ภาระกิจด่วนรัฐบาลไทย งัดกลยุทธ์ดึงลงทุนอีอีซีหลังวิกฤติโควิด


เพิ่มเพื่อน    

     กนอ.เองจึงต้องเร่งพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการลงทุนโดยอาศัยช่องทางดังกล่าวเป็นเครื่องมือ และจากการประเมินสถานการณ์การลงทุนหลังวิกฤติโควิด-19 คลี่คลาย จะทำให้มูลค่าการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมกลับเข้าสู่ภาวะปกติและมียอดขายที่เพิ่มขึ้น จึงต้องมีการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย/เช่าที่ดินในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมของ กนอ.เพื่อจูงใจนักลงทุนให้หันมาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น

 

        แม้สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยจะเบาบางลงมาก ทุกอย่างเริ่มมีการปลดล็อก กิจกรรมต่างๆ ในสังคมเริ่มกลับมาทำได้ แต่ใช่ว่าสถานการณ์แบบนี้จะเป็นกับทั่วโลก เนื่องจากในหลายประเทศยังไม่สามารถควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไว้รัสไว้ได้ และมีการลุกลามไปในหลายพื้นที่ ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมากกว่าแสนรายต่อวัน ซึ่งต้องยอมรับว่ายังไม่มีท่าทีที่จะเบาบางลงได้ง่ายๆ โดยผู้คนในต่างประเทศยังต้องใช้ชีวิตอย่างหวาดระแวง รอเพียงความหวังให้รัฐมีวัคซีนออกมาเพื่อรักษาโรคดังกล่าวได้

     ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้เศรษฐกิจของหลายประเทศยังคงไม่สามารถฟื้นตัวขึ้นมาได้ รวมถึงประเทศไทยที่ต้องพึ่งพาการค้าขายกับต่างชาติอยู่มาก ขณะที่ความมั่นใจของภาคเอกชนที่ยังไม่ฟื้นกลับมา 100% ยิ่งทำให้การลงทุนนั้นยังซบเซา โดยไม่ต้องพูดถึงภาคเอกชนของต่างชาติที่ปัจจุบันมีหลายบริษัทต้องทบทวนแผนการลงทุนใหม่ โดยเฉพาะลงทุนในต่างพื้นที่ ซึ่งขั้นเลวร้ายที่สุดคือการจะต้องปิดกิจการในบางพื้นที่ไป

     และเมื่อฝั่งเอกชนนั้นยังไม่สามารถเดินหน้าได้เต็มที่ ภารกิจที่สำคัญของรัฐบาลไทยจึงจำเป็นที่จะต้องใช้กลยุทธ์ต่างๆ เพื่อกระตุ้นการลงทุนให้กลับมา รวมถึงเดินหน้าลงทุนด้วยงบประมาณของประเทศเพื่อสร้างความมั่นใจและกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศให้เกิดเงินหมุนเวียน ควบคู่ไปกับการสนับสนุนกลุ่มคนรากหญ้า และเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก

     โดยนโยบายการพัฒนาโครงการพัฒนาพื้นที่พิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี จึงเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นการเดินหน้าของภาคเศรษฐได้ดีที่สุด เพราะถือว่าเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดการซื้อขายของวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ในประเทศ ทำให้เกิดการจ้างงาน และยังเตรียมพร้อมสำหรับการลงทุนรูปแบบใหม่ หากสถานการณ์โควิดคลี่คลายลงอีกด้วย

     แม้ว่าในตอนนี้ภาคเอกชนยังไม่กล้าที่จะออกมาลงทุนในต่างประเทศกันมากนัก แต่การพัฒนาอีอีซีจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะตอกย้ำความมั่นคงของประเทศให้รับรู้ว่าประเทศไทยมีความพร้อมอย่างมากท่ามกลางสถานการณ์ที่เลวร้ายของโลก เพื่อให้เอกชนในชนชาติอื่นๆ ได้หันมามองประเทศไทยและเก็บไปเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ หากทุกอย่างสงบลงและสามารถเดินหน้าลงทุนต่อได้

(สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ)

จูงใจลงทุนอีอีซี

     โดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า แม้สถานการณ์โควิดในครึ่งหลังของปีนี้ยังไม่ได้คลี่คลายมาก แต่เชื่อว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นในประเทศนั้นเลยจุดต่ำสุดมาแล้ว จากการประเมินผลกระทบของกระทรวงพาณิชย์ โดยจากนี้ไปรัฐบาลเองก็ยังต้องอาศัยเครื่องมือที่สำคัญเข้ามาดึงดูดการลงทุน อาทิ การลดหย่อนภาษีของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่เคยออกมาตรการต่างๆ ไปก่อนหน้านี้เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้ได้มากที่สุด

     ขณะเดียวกันจากการยืนยันของ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ปัจจุบันเข้ามาดูแลการดำเนินงานของสำนักงานอีอีซีนั้น ก็ได้ยืนยันว่าจะเดินหน้าพัฒนาต่อไป ซึ่งทางกระทรวงอุตสาหกรรมเองก็ได้ให้ความเชื่อมั่นกับนักลงทุนไปหลายรายแล้วว่าประเทศไทยจะต้องเดินหน้าต่อสำหรับการพัฒนาพื้นที่อีอีซี โดยที่ผ่านมาก็พยายามจะทำให้มีความต่อเนื่องทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านระบบสาธารณูปโภคต่างๆ

 

ยังลงทุนต่อเนื่อง

     ทั้งนี้ จากข้อมูลของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ) โดย น.ส.สมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการ กอน. เปิดเผยภาพรวมการลงทุนในพื้นที่นิคม และพื้นที่อีอีซีในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2563 (ต.ค.62 - มิ.ย.63) อยู่ที่ 1,696.92 ไร่ ลดลง 3.86% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้นักลงทุนไม่สามารถเดินทางมาเยี่ยมชมสถานที่ และติดต่อธุรกิจเพื่อประกอบการตัดสินใจจอง/ชื้อ/เช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมได้

     โดยแบ่งเป็นพื้นที่ในเขตอีอีซี มียอดการขาย/เช่า 1,598.95 ไร่ และนอกพื้นที่อีอีซีจำนวน 97.97 ไร่ และมีการแจ้งเริ่มประกอบกิจการใหม่ 114 โรงงาน เกิดการจ้างงานเพิ่ม 12,019 คน เมื่อดูจากสัดส่วนดังกล่าวนั้นจะเห็นได้ว่าในพื้นที่อีอีซียังเกิดการลงทุนที่ต่อเนื่องและมากกว่าพื้นที่อื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด แม้ว่ายอดขายนิคมของ กนอ.จะลดลง แต่ก็ยังมีการซื้อขายอยู่

     เป็นเหตุมาจากไทยได้รับอานิสงส์บวกจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ทำให้นักลงทุนบางส่วนจากจีนและไต้หวันย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย รวมทั้งเป็นผลให้นิคมอุตสาหกรรมได้รับความสนใจในการจัดตั้งโรงงานในประเทศไทย และส่วนใหญ่ทำสัญญาจองเช่าและมัดจำไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ดังนั้นในช่วงต้นปีงบประมาณ 2563 จึงทยอยมายื่นการใช้ที่ดินรอไว้กับผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ จึงทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น

     ทั้งนี้ กนอ.เองจึงต้องเร่งพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการลงทุนโดยอาศัยช่องทางดังกล่าวเป็นเครื่องมือ และจากการประเมินสถานการณ์การลงทุนหลังวิกฤติโควิด-19 คลี่คลาย จะทำให้มูลค่าการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมกลับเข้าสู่ภาวะปกติและมียอดขายที่เพิ่มขึ้น จึงต้องมีการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย/เช่าที่ดินในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมของ กนอ.เพื่อจูงใจนักลงทุนให้หันมาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น

     โดย กนอ.ได้เร่งดำเนินการพัฒนาพื้นที่นิคมเพิ่มเติม โดยตามแผนได้มีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 2 แห่ง คือ 1.นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง โครงการ 6 ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอปลวกแดง อำเภอบ้านค่าย และอำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง พื้นที่ 1,322.40 ไร่ มูลค่าการลงทุนโครงการ ประมาณ 2,625.78 ล้านบาท และ 2.นิคมอุตสาหกรรมเวิลด์ ฟู้ด วัลเลย์ ไทยแลนด์ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง พื้นที่ 1,398.04 ไร่ มูลค่าการลงทุน 4,237.17 ล้านบาท

     ขณะเดียวกันมีนิคมอุตสาหกรรมที่ได้ลงนามสัญญากับ กนอ.แล้ว และอยู่ระหว่างการประกาศเขตอีก 2 แห่ง ประกอบด้วย 1.นิคมอุตสาหกรรมโรจนะชลบุรี 2 (เขาคันทรง) พื้นที่ 902.59 ไร่ มูลค่าการลงทุน 2,100 ล้านบาท 2.นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย คลีน อินดัสเตรียล ปาร์ค จ.ชลบุรี พื้นที่ 1,319.89 ไร่ มูลค่าการลงทุน 2,447.75 ล้านบาท

