สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) หรือ Thailand Institute of Justice (TIJ) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2554 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นผู้ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลง (Promoter of Change) ด้านการยกระดับกระบวนการยุติธรรมและเชื่อมโยงหลักนิติธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย อาเซียน และระดับสากล
พันธกิจหลักของ TIJ ได้แก่
1.การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการอนุวัติข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขัง หรือ “Bangkok Rules” เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2.การศึกษา วิจัย และเผยแพร่มาตรฐานและบรรทัดฐานของสหประชาชาติเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รวมทั้งแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดและการช่วยเหลือผู้กระทำผิดหลังพ้นโทษให้กลับคืนสู่สังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนากระบวนการยุติธรรมแห่งประเทศไทยและต่างประเทศ
3.การส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ด้านหลักนิติธรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม อันจะนำไปสู่สังคมแห่งความยุติธรรม
4.การเป็นศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศระดับนานาชาติด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาในด้านการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด โดยจะเน้นความร่วมมือกับสถาบันสมทบของสหประชาชาติ (Programme Network Institute) และความร่วมมือในกรอบอาเซียน
5.การส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของกระบวนการยุติธรรมของไทยให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เพื่อให้เกิดความร่วมมือทางด้านกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ
กิจกรรมหลักภายใต้การดำเนินงานของ TIJ มี 3 ประการ คือ งานวิจัย (Research and Development) ซึ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ด้านงานวิจัยและฐานข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลักนิติธรรม การป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญาให้สอดคล้องกับหลักสากล อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของกระบวนการยุติธรรมของประเทศ งานผลักดันเชิงนโยบาย (Policy Advocacy) เป็นการนำองค์ความรู้ที่มีเป็นเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและให้คำปรึกษากับหน่วยงานด้านนโยบายและปฏิบัติทั้งภายในประเทศและในภูมิภาคอื่นๆ เพื่อให้การทำงานด้านการป้องกันอาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเกิดผลเป็นรูปธรรม และสุดท้าย งานพัฒนาศักยภาพบุคลากร (Capacity Building) นำองค์ความรู้ที่มีมาเผยแพร่สู่กลุ่มบุคลากรเป้าหมายในกระบวนการป้องกันอาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ผ่านการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรฝึกอบรม และการแลกเปลี่ยนความคิดในระดับผู้ปฏิบัติงานทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือให้คำปรึกษาแก่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค
ทั้งนี้ ภารกิจทั้งหมดของ TIJ ถูกร้อยเรียงผ่านแนวคิดหลัก คือ การส่งเสริมหลักนิติธรรมในสังคม อันเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) ซึ่งถูกนำมาปฏิบัติผ่านโครงการที่หลากหลายของ TIJ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำหลักสูตรผู้บริหารหลักนิติธรรมของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ Executive Program on the Rule of Law and Development: RoLD Program) เพื่อสร้างเครือข่ายผู้นำรุ่นใหม่ในการขับเคลื่อนหลักนิติธรรมในสังคม การส่งเสริมให้เกิดการอนุวัติ “ข้อกำหนดกรุงเทพ” หรือข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่ไม่ใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำความผิดหญิง (The Bangkok Rules) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการปฏิรูปเรือนจำ (Prison Reforms) การต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ (Transnational Organized Crime) การป้องกันการเกิดอาชญากรรมโดยใช้มิติการพัฒนานำ (Development-led Crime Prevention) รวมถึงส่งเสริมมาตรฐานสหประชาชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะด้านเด็กและสตรีในกระบวนการยุติธรรม (Women and Children Empowerment) อีกทั้งยังทำหน้าที่ขับเคลื่อนประเด็นสำคัญต่างๆ ในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อมุ่งสร้างความยุติธรรมที่เท่าเทียมกันในสังคมอันจะเป็นพื้นฐานสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
TIJ เป็นองค์การมหาชนที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล แต่ปฏิบัติงานขึ้นตรงกับคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญในหลายแขนง และผู้บริหารองค์กรต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลและกำหนดนโยบาย กรอบยุทธศาสตร์ แผนงานของสถาบันฯ และมีพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงเป็นประธานกรรมการที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ท่านผู้อ่านสามารถติดตามการทำงานของ TIJ ได้ทาง http://www.tijthailand.org
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |