ขณะนี้หลายคนคงเห็นว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้ากำลังเกิดขึ้นในหลายสาย ไม่ว่าจะสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี, สายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต, สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง หรือสายสีส้ม ตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ขณะที่การเปิดประมูลฝั่งตะวันตก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ ระยะทาง 35.9 กม. วงเงิน 142,789 ล้านบาท คาดว่าในเดือน ต.ค.นี้ จะเปิดประมูลหาผู้รับจ้างได้ และอีกหลายเส้นทางกำลังก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ
ซึ่งการก่อสร้างนั้นกระจายไปยังแทบทุกพื้นที่ของกรุงเทพฯ ทำให้ในช่วง 3-4 ปีนี้ ซึ่งหลายๆ คนก็ได้แต่หวังว่าหลังจากแล้วเสร็จ เชื่อจะช่วยให้การจราจรในหลายพื้นที่ซึ่งเคยเป็นอัมพาตก็คงจะดีขึ้น การเดินทางของประชาชนก็จะสะดวกสบายมากขึ้น
แต่ในทางกลับกันก็มีความกังวลว่า ค่าโดยสารจะแพงชนิดที่ว่าควักจนกระเป๋าฉีกก็ยังไม่พอ ดังนั้น เพื่อช่วยให้ประชาชนสามารถใช้รถไฟฟ้าได้อย่างไม่เดือดร้อนกระเป๋ามากนัก กระทรวงคมนาคมในฐานะที่เป็นผู้กำกับดูแลในด้านของการขนส่ง คมนาคมก็ได้คลอดโปรเจ็กต์ตั๋วร่วมออกมา นอกจากช่วยเหลือในด้านของอัตราค่าโดยสารที่ถูกแล้ว ยังลดความยุ่งยากในการใช้ตั่วใบเดียวเดินทางได้ทุกระบบ แต่จนแล้วจนรอด ตั๋วร่วมหรือบัตรแมงมุมยังไปไม่ถึงไหน สามารถใช้เพียงแค่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สีม่วง คือบัตร MRT plus เท่านั้นส่วนรถไฟฟ้าบีทีเอสหรือสายสีเขียว ยังไม่สามารถที่จะใช้ได้
และจากการติดตามความก้าวหน้าระบบตั๋วร่วมระยะเร่งด่วน ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมนั้นพบว่า การพัฒนาเป็นการใช้ข้ามระบบในสายสีน้ำเงิน สีม่วง และสีเขียวนั้น เจอภาวะโรคเลื่อนแล้วเลื่อนอีกจนล่าสุดก็เลื่อนอีก โดยกระทรวงคมนาคมได้ให้เหตุผลว่าการใช้ระบบตั๋วร่วม ขณะนี้ติดปัญหาด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยี เนื่องจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เกิดความล่าช้า โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ ในระยะแรกจะเร่งดำเนินการพัฒนาข้ามระบบเพื่อเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าของบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดินของเอ็มอาร์ที ปัจจุบันมีบัตรโดยสารของบีทีเอสจำนวน 1 ล้านใบ ส่วนบัตรโดยสารของ BEM จำนวนกว่า 2 แสนใบ และจะเร่งดำเนินการให้ทันภายในเดือน ต.ค.2563 ตั้งเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในปี 2563
หลังจากนั้นจะพัฒนาระบบใช้บัตรเดบิต วีซ่า โดยภาคธนาคารจะเข้าร่วมด้วย ซึ่งเป็นระบบเปิดกว้างที่สามารถให้ชาวต่างชาติที่เดินทางในไทยสามารถใช้บัตรดังกล่าวแตะกับระบบเพื่อเดินทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอส เอ็มอาร์ที เรือ แท็กซี่ ซึ่งระยะที่สองจะต้องใช้ระยะเวลาหารือเพื่อดำเนินการพอสมควร โดยจะเร่งดำเนินการในระยะแรกให้แล้วเสร็จก่อน
ซึ่งก็คงต้องมาดูกันต่อไปว่า ตั๋วร่วมนั้นจะสามารถเดินหน้าสามารถใช้ได้ตามที่กระทรวงคมนาคมได้ตั้งเป้าไว้หรือไม่ เพราะที่ผ่านมาก็มีเสียงแว่วดังกันมาอย่างหนาหูว่า ไม่ทันแน่ เนื่องจากบริษัทที่เป็นผู้พัฒนาระบบจากประเทศสิงคโปร์นั้น ไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ให้ไม่สามารถเดินทางไปทดสอบระบบในแล็บได้ ทำให้เกิดความล่าช้า
และคงต้องลุ้นตั่วร่วมจะคิกออฟใช้ได้ทันกำหนดไหม เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือและจูงใจให้เกิดการใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วงและน้ำเงินในราคาโปรโมชั่น จ่ายค่าโดยสารร่วมสูงสุดเพียง 48 บาท เดินทางได้ถึง 53 สถานี จากอัตราค่าโดยสารร่วมปกติคือ จ่ายสูงสุด 70 บาท จะสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2563 นี้ หลังจากนั้นถ้าไม่มีการขยายเวลาออกไปหรือไม่มีตั๋วร่วม บอกได้เลยกระเป๋าฉีกทันที
ดังนั้น หลังจากนี้ก็คงต้องวัดฝีไม้ลายมือเจ้ากระทรวงอย่าง ศักดิ์สยาม ชิดชอบ จะสามารถผลักดันให้ระบบตั๋วร่วมเกิดขึ้นสามารถเปิดให้ประชาชนได้ใช้บริการกันหรือไม่ เพราะในภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาอย่างนี้ หากประชาชนต้องมาแบกรับภาระค่าโดยสารที่แพงหูฉี่ ก็เหมือนกับซ้ำเติมเข้าไปอีก.
บุญช่วย ค้ายาดี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |