30 ส.ค.63- เมื่อเวลา 20.00 น. ที่สำนักงานกฤษฎีกา ท่าพระจันทร์ นายวิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายกรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน กล่าวภายหลังการประชุมสรุปคดีกรณีอัยการสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอสที่ขับรถชนตำรวจเสียชีวิตเมื่อปี 2555 ซึ่งใช้เวลากว่า 6 ชั่วโมง ว่า วันนี้มีการสรุปรายงานที่จะนำเสนอนายกรัฐมนตรีในวันที่ 31 ส.ค.ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้มีการนัดเวลา แต่ได้พูดคุยกับนายกฯเรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็เป็นไปตามกำหนดเวลา 30 วัน ทั้งนี้ ในส่วนของการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมขยายออกไปอีก 30 วัน
นายวิชา ในส่วนของการสรุปรายงานแบ่งเป็น 2 แนวทางคือ แนวทางแรกเป็นการสรุปรายละเอียดว่าได้สอบพยานกี่ปาก ใครบ้าง มีข้อมูลอย่างไร รวมทั้งการลำดับเหตุการณ์ว่าเกิดขึ้นอย่างไร ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จนมีผู้เสียชีวิต และมีผู้ต้องหา มีการทำสำนวนสอบสวนอย่างไร จนเกิดกรณีข้อสงสัยทั้งเรื่องการสั่งฟ้อง คดีขาดอายุความ
นายวิชา กล่าวต่อว่า แม้ว่าจะผ่านเวลามายาวนาน แต่เรามีเอกสารยืนยันบางเรื่องเปลี่ยนจากที่เคยสอบมาแล้ว ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้ความจริงว่าเหตุการณ์บางเหตุการณ์ไม่เป็นความจริง เพราะไม่ได้ทำขึ้นในวันที่เกิดเหตุ ดังนั้นเพื่อให้เห็นว่ามีความผิดพลาดคาดเคลื่อนอย่างไรบ้าง ซึ่งผิดพลาดตั้งแต่ทำสำนวน โดยเฉพาะสิ่งที่คณะกรรมการฯติดใจมาก คือทำไมถึงเอาผู้ที่เสียชีวิตซึ่งเป็นตำรวจมาเป็นผู้ต้องหาทั้งที่ตายไปแล้ว ไม่มีสิทธิ์ต่อสู้ ถือเป็นเรื่องผิดปกติเป็นกระบวนการตั้งรูปคดี ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ก็เคยสอบว่ามีข้อน่าสงสัยและพิรุธจำนวนมาก ซึ่งก็มีการยึดแนวทางตามข้อยุติของป.ป.ช.ในส่วนหนึ่ง จากนั้นก็มีการสอบเพิ่มเติม
นายวิชา กล่าวต่อว่า ในกระบวนการทั้งหมดเราพบว่า เป็นกระบวนการที่ร่วมมือกันหลายฝ่าย ไม่สามารถเกิดขึ้นจากฝ่ายพนักงานสอบสวนเพียงฝ่ายเดียวหรือพนักงานอัยการคนเดียว ทั้งกระบวนการอัยการและตำรวจไม่ใช่องค์กรไม่ดี แต่ได้รับความเสียหายและผลกระทบจากผู้ที่แสวงหาผลประโยชน์หรือไม่ทำหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาหรือผู้ทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ผิดพลาดบกพร่องซึ่งรายงานจะมีรายละเอียดทั้งหมด แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ โดยเฉพาะชื่อหรือบุคคล
นายวิชา กล่าวต่อว่า จุดมุ่งหมายของคณะกรรมการฯคือต้องหรือคดีนี้ใหม่ทั้งหมด ซึ่งมีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาว่าการทำสำนวนคดีในลักษณะสมยอม หรือไม่สุจริตจะเสียกันทั้งระบบ จึงจะมีข้อเสนอให้เริ่มต้นใหม่ทั้งหมดเพื่อความยุติธรรมและเป็นธรรมแต่คงจะได้เฉพาะบางข้อกล่าวหาที่ยังไม่ขาดอายุความ หรือยังไม่เคยตรวจสอบ หรือยังไม่จัดการให้ชัดเจน ซึ่งบางประเด็นทางตำรวจได้พยายามแก้ไขโดยใช้มาตรา 147 แต่คณะกรรมการฯเห็นว่าต้องยิ่งกว่านั้น ซึ่งกระบวนการที่เสนอมีทั้งในส่วนของอาญา วินัย และจริยธรรมครบทั้ง 3 ด้านในส่วนบางคดีที่ขาดอายุความไม่สามารถรื้อกลับมาได้เป็นเรื่องที่ลำบากเพราะกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ เพราะยังไม่เคยมีกรณีแบบนี้ ซึ่งมันรุนแรง
เมื่อถามว่าบางกรณีที่สามารถรื้อคดีขึ้นมาใหม่ได้จะสามารถเอาผิดกับบุคคลที่เกี่ยวข้องได้หรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า ก็ต้องแยกไปให้กับองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งป.ป.ช. ,ป.ป.ท.,ดีเอสไอ ดำเนินการ ซึ่งส่วนตัวคิดว่าองค์กรยุติธรรมทั้งหมดจะต้องมาร่วมกันประชุมปรึกษาหารือว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ทั้งนี้ในรายงานไม่ได้ระบุถึงตัวบุคคล เพียงแต่บอกว่ามีใครเกี่ยวข้องอย่างไร จุดไหน พร้อมทั้งเสนอว่าควรส่งสำนวนไปให้ใครเพื่อดำเนินการ
เมื่อถามย้ำว่าในรายงานที่เสนอต่อนายกฯจะเอาผิดต่อองค์กรหรือกระบวนการได้หรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า มีทั้งสามารถเอาผิดได้เลยและมีทั้งต้องไปขยายผล ซึ่งในรายงานเขียนไว้อย่างชัดเจนว่าเรามีเวลาจำกัดไม่อาจสอบได้ครบถ้วนทุกปาก ซึ่งพยานยังมีอีกที่สามารถจะชี้ผิดถูกอย่างไร สำหรับความผิดที่ตรวจพบนั้นมีทั้งบุคคลธรรมดา บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งในกระบวนการมีเยอะ ถ้าถึงจุดไหนที่เกี่ยวข้องกับบุคคลใดรก็ต้องไปดำเนินการให้ชัดว่ามีความผิดพลาดบกพร่องหรือทุจริตประพฤติมิชอบอย่างไร .
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |