ภาคปชช.ชูสังคายนากระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ กระจายอำนาจตร.ให้จังหวัด งานพิสูจน์หลักฐานสังกัดยธ. หลายฝ่ายเห็นพยานหลักฐานที่เกิดเหตุพร้อมกัน


เพิ่มเพื่อน    

5 ก.ย.63 -  Innocence International Thailand ร่วมกับสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (สป.ยธ.) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) มูลนิธิธรรมาภิบาลแห่งเอเชีย (AGF) และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนโยบายสาธารณะและธรรมาภิบาล เยอรมัน-อุษาคเนย์ (CPG)  จัดงานเสวนา “สังคายนากระบวนการยุติธรรม” ณ True Icon Hall.(7 Floor) Icon Siam Bangkok จากนั้นได้แถลงข่าวและแถลงการณ์ร่วมโดยมีมีรายละเอียดดังนี้ 

ปัจจุบันกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยโดยเฉพาะในชั้นการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานรวมทั้งการสั่งคดีของพนักงานอัยการและการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลตกอยู่สภาวะวิกฤติศรัทธาจากประชาชนอย่างร้ายแรง ส่งผลเสียหายต่อระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยหรือการปกครองโดยกฎหมายตลอดจนความมั่นคงของชาติอย่างร้ายแรง  จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขและปฏิรูปเป็นการเร่งด่วน หัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่การแก้ไขหรือปฏิรูปได้อย่างแท้จริงก็คือ  การยอมรับปัญหาและจุดอ่อนต่างๆ ในทุกขั้นตอนที่เป็นช่องว่างก่อให้เกิดการทุจริตของเจ้าพนักงานผู้รับผิดชอบรวมทั้งความผิดพลาดที่สร้างความเสียหายต่อรัฐและประชาชนทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดยนำมาวิเคราะห์วิพากษ์ในเวทีสาธารณะและเสนอให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขในสาระสำคัญที่จะส่งผลเป็นการปฏิรูปอย่างจริงจัง 

Innocence International Thailand จึงได้ร่วมกับสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (สป.ยธ.) สมาคมสิทธิเสรีภาพจองประชาชน (สสส.) มูลนิธิธรรมาภิบาลแห่งเอเชีย (AGF) และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนโยบายสาธารณะและธรรมาภิบาล เยอรมัน-อุษาคเนย์ (CPG)  กำหนดจัดงานเสวนา “สังคายนากระบวนการยุติธรรม” ขึ้นในวันเสาร์ที่ 5 กันยายน 2563 ระหว่างเวลา 08.30 – 17.00 น. ณ True Icon Hall.(7 Floor) Icon Siam Bangkokโดยได้ข้อสรุปจากการเสวนานำมาสู่แถลงการณ์ร่วมกันดังนี้ 

 1. สาเหตุที่กระบวนการยุติธรรมอาญาไทยในชั้นสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานการสั่งคดีของพนักงานอัยการ การพิจารณาและพิพากษาของศาลในหลายกรณีมีปัญหา ไม่สามารถสร้างความยุติธรรมอย่างแท้จริง  เนื่องจากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่ล้าหลัง ขาดความเป็นมาตรฐานสากลตั้งแต่ปี 2506 อำนาจสืบสวนสอบสวนที่เคยอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายปกครองซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนโดยเฉพาะในส่วนภูมิภาคตาม ป.วิ อาญาได้ถูกอำนาจเผด็จการยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ออกข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยให้กรมตำรวจซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติรับผิดชอบแต่เพียงหน่วยเดียวทั้งประเทศ ทำให้ขาดการตรวจสอบร่วมรู้เห็นการรวบรวมพยานหลักฐานจากฝ่ายปกครองคือผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ และขาดการตรวจสอบจากพนักงานอัยการผู้มีหน้าที่ตรวจสอบการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานอย่างสิ้นเชิง ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ทุจริตสามารถใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์จากยาเสพติดหรือธุรกิจผิดกฎหมายได้อย่างไร้การตรวจสอบ สามารถช่วยเหลือหรือละเว้นการดำเนินคดีผู้มีอิทธิพลหรือเจ้าหน้าที่ผู้ทุจริต หรือยัดข้อหาคนบริสุทธิ์โดยการบิดเบือนทำลายพยานหลักฐานข้อเท็จจริงในคดีได้ง่ายดายตามอำเภอใจ ทำให้กระบวนการยุติธรรมไทยอยู่ในสภาพ “คนชั่วลอยนวล คนดีเป็นแพะ” สำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งเป็นองค์กรที่มีการจัดโครงสร้างการบังคับบัญชาและระบบบริหารงานบุคคลแบบทหาร  แม้กระทั่งพนักงานสอบสวนและเจ้าพนักงานนิติวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในด้านกระบวนการยุติธรรมก็เป็นข้าราชการผู้มียศและวินัยการปกครองเช่นเดียวกับกองทัพที่มีความจำเป็นเพื่อออกคำสั่งบัญชาการรบเป็นหมวดหมู่ ทำให้เจ้าหน้าที่เกรงกลัวต่อการรังแกทางวินัยและจำยอมต่อคำสั่งที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรของผู้มียศสูงกว่า ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนในการรวบรวมพยานหลักฐานได้อย่างสุจริตเพื่ออำนวยความเป็นธรรมในสังคม 

 2  สภาพปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงในระดับที่เป็นการปฏิรูปทั้งระบบตำรวจและงานสืบสวนสอบสวนดังนี้ 

2.1 ปฏิรูปโครงสร้างภายในองค์กรตำรวจให้มีการกระจายอำนาจเป็นตำรวจท้องถิ่นระดับจังหวัดเพื่อให้ตำรวจมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อประชาชนและท้องถิ่นของตนเอง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายภายในจังหวัดและลงโทษทางวินัยตำรวจระดับหัวหน้าสถานีลงไปในจังหวัดด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการตำรวจจังหวัด สร้างหลักประกันมิให้มีการใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือเกินขอบเขต หรือมีพฤติกรรมทุจริตประพฤติมิชอบ รับส่วยสินบนจากสิ่งชั่วร้ายผิดกฎหมาย ทำลายสังคมแล้วเด้งเชือกโยกย้าย หนีไปหากินที่จังหวัดอื่นๆ ต่อไป  ประชาชนสามารถร้องเรียนปัญหาต่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ง่ายกว่ากองบัญชาการตำรวจภาค หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และป้องกันการส่งส่วยสินบนตามลำดับชั้น 

2.2 แยกสำนักงานพิสูจน์หลักฐานให้ไปสังกัดกระทรวงยุติธรรมเพื่อกำจัดการแทรกแซงบิดเบือนพยานหลักฐานจากฝ่ายตำรวจผู้บังคับบัญชาการสอบสวน เพื่อสร้างหลักประกันความเป็นอิสระ และปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานภายใต้การตรวจสอบของคณะกรรมการวิชาชีพ 

2.3 ปฏิรูประบบงานสอบสวนในเรื่องสำคัญโดยให้เจ้าพนักงานของรัฐหลายฝ่ายได้มีโอกาสรู้เห็นและรวบรวมพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุในคดีสำคัญพร้อมกันทันที โดยเฉพาะคดีฆาตกรรม ด้วยการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ อาญาว่าด้วยการสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนต้องรายงานเหตุอาชญากรรมทาง Electronic ให้ฝ่ายปกครอง ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ และอัยการทราบเพื่อตรวจสถานที่เกิดเหตุพร้อมกับแพทย์และพนักงานพิสูจน์หลักฐานป้องกันการดองคดีตามลำพังจนพยานหลักฐานสูญหายเพื่อช่วยเหลืออาชญากร 

2.4 แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ อาญา ให้อัยการมีอำนาจเข้าตรวจสอบหรือควบคุมเริ่มการสืบสวนสอบสวนคดีที่มีอัตราโทษจำคุกสิบปีขึ้นไป หรือกรณีที่มีการร้องเรียนว่าพนักงานสอบสวนไม่รับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษ  หรือการสอบสวนเป็นไปอย่างล่าช้าโดยไม่มีเหตุผลและให้อัยการมีอำนาจริเริ่มสอบสวนดำเนินคดีตำรวจที่กระทำผิดกฎหมายเพื่อป้องกันการสอบสวนทำลายพยานหลักฐานเพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่พวกเดียวกัน 

2.5 แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ อาญา เพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมใช้อำนาจโดยมิชอบละเมิดสิทธิมนุษยชนประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยให้ผู้จับกุมต้องแจ้งการจับบุคคลต่ออัยการเพื่อให้อัยการมาตรวจสอบการจับกุมที่ทำการของพนักงานสอบสวนทันทีเพื่อตรวจสอบพยานหลักฐานและคุ้มครองสิทธิ์ในชีวิตร่างกายและเสรีภาพของผู้ถูกจับได้ทันท่วงที นอกจากนี้การออกหมายเรียกบุคคลเป็นผู้ต้องหา หรือการเสนอศาลออกหมายจับและหมายขังบุคคลใดจะต้องได้รับความเห็นชอบจากอัยการเสียก่อนเพื่อป้องกันการจับและขังบุคคลที่อัยการอาจจะมีคำสั่งไม่ฟ้องโดยอัยการจะเห็นชอบการออกหมายจับและหมายขังก็ต่อเมื่อได้ตรวจสอบพยานหลักฐานจนมั่นใจว่ามีเหตุที่จำเป็นต้องจับและมีพยานหลักฐานหนักแน่นเพียงพอที่จะแจ้งข้อหาหรือเมื่อจับตัวบุคคลใดมาแล้วอัยการจะมีคำสั่งฟ้องคดีเพื่อพิสูจน์ความผิดให้ศาลลงโทษสอดคล้องกับมาตรฐานสากลโดยต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในการการจับและการสอบปากคำบุคคลด้วย 

2.6 แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ อาญา กำหนดว่า “กระทรวง ทบวง กรมที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายใด  ให้มีอำนาจสอบสวนความผิดนั้นด้วยโดยไม่ตัดอำนาจของพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจที่จะดำเนินการสอบสวนไปตามอำนาจหน้าที่ของตน” ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพงานรักษากฎหมายด้วยการกระจายอำนาจสอบสวนไปยังหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและมิให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติผูกขาดการสอบสวนริเริ่มคดีไว้แต่หน่วยเดียวที่ก่อให้เกิดปัญหามากมายในปัจจุบัน โดยทุกหน่วยงานสามารถดำเนินการสอบสวนความผิดตามกฎหมายเฉพาะทางซึ่งตนเป็นผู้รับผิดชอบและมีความรู้ความชำนาญมากกว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งสำนวนต่ออัยการได้โดยตรง 

2.7 กำหนดความผิดฐานบิดเบือนขัดขวางความยุติธรรมให้เป็นความผิดที่มีโทษทางอาญาในประมวลกฎหมายอาญาเพื่อลงโทษบุคคลใดๆ ที่กระทำที่เป็นการแทรกแซงบิดเบือนกระบวนการยุติธรรมให้ผิดไปจากความเป็นจริง 
 


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"