2 ก.ย.63 - เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศ ระเบียบคณะกรรมการอัยการ "ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษทางวินัยสำหรับรองอัยการสูงสุด พ.ศ.2563" โดยมีรายละเอียดดังนี้
โดยที่เป็นการสมควรให้มีระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษทางวินัยสำหรับ "รองอัยการสูงสุด"
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 82 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการพ.ศ.2553 คณะกรรมการอัยการจึงออกระเบียบดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า“ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการทางวินัยและสั่งลงโทษทางวินัยสำหรับรองอัยการสูงสุดพ.ศ.2563”
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ในระเบียบนี้ “ก.อ.” หมายความว่า คณะกรรมการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
ข้อ 4 เมื่อมีผู้เสนอเรื่องต่อก.อ.กล่าวหารองอัยการสูงสุดว่ากระทำผิดวินัย ให้ก.อ.พิจารณาดำเนินการสอบสวนชั้นต้นเพื่อให้ได้ความจริงและเป็นธรรม โดยมิชักช้าการกล่าวหาดังต่อไปนี้ก.อ.อาจไม่ดำเนินการสอบสวนก็ได้
(1) การกล่าวหาเป็นบัตรสนเท่ห์ซึ่งไม่มีพยานหลักฐานแวดล้อมปรากฏชัดแจ้งตลอดจนไม่ชี้พยานบุคคลแน่นอนพอที่จะสอบสวนได้
(2)การกล่าวหาไม่มีข้อมูลหรือไม่มีสาระเพียงพอให้สอบสวนหาความจริงได้
(3)การกล่าวหาเรื่องการใช้ดุลพินิจในการสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่
ข้อ 5 ในกรณีที่ก.อ.พิจารณาเห็นว่าการกล่าวหานั้นเป็นกรณีที่จะดำเนินการสอบสวนได้ก.อ.อาจมอบหมายให้กรรมการอัยการคนหนึ่งคนใดหรือข้าราชการอัยการซึ่งมีอาวุโสไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหาหรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนชั้นต้นตามที่เห็นสมควรโดยประธานกรรมการต้องเป็นกรรมการอัยการหรือข้าราชการอัยการซึ่งมีอาวุโสไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหาเว้นแต่มีความจำเป็นจะแต่งตั้งกรรมการจากข้าราชการอัยการซึ่งมีอาวุโสต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหาก็ได้เป็นผู้ดำเนินการสอบสวนชั้นต้นแทน และให้กรรมการคนหนึ่งเป็นเลขานุการ
การสอบสวนชั้นต้นให้ดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนชั้นต้นกรณีข้าราชการอัยการถูกกล่าวหาหรือเป็นที่สงสัยว่ากระทำผิดวินัยและการรายงานผลการสอบสวนชั้นต้นที่ปรากฏว่ามีมูลเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงโดยอนุโลม
เมื่อ ก.อ.ได้รับรายงานผลการสอบสวนชั้นต้นแล้วเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหามิได้กระทำผิดวินัยหรือการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาไม่เป็นความผิดวินัยหรือไม่มีมูลให้มีมติยุติเรื่อง
ในกรณีที่ก.อ.เห็นว่ากระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงให้มีมติตามมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 ต่อไป
ข้อ 6 ในกรณีที่ผลการสอบสวนชั้นต้นปรากฏว่ามีมูลเป็นกรณีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ก.อ.แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนอย่างน้อยสามคนซึ่งมิใช่คณะกรรมการสอบสวนใน ข้อ5 เพื่อทำการสอบสวนโดยคณะกรรมการสอบสวนต้องเป็นกรรมการอัยการหรือข้าราชการอัยการที่มีอาวุโสไม่ต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหาเว้นแต่มีความจำเป็นจะแต่งตั้งกรรมการจากข้าราชการอัยการซึ่งมีอาวุโสต่ำกว่าผู้ถูกกล่าวหาก็ได้การสอบสวนให้ดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงข้าราชการอัยการโดยอนุโลม
ข้อ 7 ในกรณีที่ ก.อ. เห็นว่ารองอัยการสูงสุดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้มีมติลงโทษไล่ออก ปลดออกหรือให้ออกจากราชการแล้วแต่กรณี
ข้อ 8 ให้ก.อ.มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ 9 ให้ประธานก.อ.รักษาการตามระเบียบนี้บรรดาระเบียบข้อกำหนดประกาศและคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ประกาศ ณ วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2563
นายอรรถพล ใหญ่สว่าง ประธานคณะกรรมการอัยการ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |