโอกาสของธุรกิจอาหารฮาลาล โดยอาหารฮาลาลเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เป้าหมายตามการแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 ปี (ปี 2562-2570)

ปัจจุบันไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารฮาลาล ลำดับที่ 10 ของโลก โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าฮาลาลโดยธรรมชาติ 80% เช่น ข้าวน้ำตาลทราย แป้งมันสำปะหลัง ผักผลไม้ ส่วนที่เหลือเป็นสินค้าฮาลาลที่ต้องผ่านการรับรองฮาลาล โดยเฉพาะกลุ่มเนื้อสัตว์และอาหารพร้อมรับประทาน ตลาดหลักในการส่งออกอาหารฮาลาลของไทยได้แก่ อาเซียน ตะวันออกกลาง และเอเชียใต้

สำหรับผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารฮาลาลที่สำคัญของไทย ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ขณะที่ธุรกิจผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) เริ่มขยายตลาดแต่ยังไม่เข้มแข็งมากนัก ซึ่งการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็งนี้เป็นหนึ่งในมาตรการภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารที่ สศอ. เร่งผลักดันอยู่

อย่างไรก็ตาม สศอ. จึงกำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพสินค้าฮาลาล รวมถึงปรับปรุงกลไกและกฎระเบียบเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาลให้ชัดเจน เพื่อให้สินค้าฮาลาลไทยเป็นที่ยอมรับและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"