ใช้ชีวิตวัยเกษียณอย่างมีสุข อย่าลืมปฏิบัติตามหลัก 3 อ.


เพิ่มเพื่อน    

(เพื่อให้พ่อแม่มีความสุขช่วงวัยเกษียณ ลูกหลานควรพาผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ)

    หนึ่งคำถามที่ผุดขึ้นท่ามกลางสังคมไทยที่กำลังจะก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างเต็มตัวในอีกไม่กี่ปี อย่าง “การเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุขจะต้องทำอย่างไร??” เพราะเมื่อเลี่ยงตัวเลขของอายุที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนความเสื่อมของร่างกายไม่ได้ ดังนั้นการใช้ชีวิตอยู่อย่างไม่เป็นทุกข์ถือเป็นมุมมองที่น่าสนใจ เพราะเมื่อไรก็ตามที่เราเข้าสู่วัยชราอย่างภาคภูมิใจ แน่นอนว่าชีวิตก็จะยืนยาว โดยที่คุณตาคุณยายสามารถอยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้กับลูกหลานได้แบบยาวๆ 

( พญ.พลอยลดา ธนาไพศาลวรกุล)

    พญ.พลอยลดา ธนาไพศาลวรกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและเวชศาสตร์ชะลอวัย ให้ความรู้ว่า “การใช้ชีวิตให้มีความสุขเมื่ออายุมากขึ้น หมอแนะนำว่าต้องดูแลสุขภาพแบบองค์รวม 3 ประการ เริ่มที่ “อวัยวะ” ซึ่งถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญมาก เพราะหากผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ทุกอย่างก็จะดีตามไปด้วย ทั้งนี้ ลูกหลานควรหมั่นพาคุณพ่อคุณแม่ไปตรวจสุขภาพเพื่อตรวจหาโรคเรื้อรังอย่าง โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน ฯลฯ ซึ่งหากพบว่าผู้สูงวัยไม่ได้ป่วยเป็นโรคก็ให้ไปตรวจสุขภาพ 8 เดือน-1 ปีครั้ง แต่ถ้าหากท่านมีโรคประจำตัวทุกๆ 2-3 เดือนก็ต้องไปพบแพทย์ หรือไปหาคุณหมอตามนัด เพราะอย่าลืมว่าผู้สูงอายุทั่วๆ ไปมักจะมีอาการป่วยโรคเกี่ยวกับดวงตา อาทิ ต้อหิน, ต้อลม หรือแม้แต่โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่กล่าวมา การตรวจสุขภาพประจำปีและการไปพบแพทย์ตามนัดจึงถือเป็นเรื่องสำคัญมากค่ะ

(หากผู้สูงอายุมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียว ให้ลูกหลานเข้าไปพูดคุยและชวนทำกิจกรรมคลายเครียด เช่น ออกกำลังกายร่วมกัน หรือพาท่านไปเข้าชมรมผู้สูงอายุ)

    รองลงมาคือ “อารมณ์” เป็นปัจจัยที่สำคัญ เพราะหากผู้สูงอายุมีภาวะหงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย อาจกระทบต่อจิตใจ และทำให้เกิดโรคทางจิตประสาทได้ ลูกหลานควรหมั่นสังเกตว่าคุณพ่อแม่กำลังเครียดอยู่หรือไม่ และถ้าหากพบอาการดังกล่าวก็ให้ร่วมกันหาสาเหตุโดยการถามไถ่ หรือชวนท่านออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยเพื่อช่วยคลายเครียด หรือหากอาการหงุดหงิดยังไม่ทุเลาลง ก็ควรพาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับประทานยาในการปรับอารมณ์ เป็นต้น ที่สำคัญหากสภาพแวดล้อมในบ้านไม่ปลอดภัย ซึ่งเอื้ออำนวยให้ผู้สูงอายุประสบอุบัติเหตุ เช่น อาการหกล้ม, เดินสะดุด กระทั่งให้ท่านรู้สึกโกรธหรือโมโห ลูกหลานก็ต้องรีบปรับปรุงภายในบ้านให้มีความปลอดภัย เช่น เก็บของให้ระเบียบ ป้องกันท่านเดินสะดุดและหกล้มกระดูกหัก กระทั่งการติดไฟที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยในการมองเห็นยามค่ำคืน เป็นต้น 

    ในส่วนของผู้สูงอายุที่ต้องอยู่เพียงลำพัง หรือบ้านไหนที่ลูกหลานต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ซึ่งอาจทำให้ท่านรู้สึกเหงาและว้าเหว่ หมอแนะนำให้ลองหาเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ โดยการแนะนำให้คุณแม่คุณพ่อรู้จัก เพื่อสร้างสังคมเพื่อนวัยเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อนำไปสู่การชักชวนกันเข้าชมรมผู้สูงอายุ เช่น สภากาชาดไทย ที่จัดตั้งชมรมนี้ขึ้น ซึ่งภายในชมรมจะมีกิจกรรมมากมาย เช่น เล่นโยคะ, เล่นดนตรี, จับกลุ่มพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิตร่วมกัน, พาไปไหว้พระ ท่องเที่ยว ฯลฯ 

    สำหรับประเด็นที่ลูกหลานหลายคนกลัวและเป็นกังวลว่า ผู้สูงอายุมักจะเกิดความเครียดจากการรับมือกับภาวะสูงวัยไม่ค่อยได้??? นั้น อันจริงแล้วเรื่องนี้ไม่เป็นอุปสรรค เนื่องคนสูงวัยก็มักจะรับมือกับความชราได้ แต่สิ่งสำคัญลูกหลานต้องหมั่นสังเกตว่าท่านมีปัญหาสุขภาพ หรือเจ็บป่วยทางกายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ เช่น ภาวะเหงาและโดดเดี่ยว ก็สามารถแก้ไขด้วยการหาเพื่อนให้ท่าน หรือพาท่านไปเข้าชมรมผู้สูงอายุอย่างที่เรียนไว้ข้างต้น หรือหากพบว่าท่านมีโรคเรื้อรังอย่าง “โรคอัลไซเมอร์” โดยให้สังเกตว่าหากพ่อแม่ถามคำถามเดิมซ้ำๆ หลายรอบ อาทิ “กินข้าวเช้าหรือยังนะ???” ทั้งที่เพิ่งรับประทานไป ก็ให้สันนิษฐานว่าท่านอาจป่วยโรคจำเสื่อม ก็ต้องรีบพาท่านไปพบแพทย์ เป็นต้น 

(เสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้คนวัยเกษียณด้วยอาหารครบ 5 หมู่ ที่ประกอบด้วยข้าวกล้องและปลา อาหารที่ช่วยป้องกันโรคเหน็บชาได้ดี)

 

    ปิดท้ายกันที่การใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณให้มีความสุข อย่างการปรับเรื่อง “อาหาร” เป็นที่รู้กันว่าการบริโภคอาหารดีๆ ก็ไม่ได้ส่งผลดีต่อสุขภาพเสมอไป เพราะการที่ผู้สูงอายุจะมีสุขภาพดีต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ที่สำคัญแนะนำให้ท่านรับประทานข้าวกล้องมากกว่าข้าวขาวที่ขัดสี เนื่องจากคนสูงอายุส่วนใหญ่มักชอบรับประทานข้าวขาว ซึ่งจะทำให้เป็นโรคเหน็บชาหรือตะคริวกิน และไม่ได้หมายว่าห้ามรับประทานอาหารถุง แต่ให้เลือกเมนูที่มีผักสดและปลาเป็นส่วนประกอบหลัก อีกทั้งต้องใส่น้ำมันน้อยที่สุด และต้องไม่ใช่เป็นอาหารสำเร็จรูปประเภททอดๆ พูดง่ายๆ ว่าต้องเลี่ยงอาหารกลุ่มนี้ ที่สำคัญให้เพิ่มผลไม้สดปลอดสารพิษให้ท่านรับประทาน เพียงเท่านี้ก็ทำให้ท่านได้บริโภคอาหารครบ 5 หมู่แล้ว หรือหากคุณพ่อคุณแม่มีปัญหาเกี่ยวกับการบดเคี้ยว ก็ควรปรับเมนูอาหารให้นิ่มอ่อนลง เพื่อให้ท่านรับประทานได้ง่ายขึ้น”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"