มอเตอร์เวย์M7เชื่อมต่อการเดินทาง บูมอีอีซีหนุนสร้างรายได้ให้ประชาชน


เพิ่มเพื่อน    

     "มอเตอร์เวย์สาย 7 ส่วนต่อขยาย ช่วงพัทยา-มาบตาพุดนั้น เป็นเส้นทางคมนาคมใหม่ ที่จะช่วยลดระยะเวลาการเดินทางเชื่อมต่อเข้าสู่พื้นที่ของอีอีซี อีกทั้งยังเป็นโครงการที่เชื่อมต่อโครงข่ายการคมนาคมขนส่งในทุกระบบ ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางราง มีลักษณะเป็นทางหลวงพิเศษที่มีการควบคุมการเข้า-ออกอย่างสมบูรณ์ "

 

 

      แม้จะต้องเจอกับวิกฤติเชื้อไวรัสโควิด-19 ในทั่วโลกไทยเราก็เช่นกัน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะทำให้การก่อสร้างและการลงทุนหยุดชะงัก โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลยังคงเดินหน้าลุยก่อสร้างโครงการอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนให้เกิดการเดินหน้าทางเศรษฐกิจนั้น กระทรวงคมนาคมประกอบด้วย 4 มิติ คือ หน่วยงานทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางราง 

 

เร่งพัฒนาโครงข่ายคมนาคม

        โดยในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางบก ได้เร่งรัดการพัฒนาทำให้เกิดการเชื่อมโยงความเจริญสู่หมู่บ้าน ชุมชน เพื่อให้สามารถสัญจรได้สะดวก มีแผนการดำเนินการทั้งประเทศภายใต้งบประมาณกว่า 40,000 ล้านบาท เพื่อเชื่อมถนนของกรมทางหลวงชนบทเข้าสู่ถนนสายหลักของกรมทางหลวง และเชื่อมโยงแต่ละจังหวัดทั่วประเทศเข้าด้วยกัน

        พร้อมทั้งเร่งรัดโครงการขยายถนนพระรามที่ 2 ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 81 สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 6 ช่วงบางปะอิน-นครราชสีมา เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากเส้นทางดังกล่าวโดยเร็วที่สุด และในอนาคตกระทรวงมีแผนที่จะพัฒนาโครงข่ายร่วมกันระหว่างทางรถไฟกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองภายใต้กรอบแผนแม่บท MR-MAP (Motorways + Rails) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมในรูปแบบใหม่ที่จะเพิ่มความเชื่อมโยงภายในประเทศและภูมิภาคอาเซียน มีความปลอดภัยสูงขึ้น และลดภาระในการลงทุนของภาครัฐในระยะยาว

        ด้านการคมนาคมทางน้ำ ได้เร่งพัฒนาท่าเทียบเรือขนาดใหญ่และท่าเทียบเรือน้ำลึก รวมทั้งโครงการเชื่อมการเดินทางขนส่งระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน โดยเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะสร้างความเจริญให้กับประเทศ และทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน

 

        ส่วนทางระบบรางนั้น กระทรวงคมนาคมมีเป้าหมายในการขนส่งระบบรางของไทยส่งเสริมเศรษฐกิจ และกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค โดยการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ พัฒนารถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในตัวเมือง ผลักดันและเร่งรัดโครงการรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งการพัฒนาระบบรางจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของประเทศ และเชื่อมโยงการค้าการลงทุนกับต่างประเทศ

        สำหรับการคมนาคมทางอากาศนั้น จะช่วยได้เพิ่มขีดความสามารถการให้บริการของท่าอากาศยาน ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรด้านการบิน และผลักดันประเทศไทยให้เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานมาตรฐานสากล และยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง และส่งเสริมการค้าการลงทุน ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 โครงการปรับปรุงท่าอากาศยานภูมิภาคทั่วประเทศ การพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

        นอกจากนี้ ในด้านความปลอดภัย กระทรวงคมนาคมยังได้ร่วมกับสถาบันการศึกษา คิดค้นแท่งคอนกรีตหุ้มยางพารา หรือกันชนยางที่นำไปครอบบนแบริเออร์คอนกรีตป้องกันความรุนแรงจากอุบัติเหตุ รถยนต์เสียหายเฉพาะด้านชน ไม่พลิกคว่ำ และไม่มีการเหินของรถเหมือนแบริเออร์คอนกรีตแบบเดิม รวมถึงสร้างความปลอดภัยจากแรงปะทะได้เมื่อใช้ความเร็วรถ 120 กม./ชม. และได้คิดค้นเสาหลักนำทางจากยางพาราธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) ช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุจากการที่ผู้ใช้รถจักรยานยนต์เสียหลักไปชนเสานำทาง

        อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2563 ที่ผ่านมานั้น ล่าสุดกระทรวงคมนาคมได้รับเกียรติจาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดการให้บริการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 หรือมอเตอร์เวย์สาย 7 (สายกรุงเทพมหานคร-บ้านฉาง ส่วนต่อขยาย ช่วง พัทยา-มาบตาพุด)

        สำหรับมอเตอร์เวย์ M7 ถือเป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่เชื่อมโยงระบบการคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ตลอดจนเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว เขตส่งเสริมอุตสาหกรรม เขตพื้นที่ผลิตสินค้าการเกษตร และสินค้าประมงของประเทศ ซึ่งเป็นเส้นทางหลักที่มีความสำคัญต่อระบบคมนาคมขนส่งระหว่างภาคกลางและภาคตะวันออก โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่จะสามารถเชื่อมโยงไปสู่ประตูการค้าระหว่างประเทศ และยังพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจของภาคตะวันออก หรืออีอีซี ไปสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการคมนาคมขนส่งของประเทศและภูมิภาคอาเซียน และพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

        รวมทั้งเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญที่จะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยได้มีการวางแผนงบประมาณ การบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งจะต้องมีการจัดระเบียบการจ่ายงบประมาณ อีกทั้งยังต้องทำต่อเนื่องเชื่อมโยง และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ภาคธุรกิจ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรม และขยายโอกาสการค้าและการลงทุน กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น กระตุ้นการท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐานสากล เพิ่มความสะดวกรวดเร็วและลดระยะเวลาการเดินทาง ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตมากยิ่งขึ้น

        นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรม เติมเต็มโครงข่ายคมนาคมขนส่งในพื้นที่โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณรถมาใช้บริการไม่ต่ำกว่า 36,000 คันต่อวัน ลดเวลาการเดินทางจากมาบตาพุด-พัทยา ด้วยเวลาน้อยกว่า 30 นาที จึงเป็นถนนที่จะสร้างงาน สร้างรายได้ ทำเงิน ทำทอง ให้กับพี่น้องประชาชน

        ทั้งนี้ โครงการได้ออกแบบงานระบบตามมาตรฐานทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางแบบระบบปิด คิดอัตราค่าผ่านทางตามระยะทางที่ใช้จริง คาดจะเก็บค่าผ่านทางในช่วง ต.ค.2563 และในอนาคตสามารถพัฒนาสู่ระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) ตลอดสายทาง

        อย่างไรก็ตาม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน จึงได้มีการจัดสร้างจุดพักรถ พร้อมได้สั่งการให้ ทล.ไปศึกษารูปแบบจากประเทศเกาหลีใต้ โดยมีรูปแบบการก่อสร้างคร่อมมอเตอร์เวย์ และพื้นที่ด้านล่างทั้ง 2 ฝั่ง สามารถรองรับปริมาณผู้ใช้บริการได้อย่างเพียงพอ และประหยัดงบประมาณ ด้านการลงทุนนั้นจะให้สัมปทานเอกชนที่จะเข้ามาดำเนินการ พัฒนาศูนย์จำหน่ายสินค้าเพียงจุดเดียวสามารถใช้บริการได้ทั้งขาเข้าและขาออก

       

เชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา

      นอกจากนี้ กรมทางหลวงจะดำเนินการส่วนต่อขยายช่วงพัทยา-มาบตาพุด ไปถึงสนามบินอู่ตะเภา มีระยะทาง 3.5 กม.  เชื่อมต่อโดยตรงกับอาคารผู้โดยสาร ซึ่งคาดว่าจะมีผู้โดยสารที่จะใช้บริการได้เพิ่มเป็น 60 ล้านคนต่อปีในอนาคต รวมทั้งเติมเต็มโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) และเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านในอนาคตด้วย โดย ทล.จะใช้งบประมาณเพื่อนำมาศึกษาจากกองทุนมอเตอร์เวย์ประมาณ 40 ล้านบาท

        “เส้นทางดังกล่าว ในเบื้องต้นมีระยะทางประมาณ 3.5 กม. วงเงินลงทุนโครงการ 4,200 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 3,940 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดิน 260 ล้านบาท โดยพื้นที่บางส่วนเป็นของทหาร ซึ่งจะต้องไปดำเนินการขอใช้พื้นที่ และอีกส่วนจะเป็นพื้นที่โล่ง ทำการเกษตร ซึ่งจะต้องมีการเวนคืนในเขตทางเพิ่ม 40 เมตร อย่างไรก็ตาม คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะได้ข้อสรุปจำนวนพื้นที่ที่มีการเวนคืนทั้งหมด” นายศักดิ์สยามกล่า

        นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ในส่วนของผลการศึกษาคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2563 จากนั้นในปี 2564 จะสำรวจออกแบบรายละเอียด พร้อมศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และในปี 2565 จะดำเนินการเวนคืนที่ดิน และก่อสร้าง คาดแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี 2568

 

เชื่อมต่อบก-นำ-อากาศ-ราง

        นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า   โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 7 เป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเส้นทางแรก รองรับการคมนาคมขนส่งระหว่างกรุงเทพมหานครและภาคตะวันออกของประเทศไทย ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคตะวันออก และเชื่อมโยงการเดินทางและขนส่งสินค้าไปยังภูมิภาคต่างๆ สามารถเดินทางเข้าถึงแหล่งนิคมอุตสาหกรรม อาทิเช่น นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้  เป็นต้น ทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจไปยังภูมิภาคทั่วประเทศ

        "มอเตอร์เวย์สาย 7 ส่วนต่อขยาย ช่วงพัทยา-มาบตาพุดนั้น เป็นเส้นทางคมนาคมใหม่ที่จะช่วยลดระยะเวลาการเดินทางเชื่อมต่อเข้าสู่พื้นที่ของอีอีซี อีกทั้งยังเป็นโครงการที่เชื่อมต่อโครงข่ายการคมนาคมขนส่งในทุกระบบ ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางราง มีลักษณะเป็นทางหลวงพิเศษที่มีการควบคุมการเข้า-ออกอย่างสมบูรณ์"

หนุนใช้ยางพาราเพิ่มความปลอดภัย

        นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยังได้เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการนำร่องการนำยางพารามาใช้ เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน (คิกออฟ) แบ่งเป็นการใช้กำแพงคอนกรีตหุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติ (Rubber Fender Barrier : RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) สำหรับนำไปใช้บนถนนของกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ระยะเวลาดำเนินการปี 63-65

        สำหรับเส้นทาง ทล. 3249 ที่ได้นำร่องใช้กำแพงคอนกรีตหุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติดังกล่าวนั้น มีความพร้อมมากที่สุดเนื่องจากได้รับความร่วมมือจากสหกรณ์ชาวสวนยาง จ.จันทบุรี และถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยเส้นทางดังกล่าวนั้นมีประชาชนสัญจรเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นเส้นทางเชื่อมการท่องเที่ยวไปยังเขาคิชฌกูฏ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ซึ่งในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางจำนวนมาก ประกอบกับเป็นทางโค้ง และมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ส่งผลให้รถวิ่งข้ามเลน นำไปสู่ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน

        โดยในปี 63 ระยะแรกมีแผนใช้กำแพงคอนกรีตหุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติบริเวณถนนที่มีเกาะสีและเกาะร่อง ระยะทาง 200 กม. จากถนนที่มีอยู่ในแผน 3 ปี (63-65) รวมระยะทาง 1,029 กม. หลังจากการนำร่องที่ จ.จันทบุรี จะประเมินผลลดการเกิดอุบัติเหตุ ลดความรุนแรง เพราะช่วยกันกระแทกได้ดีขึ้น รวมทั้งเพิ่มมูลค่าการใช้ยางพาราได้หรือไม่ ก่อนจะขยายผลทำเพิ่มในเส้นทางดังกล่าวอีก 20 กม. และจะไปดำเนินการที่ จ.สตูล และ จ.บึงกาฬ ต่อไป เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีแหล่งผลิตยางพาราที่สำคัญ ตามแผนงานในปี 63 ทล. มีความต้องการใช้เสาหลักนำทาง 89,000-90,000 ต้น ขณะที่กำแพงคอนกรีตหุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติจะดำเนินการบนถนน 19 สายทาง 26 ช่วง ใน 13 จังหวัด.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"