29 ส.ค.63 - นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานมอบโฉนดที่ดินคืนให้แก่เกษตรกรภาคเหนือ 17จังหวัด โดยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่โรงแรมอิมพิเรียลโฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดพิษณุโลก วันนี้ โดยนายจุรินทร์ได้มอบเช็คชำระหนี้แทนเกษตรกรจำนวน 5 ราย และแจกโฉนดแก่เกษตรกร 192 รายจาก 16 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 307 แปลงเนื้อที่กว่า 2,000 ไร่ นอกจากนั้นยังได้มอบนโยบายให้กับอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดภาคเหนือ 320 คนจาก 17 จังหวัดด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ไปทำงานภารกิจด้านการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรและฟื้นฟูพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรกรซึ่งเป็นภารกิจหลัก ด้วย
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ยินดีกับเกษตรกรที่ได้โฉนดคืนเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ ภายหลังจากการเป็นหนี้และถูกยึดที่ดินทำกินเพื่อนับหนึ่งใหม่ให้กับชีวิต และการเดินงานก็ได้ตั้งอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูประจำจังหวัดครบทั้งหมดแล้ว 77 จังหวัดแล้วรวมภาคเหนือทั้ง 17 จังหวัดให้ไปปฏิบัติภารกิจ 2 เรื่อง 1.แก้หนี้ให้กับสมาชิกกองทุนที่มาขึ้นทะเบียน 2.มีหน้าที่ฟื้นฟูให้สามารถทำการเกษตรและประกอบอาชีพเกี่ยวเนื่องกับการเกษตรให้มีความยั่งยืนต่อไปได้ โดยมีเงื่อนไข 2 ข้คือเมื่อได้ที่ดินคืนมาแล้วจะต้องไม่เป็นหนี้อีกและจะต้องยอมให้มีการทำแผนฟื้นฟูควบคู่กันไปฟื้นฟูอาชีพเพื่อให้ยังชีพเพื่อตนเองและครอบครัวและชำระหนี้คืนกองทุนได้ในอนาคต
ขณะนี้กองทุนมีงบประมาณเตรียมไว้ให้แล้ว 458 ล้านบาท โดยอนุกรรมการจังหวัด 17 จังหวัดภาคเหนือมีหน้าที่ช่วยจัดทำและกลั่นกรองว่าให้แผนงานโครงการฟื้นฟูนั้นจะเห็นชอบกับโครงการควรจะเป็นอย่างไรขอให้อนุกรรมการทุกท่านได้ทำหน้าที่ด้วยความรวดเร็วและขอให้ “ทำได้ไว ทำได้จริง” และกองทุนฟื้นฟูส่วนกลางได้ตั้งงบประมาน เพื่อจัดการหนี้โดยการอนุมัติแล้ว 1,328 ล้านบาท สำหรับงบปี 63
และจัดมา 1,000 ล้านบาท สำหรับการจัดการหนี้โดยเฉพาะ ต้องไปปลดปัญหาให้กับเกษตรกร โดยเกษตรกรขณะนี้ที่มาขึ้นทะเบียนหนี้มีประมาณ 500,000 ราย มี 765,000 สัญญา รวมมูลหนี้ที่เราต้องช่วยกันแก้ 111,000 ล้านบาท
นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า แนวโน้มจะไปมุ่งเน้นเรื่องการผลิตให้เราผลิตสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพให้ดีที่สุด โดยใช้วิสัยทัศน์ของรัฐบาลเรื่อง”เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” เป็นนโยบายที่ให้ผู้ผลิตผลิตแล้วพาณิชย์เป็นฝ่ายขายก็จะไม่บรรลุเป้าหมาย ภายใต้หลักคิดสำคัญคือการใช้ ตลาดนำการผลิต และจะให้กองทุนฟื้นฟูร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และคณะอนุกรรมการนี้ช่วยพัฒนาให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนด้านการผลิตแล้วนำมาร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ด้านการตลาดให้ผลิตตามความต้องการตลาด รูปธรรมที่จะเกิดคือ พาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัด จะเข้ามาเป็นหนึ่งในอนุกรรมการจังหวัดของกองทุนฟื้นฟู ทำงานร่วมกันติดขัดตรงไหน พาณิชย์จะเข้าไปช่วยจะมีช่องทางตลาดช่วยจัดการ ตัวอย่างเช่น เมื่อวานนี้ได้ดำเนินงาน เคาน์เตอร์เทรด ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างจังหวัดได้ยอดขาย 3,244 ล้านบาท เป็นต้น
ด้านนายสไกร พิมพ์บึง รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กล่าวว่า หลังจากรองนายกฯจุรินทร์ เข้ามารับตำแหน่งประธานกรรมการฯ ได้มีนโยบายแก้ไขปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรมที่สุดโดยได้ออกระเบียบว่าด้วยการฟื้นฟูอย่างเป็นระบบโดยเกษตรกรต้องทำแผนเพื่อฟื้นฟูก่อนเข้าสู่กระบวนการจัดการหนี้
และได้มีการอนุมัติการชำระหนี้แทนเกษตรกร แล้ว 452 ราย เงินชำระหนี้แทน 332 ล้านบาท นอกจากนี้ คณะกรรมการฯยังออกมาตรการให้เกษตรกรยังไม่ต้องจ่ายเงินในการชำระดอกเบี้ยหรือค่าบริการ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากการระบาดของโรคโควิด-19 ขณะนี้อยู่ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
สำหรับวันนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์มีคณะทำงานร่วมด้วย เช่น นายไชยยศ จิรเมธากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการ รักษาการ เลขาธิการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ร่วมกับคณะผู้บริหารและกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ เป็นต้น
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |