ถ้าปีหน้า กู้เต็มวงเงินแล้ว ยังไม่พอจะทำอย่างไร?


เพิ่มเพื่อน    

 

              ปีงบประมาณ 2564 จะเริ่ม 1 ตุลาคมปีนี้...สถานการณ์ “เงินสดในมือ” หรือ “เงินคงคลัง” จะมีภาพอย่างไรเมื่อโควิด-19 ยังไม่มีทีท่าจะสงบลงอย่างชัดเจน?

                คำตอบก็คือ สถานการณ์ยังน่าเป็นห่วง

                คำว่า “ถังแตก” ก็ยังจะคงหลอกหลอนประเทศไทยอยู่ โดยเฉพาะหากไม่มีการยกเครื่องการบริหารวิกฤติด้านการใช้จ่ายและการหาทางสร้างรายได้ให้เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

                ตัวเลขต่อไปนี้ควรที่ประชาชนจะต้องให้ความสนใจอย่างต่อเนื่องจากนี้ไป เพราะจะมีผลกระทบต่อชีวิตของคนไทยไปอีกยาวนานหลายปีก่อนที่สถานการณ์จะ “นิ่ง” ได้

                หนี้สาธารณะล่าสุด ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563 อยู่ที่ 7.4 ล้านล้านบาท

                ในจำนวนนี้หนี้ก้อนใหญ่ๆ มาจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 5.6 ล้านล้านบาท

                นั่นเท่ากับ 33% ของจีดีพีหรือผลผลิตมวลรวมของประเทศ

                หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่เรียกวา FIDF อยู่ที่ 7.48 แสนล้านบาท

                เท่ากับ 4.5% ของจีดีพี

                หนี้รัฐวิสาหกิจ 7.55 แสนล้านบาท เท่ากับ 4.5%

                ทั้งหมดนี้รวมเป็นหนี้สาธารณะสัดส่วนรวมที่ 44.76% ของจีดีพี

                ล่าสุดคณะรัฐมนตรีเพิ่งเห็นชอบปรับแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2563 ครั้งที่ 2 ปรับเพิ่มวงเงินกู้ของรัฐบาลให้กรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ 2.14 แสนล้านบาท

                ที่ต้องยกกรอบเงินกู้อย่างฉับพลันทันด่วนนั้น เพราะโควิด-19 ทำให้การเก็บภาษีรายได้เข้ารัฐมีปัญหาอย่างที่เห็นกันอยู่

                ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่า ถึงสิ้นปีงบประมาณ 63 ปลายเดือนนี้หนี้สาธารณะจะอยู่ที่ 51.64%

                มีคำอธิบายจากคุณแพตริเซีย มงคลวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ว่าวงเงินกู้ 2.14 แสนล้านบาทนี้ไม่จำเป็นต้องกู้เต็มวงเงินก็ได้

                ทั้งหมดนี้อยู่ที่ความสามารถในการบริหารเงิน

                พูดง่ายๆ ก็หมายถึงการบริหารรายได้และรายจ่ายนั่นแหละ

                คุณแพตริเซียบอกว่า ขณะนี้ได้กู้ชดเชยขาดดุลไปแล้ว 4.67 แสนล้านบาท

                หากกู้เต็มตามที่ขอไว้ คาดว่าเงินคงคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 63 จะอยู่ที่ประมาณ 4 แสนล้านบาท

                แต่ทั้งหมดนี้ต้องดูแนวโน้มการเบิกจ่ายในช่วงที่เหลือจากนี้ถึงสิ้นเดือนนี้

                ความจริงหากรัฐบาลบริหารเป็นก็น่าจะรู้ตั้งแต่ตอนนี้แล้วว่าการเบิกจ่ายจากนี้ไปถึงสิ้นเดือนจะเป็นเท่าไหร่

                ถ้ายังไม่รู้ และต้องรอกันสัปดาห์ต่อสัปดาห์ ก็แปลว่าไม่ได้บริหารอย่างมืออาชีพที่ควรจะเป็น

                ดูปีงบประมาณปี 64 ที่จะเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม จะเห็นว่ามีการตั้งงบขาดดุลไว้กว่า 6 แสนล้านบาท

                แต่นั่นเป็นการตั้งงบไว้ก่อนที่จะรู้ฤทธิ์อันร้ายแรงของโควิด-19 ที่ทำให้ธุรกิจขาดทุนหนักหน่วงและคนตกงานมากมาย จนภาษีที่เก็บหดหายไปอย่างมาก

                อะไรที่ประมาณการเอาไว้เรื่องรายได้ต้องปรับเปลี่ยนกันจ้าละหวั่น

                ที่ควบคุมและบริหารได้ก็ค่าใช้จ่าย

                นั่นขึ้นอยู่กับฝีมือและความกล้าหาญทางการเมืองของท่านนายกรัฐมนตรีจริงๆ

                คุณแพตริเซียบอก “ประชาชาติธุรกิจ” ว่าหากเกิดกรณีจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายมากเหมือนปีนี้อีก (ซึ่งก็มีแนวโน้มเช่นนั้น) ก็จะเหลือกรอบให้กู้กรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้อีกประมาณ 1 แสนล้านบาทเท่านั้น

                ถือว่าเหลือเพดานต่ำมาก

                มีคำถามว่า หากบวกลบคูณหารรายได้รายจ่ายแล้ว กรอบให้กู้ได้ 1 แสนล้านบาทไม่พอ จะทำอย่างไร

                ผู้อำนวยการ สบน.บอกว่า ก็อาจจะต้องออก “กฎหมายพิเศษ” เพื่อกู้เกินกว่ากรอบที่วางเอาไว้

                แต่หวังว่าจะไม่ต้องเข้าสู่เส้นทางนั้น เพราะการออกกฎหมายพิเศษควรจะเป็น “ทางเลือกสุดท้าย” จริงๆ

                อย่าได้ประมาท เพราะโควิดทำให้เราต้องคิดอะไรใหม่หมด

                อะไรที่เคยคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ไม่กลับกลายเป็นเรื่องที่ต้องคิดและหาทางออก

                ในรูปแบบที่ไม่เคยมีแบบอย่างหรือประสบการณ์มาก่อนจริงๆ

                แต่ที่เห็นชัดเจนว่าขาดประสิทธิภาพในการบริหารก็คือ แม้จะมีการกู้ 1 ล้านล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด แต่ถึงวันนี้ก็ยังเบิกจ่ายน้อยมาก

                ที่ควรจะใช้ก็ไม่ใช้ ที่ไม่ควรใช้ก็ฟุ่มเฟือย

                พรุ่งนี้ว่าต่อครับ.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"