ปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจทันสมัยพรรคประชาธิปัตย์ และประธานคณะกรรมการธุรกิจเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในงาน Startup Thailand x Innovation Thailand Expo 2020 ว่า เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยในมุมต่าง ๆ มากมายหลังจากเกิดโควิด-19 โดยก่อนเกิดโควิด-19 คนเริ่มพูดกันถึงเรื่อง Digital Transformation ทั้งภาครัฐภาคเอกชนหรือแม้แต่ระดับประเทศ แต่ที่ผ่านมายังไม่สามารถ Transform ตัวเองได้ เพราะไม่ว่าจะเป็น CEO (Chief Executive Officer) หรือ CTO (Chief Technology Officer) ก็ยังทำไม่สำเร็จ แต่เมื่อมาเจอ C : COVID-19 โควิด19 กลายเป็นตัวช่วยสร้างกระบวนการ Transformation องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนไปในทันที
การเกิดขึ้นของปรากฎการณ์ work from home (WFH) ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ไม่ชินมาก่อน ก็สามารถเกิดขึ้นได้และทำได้ดี การจัดอีเว้นท์งานต่าง ๆ ต้องจัดแบบ Virtual ออนไลน์อย่างงาน Startup Thailand x Innovation Thailand Expo 2020 นี้ ก็หันมาจัดแบบออนไลน์กลับเป็นผลดีทำให้คนสามารถเข้ามาดูได้นับหมื่น ๆ คน
ปริญญ์ กล่าวต่อด้วยว่า หลายธุรกิจกลับไม่ได้ตายไปกับโควิด-19 แต่กลับเติบโตเพราะโควิด-19 อาทิ ธุรกิจจัดส่งอาหารกลับเติบโตมากขึ้น หรือธุรกิจเกษตรที่ร้อยเอ็ดกับยโสธรกลับมีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นเพราะการขายออนไลน์ และยังทำให้เกิดการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาใช้ เช่น การใช้โดรนส่งสินค้าทำให้ไม่ต้องมาพบกันแต่ค้าขายได้ หรือการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบ Virtual เป็นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้ท่องเที่ยวได้เสมือนจริง เป็นที่น่าเสียดายว่าแม้จะมีการนำนวัตกรรมเข้ามาปรับใช้มากมายแต่กลับไม่ค่อยเห็นการเติบโตเท่าที่ควร เพราะติดปัญหาเรื่องกฎหมายทำให้เป็นอุปสรรค ทำให้นวัตกรรมไม่สามารถใช้ในประเทศไทยได้อย่างเต็มที่
Touchless Economy หรือเศรษฐกิจแบบไร้สัมผัส สิ่งเหล่านี้มาถึงไทยแล้วแต่ไม่ค่อยมีการปรับใช้มากเท่าที่ควรเหมือนอย่างจีนที่เริ่มทดลองใช้ระบบการเงินแบบดิจิทัลหยวน ไทยเพิ่งเริ่มต้นศึกษาทำดิจิทัลบาท ที่เห็นภาพ Touchless Economy ได้ชัดก็คือการทำธุรกรรมการเงินผ่านออนไลน์ในช่วงโควิด-19 ที่ใช้จ่ายเงินสดลดลง และผู้คนก็เริ่มหันมาใช้การโอนเงิน และทำธุรกรรมผ่านโมบายแบงก์กิ้งกันมากขึ้น คนไทยมีมือถือใช้กันเกือบทั้งประเทศ มีเทคโนโลยีที่เข้ามามากมาย เช่น Blockchain / AI / IOTs แต่น่าเสียดายว่าไม่เติบโตเท่าที่ควรจะเป็น ทั้ง ๆ ที่ต่อไปเทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเข้ามามีบทบาทในเรื่องการเงินมากขึ้น แม้แต่การปล่อยสินเชื่อเองก็จะใช้เรื่องโซเชียลเครดิตสกอร์โดยใช้บล็อกเชนเป็นตัวดูว่าคนนี้ควรได้รับสินเชื่อหรือเปล่า ข้อมูล (Data) จะมีมูลค่ามากขึ้น อยู่ที่ว่าใครจะนำข้อมูลมาจัดเก็บ วิเคราะห์ และเอาออกมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลก็ควรทำเหมือนกับสิงคโปร์ที่ใช้ระบบบล็อกเชนมาสร้างความโปร่งใสมากขึ้น ทำให้ได้การบริการหรือสินค้าคุณภาพในราคาที่ถูกกว่ารัฐต้องจ่ายอยู่ตอนนี้ ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรนำระบบนี้มาใช้เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลที่ดีขึ้น โควิด-19 จึงเป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนโลกช่วยต่อยอดให้ธุรกิจเอสเอ็มอีหรือสตาร์ทอัพไทยมีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตขึ้นได้ ถ้ารู้จักสร้างธุรกิจหรือต่อยอดธุรกิจ อย่าง เพนกวิน อีท ชาบู และ eventpop ที่เกือบไม่รอดเพราะโควิด แต่พอจับมือกันทำโปรโมชั่นขายสุกี้แถมหม้อชาบูผ่านอีเว้นท์ป็อป กลับเป็นเอสเอ็มอีที่ประสบความสําเร็จและถูกจับตามอง
“สุดท้ายสิ่งสำคัญที่จะทำให้เอสเอ็มอีหรือสตาร์ทอัพรอดจากโควิด-19 ได้คือ การสนับสนุนให้โอกาสพวกเขาได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกและเป็นธรรม มีหลายองค์กรต้องการสนับสนุนสตาร์ทอัพให้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้กับประเทศไทย แต่สตาร์ทอัพก็ประสบปัญหาเงินหมุนเวียน เพราะเครดิตที่ไม่เพียงพอ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเครดิตทางสังคม คุณค่าของตัวบุคคล และทรัพย์สินทางปัญญา (IP) มีค่าและสำคัญกว่าเครดิตที่เป็นตัวเงิน จนเกิดระบบการกู้ยืมแบบการไว้เนื้อเชื่อใจผ่านบล็อกเชน Trust ในลักษณะของ Peer to Peer (P2P) Lending ผมและทีมเศรษฐกิจทันสมัย พรรคประชาธิปัตย์ สนับสนุนการปรับลดกฎระเบียบและข้อจำกัดต่างๆเพื่อสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรมในอุตสาหกรรมการเงินและให้โอกาสประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกและสะดวกได้” นายปริญญ์กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |