โจทย์สำคัญจากเสียงของเด็กๆ ที่สะท้อนไปยังครู พ่อแม่ ผู้ปกครองให้ใส่ใจการเรียนรู้ของบุตรหลานมากขึ้นในวิถีการเรียนรู้แบบใหม่ เพราะเด็กควรมีพัฒนาการตามวัย
สสส.ร่วมกับ Toolmorrow จัดงานเสวนา New Normal, New Education ทันการเรียนรู้ ชีวิตวิถีใหม่ โดยมีตัวแทนจากทั้ง 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายนักเรียน : ศศิณิภา ศรีบัวชุม (น้องขิม) นศ.คณะรัฐศาสตร์ (ภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แดนไท สุขกำเนิด (น้องแดนไท) นักออกแบบบอร์ดเกม ตัวแทนฝ่ายครู : ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล (อ.ฮูก) อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าที่เรือตรีธนวรรธน์ สุวรรณปาล (ครูทิว) ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กแฟนเพจ “ครูขอสอน” ตัวแทนฝ่ายปกครอง : อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ (สมิธ) นักจิตวิทยาเชิงบวก มิรา เวฬุภาค (คุณแม่บี) ผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์มเรียนรู้ออนไลน์ “MAPPA”
ประเด็นที่วิทยากรต่างหยิบยกนำมาพูดกันคือ การเรียนของลูกเป็นส่วนหนึ่งที่ผู้ปกครองให้ความสนใจ เพราะเป็นส่วนร่วมในเรื่องอัตลักษณ์การพัฒนาตัวตนในเด็ก เด็กแต่ละวัยต้องการความใส่ใจ การเรียนชีวิตไม่จำกัดเรื่องการเรียน วัยเด็กผู้ปกครองตระหนักว่าจะทำอย่างไรให้ลูกมีพัฒนาการปกติในแต่ละช่วงวัย เด็กควรรู้สึกว่ามีพื้นที่ Safe Zone ได้เรียนรู้ผ่านการสัมผัสกับพ่อแม่ รู้ว่าตรงไหนปลอดภัยและไม่ปลอดภัย เมื่อเด็กเข้าเรียนวัยประถมอยากเล่า อยากใช้ภาษา เมื่อย่างเข้าสู่มัธยมเรื่องที่คุยจะเปลี่ยนแปลง เป็นการเล่าเรื่องชีวิตเพื่อน ความฝันของเขาที่เป็นเรื่องราว เป็นการแลกเปลี่ยนในบริบทที่แตกต่างกันไป
การเป็นพ่อแม่เด็กต้องมีความใส่ใจลูกตัวเองด้วย แม้วันหนึ่งเมื่อลูกโตแล้วจะรู้สึกได้ถึงความใส่ใจสายสัมพันธ์ที่แม่มีต่อลูก เช่นเดียวกับเราเมื่ออยู่ในวัย 18 ปี ก็ยังรู้สึกที่สายสัมพันธ์อันดีกับพ่อแม่ ช่วงที่ใกล้ชิดกับลูกมากที่สุดคือวัยเด็ก เมื่อลูกเข้าโรงเรียนชั้นประถม พ่อแม่ต้องใช้สายตาสังเกตมองลูกว่าชอบอยู่กับอะไรนานๆ เพื่อจะได้พัฒนาในสิ่งที่เขาชอบ พ่อแม่ส่งเสริมด้วยการตั้งคำถามว่าสนใจจะเรียนรู้เพิ่มเติม แต่เมื่อลูกเข้าวัยมัธยม พ่อแม่จะปฏิบัติแบบเดิมๆ เหมือนที่เขาอยู่ในวัยประถมไม่ได้อีกแล้ว ลูกจะรู้สึกอึดอัด เขาอยากมีห้องส่วนตัว มีโลกของเขา ที่พ่อแม่ไม่ควรเข้าไปก้าวก่าย ลูกไม่อยากให้พ่อแม่เข้าไปควบคุมทุกอย่างในชีวิตของเขา ลูกอยากมีพื้นที่ส่วนตัว พ่อแม่จึงมีหน้าที่ support ลูกที่เติบโตขึ้น
พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องสนใจหรือใส่ใจกับลูกในช่วงวัยรุ่นเหมือนตอนที่เป็นเด็กๆ บ้านผมพ่อแม่คุยกับลูกตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงเวลานั่งรถไปไหนมาไหนด้วยกัน ในช่วงที่เรียนชั้นประถมเรียน รร.ปกติ ความที่บ้านอยู่ไกลจาก รร.ก็มีเวลาคุยกับพ่อแม่บนรถ ผมเรียนเก่งมาก แต่ผมไม่เห็นด้วยกับครูทุกอย่าง ครูพูดถึงวัฒนธรรม ความดีงามที่เติบโต ผมคิดว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของสังคม ส่วนใหญ่ประเด็นที่พูดคุยกันนั้นมีการตั้งหัวข้อมาถกเถียงกัน มีการเริ่มบทสนทนาด้วยการตั้งคำถามตั้งหัวข้อมาถกเถียงกัน
วิทยากรท่านหนึ่งนำเสนอว่า ผมเคยเจอปัญหาของเด็กที่ครูหลายท่านบอกว่าเปลี่ยนแปลงเขาไม่ได้แล้ว มันสุดมือเรา เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างนี้ เราจะปล่อยให้เขาเป็นอย่างนี้หรือ เรามีครูมีโรงเรียนไว้ทำไม แต่เราต้องไม่สิ้นหวัง ครูไม่รู้ว่ามีวิธีการอย่างไร ครูต้องปรับ mind set ให้เกิดการพัฒนาได้ การที่เด็กครอบครัวไม่พร้อม เรามีหน้าที่สร้างองค์ความรู้ประสบการณ์ การที่ผู้ปกครองไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร มีปัจจัยทางเศรษฐกิจ ภาระหน้าที่เราในฐานะครูต้องทำอย่างสุดความสามารถเพื่อจะสนับสนุนเด็กในวัยนี้
การที่พ่อแม่ผู้ปกครองเลี้ยงลูกในระหว่างทางเขาเจอปัญหาอะไรมาบ้าง เรียนหนังสือเกรดไม่ดี มีการดุด่า แต่ถ้าเรียนเกรดดี พ่อแม่ก็จะภาคภูมิใจ เรื่องอย่างนี้เราต้องพยายามพูดคุยและมีหัวข้อให้คิดตามตลอด เป็นบทบาทที่ครูจะต้องช่วย support ด้วย
ประเด็นที่หยิบยกนำมาเสนอคือ ในระบบการศึกษาบ้านเราครูเชิดชูเด็กเก่ง ทำให้เด็กเก่งได้รับโอกาส ในขณะที่เด็กที่ไม่มีความสามารถไม่เข้าระบบมาตรฐานจะเข้าไม่ถึงครู ครูชอบที่จะให้เด็กเป็นฝ่ายเข้าหาครู ด้วยเหตุนี้เด็กที่ไม่เก่งจะไม่เข้าหาครู และถูกกันออกไป ไม่ค่อยแสดงออก “ฉันไม่เก่ง ในสายตาครู ครูไม่สนใจ” เด็กเมื่อรู้สึกตัวเองไม่เก่ง นั่งหลบอยู่หลังห้อง ไม่ใช่อาจารย์ไม่เห็นเด็ก แต่บางทีเด็กก็ไม่อยากให้อาจารย์เห็นด้วย เพราะฉันไม่ได้เก่งตามมาตรฐานที่วางไว้ ไม่อยากเป็นที่สนใจ เพราะเราโง่ แต่โง่เป็นบางวิชา แต่เพื่อนบางคนโง่เกือบทุกวิชา
ในขณะที่อาจารย์มองว่าครูก็เป็นมนุษย์ปุถุชนคนหนึ่ง ต้องการให้นักเรียนมีส่วนร่วม เด็กมาพร้อมกับความคาดหวัง พ่อแม่สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับลูกเมื่ออยู่บ้าน ครูมีส่วนสำคัญทำให้เด็กเข้ามาหา เด็กทุกคนต้องการพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเขา การที่ครูแปะป้ายว่าเป็นเด็กหลังห้องทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจ การมีวาทกรรมในห้องเรียน การอยู่ร่วมกันในสังคมก็ต้องอยู่ที่มุมมองของครูด้วย
ครูให้อาหารทางปัญญา ถ่ายทอดความรู้ พ่อแม่เลี้ยงลูกในสังคมมีพัฒนาการการเปลี่ยนแปลง แต่ทุกวันนี้เด็กเข้าถึงความรู้ด้วยช่องทางต่างๆ ได้มากมาย การสอนเป็นการถ่ายทอดส่งเสริมการเรียนรู้ เด็กหน้าห้อง เด็กหลังห้องเป็นเรื่องของความหลากหลายด้วยประสบการณ์ที่ต่างกัน ทำอย่างไรที่จะออกแบบกระบวนการ ผมมีความเชื่อเรื่องการ share ห้องเรียนต้องมีความสัมพันธ์ในแนวราบ เด็กแชร์กันเอง เด็กเก่ง เด็กอ่อนแชร์ความรู้ด้วยกันได้ ครูที่ดีทำงานด้วยปาก หู และต้องมีความช่างสังเกต ไม่ใช่มาทำงานด้วยตาอย่างเดียว
ประสบการณ์คนเป็นแม่ แม่บีมีลูก 2 คน คนหนึ่งเป็นเด็กหน้าห้อง อีกคนหนึ่งเป็นเด็กหลังห้อง บ้านอยู่ในหมู่บ้านใกล้กับโรงเรียน ในหมู่บ้านมีครู เมื่อเด็กมาโรงเรียน ในฐานะคนเป็นแม่รู้สึกว่าเราจะช่วยเหลือเขาอย่างไร เด็กที่เรียนระดับปานกลาง เด็กมีพื้นที่หลบๆ เพื่อไม่ให้ครูเห็น จะปลอดภัยไม่ถูกตัดสิน เพราะเด็กรู้สึกไม่ชอบ เราไม่อยากถูกแปะป้ายว่าเป็นคนไม่โอเค การที่เราเป็นแม่ที่พัฒนาแล้ว อ่านตำรามาเยอะ การทำความเข้าใจลูกยังไม่พอ ต้องทำความรู้จักลูกจริงๆ
ในขณะที่แดนไทนำเสนอว่าผมเป็นเด็กเก่งที่นั่งหลังห้อง คอยกวนครู สนุกมากเป็นประสบการณ์ที่ดี ผมเคยคุยกับพ่อว่านักเรียนเป็นผู้บริโภค ครูว่านักเรียนไม่ได้ เพราะนักเรียนเป็นลูกค้า แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งทั้งครูและนักเรียนควรเป็นเพื่อนร่วมงาน เวลาทำงานร่วมกัน ชอบที่จะพูดคุยกับครูแม้อายุจะห่างกัน ในห้องเรียนมีการพูดคุยเพื่อจะเปลี่ยนมุมมองในการมองกันและกัน ครูมีสิทธิ์บอกนักเรียนให้เปลี่ยนมุมมองได้
ครูสะท้อนว่าการที่ครูใส่หมวกในความเป็นครูมองนักเรียนให้เป็นนักเรียน นักเรียนก็มีความเป็นมนุษย์ ต้องการเติบโตและได้รับการใส่ใจด้วย เด็กหลังห้องครูก็ต้องรับมือด้วยประสบการณ์บางอย่าง ในขณะที่เด็กหน้าห้องครูต้องการพื้นที่ปลอดภัย กลไกสมองในการอธิบายเรื่องนี้ ด้วยรูปแบบทำให้ครูสร้างบรรยากาศใหม่ๆ ในห้องเรียน ห้องเรียนต้องมีความเสมอภาคระหว่างครูและนักเรียน คนที่ขาดก็จะได้รับการเติมเต็มไปสู่เป้าหมายแบบเดียวกับคนที่ไม่ขาด เป็นบรรยากาศของการเปลี่ยนแปลงด้วยการใส่ใจให้มาก เป็นเทคโนโลยีในการสื่อสาร มองเห็นและรับฟังด้วย
ครูมีอำนาจตัดสินให้คุณให้โทษ ไม่ต้องลดอำนาจลง อยู่ที่ว่าเราจะใช้อำนาจอย่างไร ครูเป็นครูในห้องเรียน มีการแบ่งเด็ก เด็กเก่ง เด็กอ่อน ใช้อำนาจปกป้อง ร่วมรับฟัง ให้โอกาสร่วมตัดสินใจ การเรียนรู้ร่วมกันได้ มีการเลือกปฏิบัติ ต้องยอมรับว่าการที่ครูเอาผิดเด็ก ลดความเป็นครูแบบเดิมๆ แสดงความเป็นมนุษย์ให้มากขึ้น
นักศึกษานำเสนอว่า ชีวิตเด็กครึ่งหนึ่งอยู่ที่บ้าน อีกครึ่งหนึ่งอยู่ที่โรงเรียน พ่อแม่ผู้ปกครองทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การที่มีแม่อยู่ข้างๆ เมื่อเจอเรื่องร้ายๆ มีคนคอย support อยู่ข้างๆ ตลอดเวลาก็ทำให้รู้สึกอุ่นใจขึ้น ในขณะที่เด็ก homeschool เสนอว่าเด็กเรียนมีบุคลิกการแสดงออกเหมือนกับที่โรงเรียนและที่บ้าน ผู้ปกครองครูและนักเรียนเข้าใจกันได้ต้องมีการพูดคุยกัน รับฟัง เห็นภาพในทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่เข้าใจเฉพาะเด็กอยู่ที่ รร.หรืออยู่ที่บ้านเท่านั้น
อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ (สมิธ) : เด็กเป็นมนุษย์คนเดิม เมื่อเข้ามาอยู่ในโรงเรียน ไม่ได้ถอดความเป็นครอบครัวอยู่ที่บ้าน เด็กเดินเข้ามาในโรงเรียนจะแสดงบุคลิกที่แตกต่าง มีปัจจัยที่เป็นตัวเขา ไม่ได้เกิดการ Crash บางอย่าง การจัดการลำบากมากยิ่งขึ้น มีความคาดหวังกับตัวเอง มีการทะเลาะกับตัวเองตลอดเวลา คือเหตุผลหลักที่เด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต้องคุยกันด้วย พ่อเลี้ยงลูกแบบตามใจทำให้ลูกเข้าหาพ่อ แต่หลบแม่ จะเข้าหาแม่เมื่อมีความจำเป็นเพื่อเอาตัวรอด สิ่งเหล่านี้ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด พ่อกลายเป็นเพื่อน ลูกก็จะเล็ดลอดมาทางเพื่อน การทำงานของพ่อแม่ครูต้องร่วมมือกัน แม้จะมีบริบทที่แตกต่างกัน ในช่วงประถมครูจะมีความคาดหวัง เด็กจะคว้าพ่อแม่เพื่ออยู่ในพื้นที่ปลอดภัย เล่นกันได้คุยกันได้ ครูพูดอย่างไรพ่อแม่ก็คล้อยตาม เป็นการสื่อสารทางเดียว ไม่ได้เป็นการประชุมหารือ บางโรงเรียนจัดให้ครูและผู้ปกครองพบกัน 2 ครั้ง/ปี นอกนั้นพบกันทางออนไลน์ ส่วนใหญ่การประชุมผู้ปกครองก็เป็นเรื่องการแจ้งผลสอบ ควรจะมีการทำโครงการโรงเรียน ครอบครัวในเชิงบวกมากขึ้นด้วย เมื่อมีการประชุม ผู้ปกครองและครู เกิดแรงกดดันซึ่งกันและกัน ต่างคนก็ต่างไม่อยากเจอกัน เพราะมีเรื่องซองผ้าป่าพูดเรื่องนี้ครึ่งชั่วโมง เกิดความรู้สึกว่าแล้วฉันจะมาทำไม อัดวิดีโอมาให้ดูก็ได้ มาเจอกันในช่วงเวลาที่น้อยมากๆ ทำอย่างไรจะทำให้เวลาที่พบกันนั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ครูมักจะตั้งคำถามว่า เด็กอยู่ที่บ้านเป็นคนดีไหม อยู่ที่นี่เลวมาก คำถามเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นมา ครูไม่มีภาษาอื่นเหมือนกับพจนานุกรม จุดแข็งเชิงบวกของคนดีมี 24 แบบ เป็นเรื่องที่ต้องหยิบยกมาพูดคุยกัน ครอบครัว โรงเรียน มองในตัวลูกให้เหมือนกัน สะท้อนถึงแง่มุมและนำไปขยายตัว เพื่อส่องประกายแสงให้มากขึ้นด้วย โรงเรียนเชียงของวิทยาคมเป็น รร.นำร่องตัวอย่างในการสร้าง little star shining การมีส่วนร่วมของเด็ก ทำอย่างไรให้ครูกับพ่อแม่ทำงานได้ดียิ่งขึ้นด้วย
ว่าที่เรือตรีธนวรรธน์ สุวรรณปาล (ครูทิว) : บางโรงเรียนผู้ปกครองและครูพบกันปีละ 2 ครั้ง 4 ครั้ง ช่วงหลังๆ ที่พบกันก็เรื่องเก็บสตางค์ซองผ้าป่า รวมกับการประชุม มีการฟ้องกัน “ลูกคุณพ่ออยู่โรงเรียนไม่ตั้งใจเรียน” เมื่อทั้ง 2 ฝ่ายมาเจอกัน “ครูคะที่บ้านไม่ได้เป็นอย่างนี้นะคะ” “ครูช่วยบอกเขาหน่อยให้ช่วยแม่ทำงานบ้านบ้างนะคะ” สิ่งที่ควรทำผู้ปกครองกำหนดทิศทางให้เด็ก การที่เด็กอยู่บ้านส่วนใหญ่ก็เป็นการนอน เด็กอยู่ที่โรงเรียนทั้งวันเป็นการใช้ชีวิตวัยเรียนอยู่ที่โรงเรียน ถ้าชีวิตที่โรงเรียนไม่ดี ชีวิตทั้งหมดก็จะแย่ไปด้วย ดังนั้นโรงเรียนจึงเป็นความหวังของเด็กๆ สร้างพื้นที่เพื่อต่อยอดความหวังให้กับเด็กๆ ผู้ปกครองที่อาสาเป็นกรรมการก็รู้สึกกระอักกระอ่วนใจ ไม่ได้มี M-power เหมือนหนึ่งเป็นที่มาประชุมร่วมรับฟังให้เด็กมีส่วนร่วม เข้าใจในความแตกต่าง โครงสร้างห้องเรียนใหญ่เกินไป ทำให้ครูละเมียดละไมที่จะเข้าใจเด็กอย่างเท่าเทียมกัน
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายตำบลสุขภาวะ พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง พร้อมจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ อบต.คูหา อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา พร้อมเครือข่าย 15 ตำบล และ อบต.ลำพะยา อ.เมือง จ.ยะลา พร้อมเครือข่าย 15 ตำบล
น.ส.ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการแผนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) กล่าวว่า ศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชน (ศจค.) 2 แห่ง คือ เครือข่ายองค์การบริหารส่วนตำบลคูหา อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา และเครือข่ายองค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา อ.เมือง จ.ยะลา ครอบคลุม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความแตกต่างจากพื้นที่อื่น เพราะมีความเปราะบางทางการเมืองสูง สสส.และเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ จึงเสนอให้ 4 องค์กรหลักในพื้นที่ ได้แก่ 1.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 3.หน่วยงานรัฐในพื้นที่ และ 4.องค์กร ชุมชน และภาคประชาชน มีความแน่นแฟ้น ร่วมมือกันทำงานเพื่อชุมชน และคนในพื้นที่อย่างแท้จริง
ด้วยความเป็นพื้นที่ที่อ่อนไหวทางความคิด จึงอยากให้ทั้ง 4 องค์กรหลักร่วมกันทำงานในประเด็นที่ไม่ต้องปะทะกันทางความคิดและวัฒนธรรมมากนัก โดยเน้นไปในประเด็นเกษตรกรรมยั่งยืน อาหารปลอดภัย และการลดละเลิกบุหรี่ เป็นหลักการขับเคลื่อนเครือข่ายตำบลสุขภาวะในปี 2563-2564 จะมุ่งเน้นไปที่การสร้างพื้นที่ต้นแบบ Digital Life Society เนื่องจากปัจจุบันทิศทางและกระแสโลกมุ่งไปทางนั้นหมดแล้ว ชุมชนจึงต้องเชื่อมต่อกับความเป็นไปของโลกให้ได้ ซึ่งขณะนี้ได้นำร่องแล้ว 16 ตำบล ทั้ง 16 ตำบลจะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย รวมถึงให้ความสำคัญกับความสามารถในการปรับตัวหรือความสามารถในการฟื้นคืนสู่ปกติ (Resilience) ของชุมชน สสส.จึงอยากจะเน้นย้ำให้ชุมชนเตรียมแผนรับมือกับสิ่งต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งภาวะโลกร้อน ภัยแล้ง น้ำท่วม หรือโรคระบาด เพื่อลดผลกระทบที่ชาวบ้านจะได้รับให้น้อยที่สุด
นายปัญญา ศรีทองสุข นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คูหา อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา กล่าวว่า การได้ร่วมงานกับสำนัก 3 สสส. ทำให้ อบต.ทำงานเป็นระบบ มีการจัดทำฐานข้อมูลตำบลเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาอย่างตรงจุด ทำให้มองเห็นต้นทุนของชุมชนว่ามีอะไร ซึ่งพบว่า เรามีทุนทางภาคีเครือข่าย 4 องค์กรหลัก ได้แก่ ท้องที่ ท้องถิ่น หน่วยงาน และประชาชนที่พร้อมช่วยเหลือขับเคลื่อนการสร้างตำบลสุขภาวะร่วมกัน โดยเฉพาะชมรมผู้สูงอายุ สภาเด็กและเยาวชน ที่เป็นแกนขับเคลื่อนในภาคประชาชน ซึ่งทำให้เกิดหลายโครงการ เช่น กิจกรรมปลอดอบายมุข และยาเสพติด ซึ่ง อบต.เห็นความเข้มแข็งจึงเข้าไปจุดประกายให้สภาเด็กคิดเรื่องอื่นๆ ด้วย เพื่อให้เห็นว่า เยาวชนสามารถมีบทบาทและทำอะไรได้อีกหลายเรื่องโดยที่ผู้ใหญ่ให้การยอมรับ เริ่มจากโครงการขยะบุญ นำรายได้ไปช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ทั้งยังช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นด้วย
นายทนง ไหมเหลือง นายก อบต.ลำพะยา อ.เมือง จ.ยะลา กล่าวว่า ตำบลลำพะยาพร้อมขับเคลื่อนตำบลสุขภาวะ ในฐานะที่เป็นศูนย์จัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชน (ศจค.) และมี อบต.ลูกข่ายอีก 15 แห่ง เพื่อช่วยกันสร้างตำบลสุขภาวะให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน สำหรับ ต.ลำพะยา มีประชากรราว 3,000 คน นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 75 และอิสลามร้อยละ 25 ซึ่งเราเป็นชุมชนพี่น้องอันหนึ่งอันเดียวกัน มีกิจกรรมทำร่วมกันเสมอไม่ว่าจะศาสนาใดทุกคนก็จะไปช่วยกัน ไม่มีแบ่งแยก นี่คือจุดแข็งของพื้นที่ ต.ลำพะยา ทั้งนี้ ในพื้นที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลาย ดังนั้นจึงมุ่งเน้นการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการจัดการขยะ เพราะหากแหล่งท่องเที่ยวหรือชุมชนเต็มไปด้วยขยะ ชุมชนก็ไม่น่าอยู่ ไม่น่ามอง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |