'ผบ.สส.'โต้'สหรัฐ'ข้อมูลเก่า


เพิ่มเพื่อน    

    บิ๊กทหารฮึ่ม โต้กลับข้อมูลกระทรวงต่างประเทศสหรัฐขุดหนังเก่ามาทำรายงาน ว่าประเทศไทยมีการจำกัดเสรีภาพพลเมือง ย้ำหมดยุคปรับทัศนคตินานแล้ว ล็อกคอจับตัวผู้เห็นต่างแค่ช่วงแรกๆ หลังรัฐประหาร กสม.จี้รัฐบาลตอบกลับเรื่องสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่แค่รับทราบ  
    หลังจากกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา แถลงรายงานการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศต่างๆ 200 ประเทศทั่วโลกประจำปี 2560 โดยรายงานส่วนของประเทศไทย อ้างอิงข้อมูลปี 2559-2560 พบว่ายังมีการจำกัดเสรีภาพพลเมือง
     นางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวเรื่องนี้ว่า ทาง กสม.ได้ทำรายงานสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนปี 2560 และรายงานการปฏิบัติงานประจำปี 2560 ได้พบกรณีที่เกิดขึ้นคล้ายๆ กันนี้ เช่น กรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงใช้กำลังเกินกว่าเหตุ การวิสามัญฆาตกรรมที่เกิดขึ้นแล้วถูกเป็นประเด็นคำถามในระดับอาเซียนและระดับชาติ ซึ่งไทยยังไม่มีความชัดเจนเรื่องนี้ อาทิ กรณีนายชัยภูมิ ป่าแส เยาวชนลาหู่ ทั้งๆ ที่ในที่เกิดเหตุเป็นด่านทหาร และมีกล้องวงจรปิด แต่กลับไม่เป็นที่เปิดเผยกล้องวงจรปิดนั้นว่าที่สุดสถานการณ์ในที่เกิดเหตุเป็นอย่างไร เช่นเดียวกันกับนายชัยภูมิ นอกจากนี้ ยังมีกรณีของนายบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย ก็ยังไม่มีความคืบหน้าในการพิจารณาไต่สวนมา 4 ปีแล้ว สอดคล้องกับรายงานของสหรัฐ ที่ระบุว่ามีการวิสามัญฆาตกรรมเพิ่มขึ้น
    ผู้สื่อข่าวถามว่า ทาง กสม.จะทำหนังสือถึงรัฐบาลหรือ คสช.เพื่อทักท้วงหรือเสนอแนะอย่างไรหรือไม่ นางเตือนใจกล่าวว่า โดยกฎหมาย กสม.จะต้องทำรายงานส่งให้กับคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อเปิดเผยสู่สาธารณะ แต่ คสช.ไม่ใช่องค์กรที่ กสม.จะต้องรายงาน แต่เชื่อได้ว่า คสช.คงทราบข้อมูล อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.60 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงว่า เมื่อ กสม.ทำรายงานการตรวจสอบเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเสนอมาตรการทางนโยบายและกฎหมายให้คณะรัฐมนตรีแล้ว คณะรัฐมนตรีจะต้องแจ้งกลับมาที่ กสม.
    นางเตือนใจกล่าวว่า แต่ล่าสุดการประชุม 2-3 สัปดาห์ คณะรัฐมนตรีแจ้งกลับมา กสม.เพียงว่า รับทราบเท่านั้น ไม่มีการตอบในรายละเอียดว่าจากข้อเสนอดังกล่าวหน่วยงานได้นำไปปฏิบัติอย่างไร หน่วยงานปฏิบัติได้หรือไม่ได้ ดังนั้น ทาง กสม.จึงมีมติให้ทำหนังสือไปที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง เพื่อแจ้งว่าไม่ใช่แค่ตอบมาว่ารับทราบ แต่ต้องชี้แจงกลับมาด้วย
    นางเตือนใจยังกล่าวถึงกรณีที่ในรายงานระบุว่า ยังมีการละเมิดสิทธิโดนการจับกุมผู้เห็นต่างทางการเมืองว่า เรื่องนี้มีการร้องเรียนเข้ามาที่ กสม.เช่นกัน ซึ่งเดิมอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง โดยนางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการ กสม. เป็นผู้รับผิดชอบ แต่เมื่อมีการประกาศใช้ พ.ร.ป.ว่าด้วย กสม. อนุกรรมการชุดนี้ก็หมดหน้าที่ไปโดยปริยาย 
    “มีความชัดเจนเรื่องการจับกุมผู้เห็นต่างทางการเมืองที่เกิดขึ้นจนถึง 30 ก.ย.60 และเป็นการรายงานผลการปฏิบัติงานถึงสิ้นปี 60 เนื่องจากกรณีของไผ่ ดาวดิน เป็นกรณีที่มีการร้องเรียนเข้ามาใน กสม. อย่างไรก็ตาม ครม.จะต้องนำรายงานของ กสม.ไปพิจารณาแล้วตอบกลับมาที่ กสม. ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย” นางเตือนใจกล่าว
    อย่างไรก็ตาม พล.อ.ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) ในฐานะสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า โดยเฉพาะกรณีรายงานของสหรัฐอเมริกา มีการตำหนิรัฐบาล คสช.ละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการเชิญตัว คนคิดต่างเข้าค่ายทหารว่า ปกติการเชิญตัวคนคิดต่างนั้น เราแค่เชิญไปพูดคุยทำความเข้าใจ ซึ่งไม่ได้ไปทำร้าย หรือใช้ความรุนแรงอะไร ที่สำคัญหากพิจารณาสถานการณ์ในปัจจุบัน จะพบว่า คสช.และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติต่อผู้เห็นต่างในการเชิญมาพูดคุยอย่างนุ่มนวล  เป็นการทำความเข้าใจเท่านั้น
    "การล็อกคอ จับตัวผู้เห็นต่างมา อาจจะเคยเกิดขึ้นในอดีตช่วงแรกๆ ที่ คสช.เข้ามาเท่านั้น ที่ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น เพื่อให้เกิดความสงบ แต่ก็ไม่เคยไปทำร้ายใคร และตอนนี้ คสช.ก็ไม่ได้ทำแล้ว อีกทั้งมุมมองเรื่องสิทธิมนุษยชนยังขึ้นอยู่กับคำที่ใช้เรียก และช่วงเวลาที่ประเมิน ทั้งนี้ ที่มีการประเมินออกมาดังกล่าว น่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต เพราะในปัจจุบัน คสช.ไม่ได้ไปลิดรอนสิทธิ์แบบนั้น เราใช้การเชิญมาพูดคุย ทำความเข้าใจ และในระยะหลังๆ นี้ จะเห็นได้ว่า คสช.ก็ไม่ได้กระทำการในลักษณะนั้น ไม่ค่อยมีการเชิญมาปรับทัศนคติแล้ว" พล.อ.ธารไชยยันต์  กล่าว
    พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเช่นกันว่า เป็นเรื่องขององค์กรแต่ละประเทศที่จะคิดอย่างไร เราห้ามไม่ได้ แต่รัฐบาลยืนยันว่าสิ่งที่เราทำในปัจจุบันนี้ทำตามข้อกฎหมาย กรณีที่ระบุว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดสิทธิเสรีภาพ เช่นการเคลื่อนไหวหรืออะไรก็ตาม คงต้องไปดูในรายละเอียดว่าบุคคลที่เจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการตามกฎหมายนั้น เป็นผู้ที่กระทำผิดตามกฎหมาย ต้องแยกแยะออกจากกันระหว่างสิทธิเสรีภาพกับการทำผิดกฎหมาย ไม่ได้หมายความว่าใครจะทำอะไรก็ได้ที่เป็นสิทธิและเสรีภาพ แต่ต้องคำนึงด้วยว่าสิ่งที่ทำแล้วบอกว่าเป็นสิทธิเสรีภาพขัดหลักกฎหมายหรือไม่ เพราะถ้าขัดกับหลักกฎหมายก็ทำไม่ได้ แล้วไม่ใช่ว่ากฎกติกานี้จะใช้ที่ประเทศไทยประเทศเดียว แต่ใช้ทุกประเทศในโลก รัฐบาลยืนยันว่าสิ่งที่ดำเนินการไปเป็นการดำเนินการตามข้อกฎหมาย รัฐบาลและ คสช.ไม่เคยใช้อำนาจตามมาตรา 44 ในการดำเนินคดีกับใคร ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นการนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แล้วนำเข้าสู่กฎหมายปกติเป็นผู้พิจารณาว่าถูกหรือผิด ถ้าผิดต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย แต่ถ้าไม่ผิดคือไม่ผิด 
    เมื่อถามถึงกรณีที่ถูกระบุว่ามีการจำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อออนไลน์ พล.ท.สรรเสริญย้อนถามว่า มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพสื่อออนไลน์ตรงไหนหรือ ทั้งหมดเป็นข้อกฎหมายทั้งนั้น คนที่ถูกดำเนินคดีคือคนที่ปล่อยข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าไปในโลกโซเชียลฯ เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นคนนั้นคนนี้ อยู่ในหลักการกฎหมายเช่นกัน หากเกิดข้อมูลอันเป็นเท็จแล้วเจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินคดีจะไม่เกิดความสับสนวุ่นวายในบ้านเมืองอย่างนั้นหรือ  อะไรจริง อะไรใส่ร้ายป้ายสี ใส่ความเท็จกันไปเรื่อย เป็นการปล่อยข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่คอมพิวเตอร์ บ้านเรามีการออก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์กันมาแล้ว ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมืองลองย้อนกลับไปดูว่าแต่ละคนเป็นคนหน้าเดิมและมีนัยอยู่ด้วยทั้งสิ้น.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"