 

อีอีซียังบูม

     ที่ผ่านมาแม้ว่าจะเห็นการถอนทัพลงทุนของต่างชาติไปหลายเจ้าแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีอีกหลายเจ้าที่ตั้งเป้าลงทุนเพิ่มเติมในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่อีอีซี อย่างเช่น บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ที่ได้วางเงินลงทุนแผน 5 ปี ตั้งแต่ 2563-2567 ที่ 20,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มลงทุนในปีนี้ 7,000 ล้านบาท พัฒนาโรงงานพ่นสีให้ทันสมัยและใช้ระบบอัตโนมัติมากขึ้น และเชื่อมโยงกับโรงงาน 3 โรงในพื้นที่ปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จช่วงเดือน ธ.ค.64 ขณะที่เงินในส่วน 13,000 ที่เหลือ จะใช้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างโรงงานและเพิ่มไลน์ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั้ง PHEV, EV และไฮบริด โดยตั้งใจจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นชิ้นส่วนของผู้ผลิตในประเทศให้ได้มากกว่าที่บีโอไอกำหนดไว้ที่ 40%

ซึ่งถือว่ายังเป็นสัญญาณที่ดีเช่นเดียวกับการที่ บริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ส ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์อเนกประสงค์ และรถบรรทุกชั้นนำของประเทศจีน ได้ประกาศแผนที่จะเข้ารับช่วงธุรกิจในประเทศไทยต่อจากบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส หรือจีเอ็ม ที่ผลิตรถยนต์เชฟโรเลต รวมถึงยังมีแผนจะขยายการลงทุนในไทย และใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ เพื่อส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนและออสเตรเลีย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการแผนงานดังกล่าวได้ภายในต้นปี 2564 นี้

     จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ไทยเองจะงัดไม้เด็ดหรือใช้ช่องทางเพื่อเจรจาและดึงดูดการลงทุนมายังพื้นที่อีอีซีให้ได้ อย่างเช่นที่ฝั่งกระทรวงพาณิชย์โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว โดยนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดี ได้หารือกับนายเผิง กัง อธิบดีกรมเอเชีย กระทรวงพาณิชย์สาธารณรัฐประชาชนจีน เรื่องการขยายการค้าระหว่างกันที่ 140,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2564 ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ รวมถึงการส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง และเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า ของจีน กับอีอีซีของไทย และใช้โอกาสนี้ชวนนักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนในอีอีซี และนิคม จ.ระยอง ที่ปัจจุบันมีนักลงทุนจีนเข้ามาดำเนินธุรกิจเป็นจำนวนมาก และเห็นว่าได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

     ทุกอย่างนั้นยังแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ในประเทศไทยว่ายังมีเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดทุนของต่างชาติให้มาลงได้ แม้ที่ผ่านมาจะมีการปรับเปลี่ยนทีมทำงานของรัฐบาลไปบ้าง แต่ด้าน นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ออกมายืนยันแล้วว่า “แม้จะมีการเปลี่ยนรัฐบาล แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนอีอีซีอย่างแน่นอน เนื่องจากอีอีซีถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต และช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก 2%

     ซึ่งเชื่อว่าไม่ว่ารัฐบาลไหนเข้ามาก็จะดำเนินการสานต่อโครงการอีอีซี เพราะโครงการดังกล่าวมีกฎหมาย มี พ.ร.บ.รองรับไว้แล้ว รวมถึงยังมีทั้งองค์กร และงบประมาณในตัวเอง สามารถดำเนินการต่อได้ทันที นี่คือเครื่องการันตีการสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตต่อไป

     อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมานโยบายการลงทุนในโครงการอีอีซีได้มีการปรับเพิ่มอีก 2 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย จาก 10 อุตสาหกรรม เป็น 12 อุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ และการพัฒนาคนและศึกษา ขณะเดียวกันก็ทำเรื่องของการท่องเที่ยวและการพัฒนาเมืองใหม่ ให้ครอบคลุมถึงการศึกษาและสิ่งแวดล้อม เชื่อว่าหากลงทุนได้ตามเป้าหมาย 1.7 ล้านล้านบาท ใน 5 ปี และการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายเฉลี่ย 3 แสนล้านบาทต่อปี จะมีส่วนขยายฐานเศรษฐกิจให้โตเพิ่มอีก 2% ต่อปี ดังนั้นหากฐานเศรษฐกิจไทยโตเฉลี่ย 3-4% ต่อปี ก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ในระดับ 5-6% ต่อปีในระยะยาว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"