6 ก.ย.63- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง Ban รัฐบาลแห่งชาติ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่าน “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล” (Social Media Voice) ด้วยระบบ Net Super Poll จำนวน 1,712 ตัวอย่างในโลกโซเชียล และ “เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม” (Traditional Voice) จำนวน 1,187 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 – 5 กันยายน ที่ผ่านมา
เมื่อถามถึงประเทศที่มีรัฐบาลแห่งชาติ นึกถึงประเทศอะไร พบว่า จำนวนมากที่สุดหรือร้อยละ 35.5 นึกถึงประเทศจีน รองลงมาคือร้อยละ 24.0 นึกถึงประเทศสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 17.2 นึกถึงรัสเซีย และร้อยละ 23.3 นึกถึงประเทศอื่นๆ โดยผลสำรวจพบด้วยว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.2 ระบุรัฐบาลแห่งชาติเป็นรัฐบาลที่มั่นคงมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 67.6 ระบุรัฐบาลแห่งชาติเป็นรัฐบาลที่จะมีความมั่งคั่งมากถึงมากที่สุด และร้อยละ 66.0 ระบุรัฐบาลแห่งชาติจะเป็นรัฐบาลที่ยั่งยืนมากถึงมากที่สุด อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่าจะเอารัฐบาลแห่งชาติหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.7 ระบุไม่เอา ในขณะที่ ร้อยละ 31.9 เอา และร้อยละ 3.4 ระบุอื่น ๆ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กล่าวด้วยว่า ผลการสำรวจ “เสียงประชาชนในโลกโซเชียล” (Social Media Voice) ผ่านระบบ Net Super Poll ในการศึกษาแนวโน้มความเคลื่อนไหว “สู้เป็นไท ถอยเป็นทาส” เปรียบเทียบกับ “ถ้าไม่สู้ก็อยู่อย่างทาส” พบข้อมูลกระแสในโลกโซเชียลที่น่าพิจารณาคือ กระแสตอบรับ ข้อความการเมือง ระหว่าง วาทกรรม ทั้งสอง มีความแตกต่างกันในหลายประเด็นที่ค้นพบในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ จำนวนกลุ่มผู้ใช้งานที่ค้นพบในความเคลื่อนไหวต่อข้อความการเมืองว่า ถ้าไม่สู้ก็อยู่อย่างทาส ที่เคยปั่นยอดสูงสุดในวันที่ 8 สิงหาคม มีมากถึง 12.4 ล้านผู้ใช้งาน แต่ข้อความการเมือง “สู้เป็นไท ถอยเป็นทาส” ที่เพิ่งรณรงค์ออกมาล่าสุดมีเพียง 1,684,542 ผู้ใช้งานในโลกโซเชียล แต่พบว่า มาจากประเทศไทยเพียงร้อยละ 11.6 หรือประมาณแสนกว่าคนเท่านั้นที่เหลือมาจากประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก เช่นเดียวกันในช่วงที่ปั่นกระแสยอดสูงสุดของข้อความการเมืองที่ว่า ถ้าไม่สู้ก็อยู่อย่างทาส อยู่ในประเทศไทยเพียงร้อยละ 11.3 เท่านั้น
นอกจากนี้ ช่องทางการใช้โซเชียลมีเดียสามอันดับแรกสำหรับข้อความการเมือง สู้เป็นไท ถอยเป็นทาส เปลี่ยนไปจากข้อความการเมืองที่ว่า ถ้าไม่สู้ก็อยู่อย่างทาส โดยพบว่า ข้อความการเมือง สู้เป็นไท ถอยเป็นทาส ใช้ Facebook มาเป็นอันดับแรกคือร้อยละ 39.4 รองลงมาคือ Twitter ร้อยละ 37.0 สำนักข่าวออนไลน์ ร้อยละ 10.9 ในขณะที่ ข้อความการเมือง ถ้าไม่สู้ก็อยู่อย่างทาส ใช้ Twitter มากถึงร้อยละ 77.3 รองลงมาคือ วิดีโอ ร้อยละ 11.3 และสำนักข่าวออนไลน์ร้อยละ 5.7 ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ ข้อความการเมือง สู้เป็นไท ถอยเป็นทาส พบว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.4 เป็นตัวบุคคลผู้ใช้งาน เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ข้อความการเมือง ถ้าไม่สู้ก็อยู่อย่างทาส พบผู้ใช้งานส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.6 เป็นองค์กร
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นความย้อนแย้ง (Paradox) ของประชาชนที่ไม่เอา (Ban) รัฐบาลแห่งชาติ ทั้ง ๆ ที่คิดว่าจะเป็นรัฐบาลที่มั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน แต่ประชาชนไม่เอาและทั้ง ๆ ที่เข้าใจไปว่าประเทศมหาอำนาจก็มีรัฐบาลแห่งชาติ แต่ประชาชนก็ไม่เอา เช่นกัน
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวด้วยว่า ข้อมูลในโลกโซเชียลก็พบเช่นกันว่า ประชาชนคนไทยที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกระแสข้อความการเมือง เช่น ถ้าไม่สู้ก็อยู่อย่างทาส และ ข้อความการเมืองที่ว่า สู้เป็นไท ถอยเป็นทาส ส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ มีในประเทศไทยเพียงร้อยละ 10 ต้น ๆ เท่านั้นของประชากรทั้งหมดที่พบความเคลื่อนไหวในโลกโซเชียล
ผอ.ซุเปอร์โพล กล่าวว่า ทำให้พบข้อสรุปประการหนึ่งคือ ไม่รู้ว่าประชาชนจะเอาอย่างไรแน่ เพราะฝ่ายปลุกปั่นกระแสให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็ใช้ทรัพยากรไปมากมาย ใช้เครื่องไม้เครื่องมือ ใช้เด็กนักเรียนนักศึกษาผู้บริสุทธิ์ไปก็ไม่น้อย แต่ผลลัพธ์ที่พบคือ ภาพไม่ชัดว่า ประชาชนจะไปทางไหนสักทางหนึ่ง ที่เดาใจประชาชนยากเพราะต่างคนต่างกำลังเดือดร้อนและทุกข์ยากจะก้าวไปข้างหน้ากับฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลที่กำลังขายฝัน ขายความหวังและมันจะดีหรือไม่ หรือจะอยู่กับรัฐบาลที่กำลังมีอาการแกว่งตัวสูง หรือว่าเลือกอยู่ตรงกลางรักษาตัวให้รอดไปวัน ๆ รออัศวินขี่ม้าขาวหรือซูเปอร์แมนที่มีทางแก้วิกฤติแต่ถ้าไม่มีพระเอกตนใดมาได้ก็น่าจะยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินใจน่าจะได้ผลดีเกินคาด.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |