สสส.เปิดเวทีถกแนวทางการเรียนรู้เชิงบวกบนชีวิตวิถีใหม่ ดึงพ่อแม่-ครู-นักเรียนมีส่วนร่วม พร้อมเปิดตัวคู่มือ ‘พ่อแม่พลังบวก’ “Mappa” ระบบนิเวศทางการเรียนรู้ใหม่ (New Learning Ecosystems) สร้างแพลตฟอร์มห้องเรียนออนไลน์พัฒนาเด็ก สร้างครอบครัวเข้มแข็ง
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานเสวนา New Normal, New Education ทันการเรียนรู้ ชีวิตวิถีใหม่ มีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมรับชมผ่านระบบ ZOOM กว่า 700 คน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2563 ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
เบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. กล่าวว่า สสส.โดยแผนสร้างเสริมความเข้าใจสุขภาวะ มุ่งพัฒนาศักยภาพ โดยเฉพาะสถาบันครอบครัวที่ถือเป็นสิ่งสำคัญในการเผชิญกับปัญหาหรือวิกฤติในชีวิต ให้มีทักษะและพัฒนาการด้านต่างๆ ด้วยกิจกรรมสร้างความเชื่อมั่นและสร้างแรงกระตุ้นให้พ่อ แม่ ผู้ปกครองทั่วประเทศเลี้ยงลูกเชิงบวก ผ่านกิจกรรม “ห้องเรียนพ่อแม่” กิจกรรมในครั้งนี้ได้ร่วมกับแผนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพพ่อแม่ ครอบคลุมไปถึงกลุ่มครู อาจารย์ ให้มีทักษะการถ่ายทอดความรู้แก่เด็ก เยาวชน และนักเรียน ด้วยการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบวก พร้อมจัดทำคู่มือ ‘พ่อแม่พลังบวก’ แนะวิธีการปรับเปลี่ยนมุมมองความคิดของพ่อแม่ ให้เข้าใจธรรมชาติของเด็กวัย 7-15 ปี ทั้งเรื่องพัฒนาการทางสมอง การสื่อสาร การสร้างวินัยเชิงบวก และการสร้างสัมพันธภาพครอบครัว
ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว (สำนัก 4) สสส. กล่าวว่า สสส. โดยแผนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว ร่วมกับ บริษัท ไลฟ์ เอ็ดดูเคชั่น (ประเทศไทย) สร้างชุดความรู้สำหรับครูและผู้บริหารสถาบันการศึกษาในการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจการทำงานร่วมกับครอบครัวเชิงบวก พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือและชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) เพื่อต่อยอดการทำงานในการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่สามารถทำหน้าที่ในการสนับสนุนสุขภาวะวัยรุ่น และสร้างแพลตฟอร์มใหม่ชื่อว่า “Mappa” ระบบนิเวศทางการเรียนรู้ใหม่ (New Learning Ecosystems) สำหรับเด็ก เยาวชน ครอบครัว พ่อแม่ ผู้ดูแลหลัก ครู และบุคลากรที่ทำงานกับเด็ก โดยมีองค์ความรู้ เครื่องมือ และหลักสูตรเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีทักษะการเรียนรู้ และทักษะชีวิต ครอบครัวเป็นพื้นฐานของการพัฒนา ครอบครัวเข้มแข็งเป็นรากฐานและต้นทุนที่สำคัญของสังคมในอนาคต
หน้าที่หลักของ สสส.ช่วยประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพที่ดี จากประสบการณ์การทำงาน เราสร้างสุขภาวะเด็ก ครอบครัวให้มีความอบอุ่น ส่งเสริมโรงเรียนที่มีสุขภาวะ แต่ยังไม่ถึงตัวเด็ก เพราะเป็นการทำงานอย่างแยกส่วน เด็กยังไม่มีส่วนร่วมจึงไม่เกิดผลลัพธ์เท่าที่ต้องการ ดังนั้นควรทำงานเป็นทีม บ้าน โรงเรียน สถานศึกษา เพื่อบ่มเพาะเด็กให้เติบโตอย่างมีศักยภาพ กล้าแสดงออก การทำงานร่วมกัน 3 ฝ่ายให้เป็นหนึ่งเดียวกันเหมือนกับวงดนตรีออร์เคสตราบรรเลงเพลงเดียวกัน การทำงานไม่ใช่ทำงานเพียงวันเดียวแล้วจบ แต่ต้องเตรียมการวางแผนหลายอย่าง ในอนาคตพ่อแม่มีบทบาทในการต่อยอดตามความต้องการของเด็ก สสส.สนับสนุนให้เกิดความสมบูรณ์มากขึ้นด้วยการทำงานร่วมกัน พัฒนาโมเดลให้เป็น รร.ต้นแบบ การสร้าง รร.ต้นแบบในระดับประถม มัธยมใน 4 ภาค ภาคละ 4 แห่ง จะเห็นภาพครู ผู้ปกครอง นักเรียนทำงานร่วมกัน เพื่อให้เด็กเปล่งประกายความสามารถได้อย่างเต็มที่ โรงเรียนเชียงของวิทยาคม เชียงราย มทร.ล้านนาวิทยาลัยอาชีวะ เชียงใหม่ รร.บดินทรเดชา (2) นวมินทร์ รร.ชุมชนบ้านสี่แยก นครศรีธรรมราช วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี และ รร. 4 แห่ง
การสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ เรียนรู้ตลอดชีวิต พ่อแม่ลูกช่วยกันสร้างพื้นที่เรียนรู้ มีหนังสือคู่มือสำหรับพ่อแม่ให้มีพลังบวกสำหรับลูกในวัย 7-15 ปี ทำเป็น info graphic ดาวน์โหลดได้ ปรับวิธีคิดจะอยู่กับลูกได้อย่างไร การลงทะเบียนห้องเรียนออนไลน์ด้วยการตั้ง Mind Set ว่าเราไม่สามารถเลี้ยงเด็กด้วยวิธีคิดแบบเดิมๆ ได้อีกแล้ว พ่อแม่มักจะมองว่าหน้าที่ให้เกิดการเรียนรู้เป็นหน้าที่ของโรงเรียน แต่ทางปฏิบัติครูคนเดียวรับผิดชอบไม่ไหว ต้องได้รับความร่วมมือจากทางบ้านด้วย อาทิ เด็กอยู่ที่ รร.เด็กมีสุขภาพดี เพราะมีการเลือกอาหารการกินที่มีประโยชน์ แต่ในช่วงปิดเทอม หรือวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เด็กมีน้ำหนักมากขึ้น ครูกับพ่อแม่ต้องมีการสื่อสารพูดคุยกัน มิฉะนั้นจะเกิดการลักลั่นในการพัฒนาตัวเด็ก
ยิ่งเด็กเติบโตเป็นวัยรุ่นก็ต้องสร้างความมีส่วนร่วมว่าเด็กอยากจะมีอาชีพอะไร พ่อแม่ครูคอยสังเกตเด็กและเปิดพื้นที่ให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่เขาอยากจะเป็นอย่างเต็มที่ เด็กแต่ละวัยรับสารเชิงบวกในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่ทำหน้าที่รับฟังเด็ก และสังเกตว่าเด็กสนุกสนานเล่นอะไรได้ครั้งละนานๆ เป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่และครูจะช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่เขาชอบในแต่ละช่วงวัย
“ในสถานการณ์ช่วงโควิด โรงเรียนปิดเทอม เด็กจำเป็นต้องอยู่ที่บ้าน พ่อแม่ต้องปรับการเรียนรู้ให้กับเด็ก และในอนาคตแม้จะไม่มีสถานการณ์โควิดแล้ว แต่มีสถานการณ์วิกฤติอื่นในอนาคต ก็ต้องมีแพลตฟอร์มเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่บ้านได้ โดยเฉพาะการเรียนทางออนไลน์ในพื้นที่ สร้างห้องเรียนเพื่อการเรียนรู้ ในช่วงปลายปีจะมีการเปิดตัวที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เป็นรูปแบบยั่งยืน พ่อแม่ในทุกครอบครัวสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างดี”
ทั้งนี้ การเสวนามีวิทยากรเข้าร่วม ได้แก่ ตัวแทนฝ่ายนักเรียน ศศิณิภา ศรีบัวชุม นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แดนไท สุขกำเนิด นักออกแบบบอร์ดเกม พร้อมด้วยตัวแทนฝ่ายคุณครู ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าที่เรือตรีธนวรรธน์ สุวรรณปาล ผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘ครูขอสอน’ และตัวแทนฝ่ายผู้ปกครอง อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท ไลฟ์ เอ็ดดูเคชั่น (ประเทศไทย) มิรา เวฬุภาค คุณแม่โฮมสคูล ผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์ม Mappa สำหรับผู้ที่สนใจคู่มือ ‘พ่อแม่พลังบวก’ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://resourcecenter.thaihealth.or.th/knowledge-set/pv8m
คู่มือ‘พ่อแม่พลังบวก’
พ่อแม่พลังบวก ปรับมุมคิดเปลี่ยนพฤติกรรมเติมเต็มความสัมพันธ์ในครอบครัว สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานในวัย 7-15 ปี บรรณาธิการ : ปรารถนา หาญเมธี ที่ปรึกษา : เบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร สุภาวดี หาญเมธี พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ ฐาณิชชา ลิ้มพานิช สุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ สนับสนุนโดย ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายในเล่มมีบทนำ พ่อแม่พลังบวก เป็นพ่อแม่พลังบวก หรือพลังลบ คุณเลือกได้ เข้าใจโลกภายในจุดเริ่มการสื่อสารพลังบวก รู้จัก รู้ใจลูกวัยเรียน วัยรุ่น สื่อเสียงบวกสร้างพลังบวกในใจลูกและครอบครัว 4 เทคนิคสร้างวินัยเชิงบวก เปลี่ยนทุกเวลาเป็นเวลาคุณภาพของครอบครัว
ความรัก ความปรารถนาดีที่มีต่อลูก หวังให้ลูกปลอดภัย มีความสุข เป็นคนมีคุณภาพที่สังคมยอมรับ คือแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้พ่อแม่ยังคงพร่ำสอน ว่ากล่าวตักเตือน จ้ำจี้จ้ำไช ไปจนถึงตำหนิติเตียนลูก แม้หลายครั้งจะรู้สึกเหน็ดเหนื่อยท้อใจ และคิดวนเวียนอยู่ว่า ทำไมลูกจึงมองไม่เห็นถึงความปรารถนาดีนี้ ทำไมลูกยิ่งโตขึ้นเรายิ่งห่างเหินกัน นับวันเรายิ่งคุยกันไม่รู้เรื่อง
สิ่งเล็กๆ ที่เป็นช่องว่างทางความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกวัยเรียนวัยรุ่น คือวิธีการสื่อสาร ทั้งคำพูด การใช้น้ำเสียง ท่าทางที่แสดงออกมีส่วนอย่างมากต่อการยอมรับฟังของลูก หรือกระตุ้นให้ลูกรู้สึกและมีพฤติกรรมต่อต้าน และสิ่งที่คอยกำกับวิธีการสื่อสารเหล่านั้นต่อสถานการณ์ต่างๆ ของเรา คือแบบแผนการดำเนินชีวิต วิธีคิด ทัศนคติมุมมองที่มีต่อสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นโลกภายในใจที่ถูกหล่อหลอมมาจากประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีต โดยเฉพาะประสบการณ์ในวัยเด็ก
เพื่อจะไปสู่การสื่อสารกับลูกอย่างมีประสิทธิภาพ คู่มือพ่อแม่พลังบวก ขอเชิญชวนพ่อแม่ผู้ปกครองสำรวจวิธีการสื่อสารที่ผ่านมาของตัวเอง และมองย้อนลึกไปถึงที่มาของการตัดสินใจพูดและแสดงออกเหล่านั้น และค้นลึกลงไปในความปรารถนาที่แท้จริงที่มีต่อลูก จะช่วยให้เราเปิดใจพร้อมสำหรับการปรับใจ ปรับมุมคิด และเริ่มต้นเรียนรู้วิธีการสื่อสารรูปแบบใหม่ “เทคนิคสร้างวินัยเชิงบวก” ที่จะช่วยตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางจิตใจของลูก เป็นเครื่องมือสอนและฝึกพฤติกรรมที่เหมาะสม และกระชับช่องว่างความสัมพันธ์กับลูกให้แคบลง
อย่าลืมว่าทุกๆ คำพูดและการกระทำของพ่อแม่สัมพันธ์กับพลังงานในใจ พฤติกรรมและการพัฒนาตัวตน บุคลิกภาพของลูก ทั้งยังสัมพันธ์กับสัมพันธภาพและความสุขของครอบครัว ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของพ่อแม่ทุกคน ฉะนั้นมาสื่อ “เสียงบวก” นำพลังบวกที่เก็บซ่อนอยู่ในหัวใจคุณ สื่อไปให้ถึงใจลูกด้วยเทคนิค “วินัยเชิงบวก” เริ่มตั้งแต่วันนี้ เพราะคุณคือพ่อแม่พลังบวก
เป็นพ่อแม่พลังบวก หรือพลังลบ คุณเลือกได้ หากมีสถานการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น คุณจะเลือกสื่อสารกับลูกอย่างไร
“ทำไมกลับบ้านเอาป่านนี้ ไม่คิดรึไงว่าคนรออยู่บ้านเขาเป็นห่วง” “วันนี้กลับช้ากว่าทุกวันนะ เกิดอะไรขึ้นรึเปล่าลูก”
“แม่ทำให้กินแล้ว ก็ช่วยเก็บช่วยล้างบ้าง จะให้แม่ทำให้ไปถึงเมื่อไหร่” “ลูกลืมเก็บโต๊ะจ้ะ เก็บโต๊ะก่อน จะได้มีเวลาเตะบอลยาวๆ ไม่ต้องรีบกลับมาเก็บ”
ถ้าคุณเป็นลูก ได้ยินประโยคเหล่านี้จากพ่อแม่ คุณจะรู้สึกอย่างไรและทำอย่างไร
“เสียเงินติวไปตั้งเท่าไหร่ ทำได้แค่นี้เหรอ” “ลูกผ่านทุกวิชาเลย มีภาษาอังกฤษที่น้อยกว่าเพื่อน ติดปัญหาตรงไหน เล่าให้แม่ฟังได้มั้ย”
“เป็นเด็กเป็นเล็ก มีผู้ชายโทร.หาถึงบ้าน พ่อให้ลูกไปเรียน ไม่ได้ไปหาแฟน” “เพื่อนโทร.มาเสียงหล่อเชียว หนุ่มที่ไหนกัน”
เล่นเกมสะท้อนปัญหาการเรียนรู้
งานเสวนา New Normal, New Education เล่นเกมสะท้อนปัญหาการเรียนรู้ 8 ข้อ โดยแดนไท สุขกำเนิด ดำเนินรายการโดย อ.ชูธรรม ตั้งใจตรง อาจารย์สาขาการจัดการอีเวนต์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
แดนไทเป็นนักออกแบบบอร์ดเกมและเรียน homeschool เมื่ออยู่ชั้น ม.1 ปัจจุบันอายุ 15 ปี เรียน กศน.ชั้น ม.4 ก่อนหน้านี้เคยเรียน รร.เพลินพัฒนา เป็น รร.เอกชนทางเลือก อยากเรียนด้านปรัชญา (บิดาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มารดาเป็นนักวิจัย)
อ.ชูธรรมเปิดประเด็นว่า การเล่นเกม Feelinks มาจากคำว่า feel และ links มีความหมายว่า ความรู้สึกเชื่อมโยงกัน เป็นผลงานออกแบบบอร์ดเกมของต่างประเทศ ไม่ใช่เป็นของแดนไทแต่อย่างใด การเล่นเกมผ่าน Zoom 200 คน เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกของอาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครอง นิยามว่าตัวเองเป็นใคร ร่วมกัน Vote แต่ละรอบจะมีโจทย์ว่า คุณคิดอย่างไร มีคำตอบให้เลือก 8 อย่าง ถูกใจ เท่ สนุก สงสัย เบื่อ ไม่พอใจ ฯลฯ บางครั้งผู้ปกครองรู้สึกกังวลว่าลูกฉันเรียนประถม 1 จะเลือกเรียนได้ตรงสายหรือไม่ เราให้แต่ละคนได้คิด เพื่อกรอกข้อมูลลงทาง chat zoom การเล่นเกมนี้เหมือนกับการทายใจแต่ละฝ่ายว่าคิดตรงกันหรือไม่
ขณะนี้อาจารย์ได้เงินเดือนเท่าเดิม แต่ต้องปรับการสอนมากขึ้น ถือว่าเป็นเรื่องท้าทาย พ่อแม่ทางบ้านก็ต้องช่วยกันลุ้นคำตอบเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนดีขึ้นเพื่อเป็น Case study ในวงการการศึกษา แดนไทกล่าวว่า คำตอบจากนักเรียนมีข้อสงสัย 42% ในขณะเดียวกันผู้ปกครองมีข้อสงสัยและกังวลถึง 38% แม้แต่นักเรียนก็ยังบอกผู้ปกครองว่าตัวเองก็มีความกังวลถึง 54%
อ.ชูธรรมตั้งประเด็นว่า คุณคิดอย่างไรกับการศึกษาภาคบังคับที่กำหนดให้ห้องเรียนมีอัตราส่วนครู 2 : นักเรียน 20 คน จะได้ดูแลนักเรียนได้มากขึ้น แดนไทแสดงความเห็นว่า ในฐานะนักเรียนถือเป็นเรื่องดี เพราะนักเรียนจะได้คุยกับครูมากขึ้น ในขณะที่ อ.ชูธรรมได้คำตอบว่า นักเรียน 40% ถูกใจ ผู้ปกครองก็เดาใจว่านักเรียนถูกใจ ผู้ปกครองถูกใจมากถึง 81% ประเด็นคำถามถ้าผู้ปกครองลาออกจากงานมาเลี้ยงลูกแบบ homeschool เรียนที่บ้าน จะมีปัญหาการสื่อสารเรียนกับผู้ปกครองหรือไม่
“ผมเรียน homeschool ตอนนี้เรียนชั้น ม.4 มีเนื้อหาที่ต้องเรียนเยอะ ข้อดีของการเรียน homeschool มีเวลาเยอะเกิดความภาคภูมิใจที่พ่อแม่อนุญาตให้ลูกได้เรียนแบบ homeschool” แดนไทกล่าว
ส่วน อ.ชูธรรมระบุว่า กลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มที่เดาใจได้ว่าเด็กๆ รู้สึกอย่างไรที่เรียนแบบ homeschool แต่ขณะเดียวกันครูก็กังวลว่าครูจะเป็นฝ่ายตกงาน ถ้าเด็กเลือกเรียนนอกระบบ ในขณะที่แดนไทมีข้อคิดว่า การที่โรงเรียนและผู้ปกครองร่วมกันทำกิจกรรมเดือนละ 5 วัน ทำให้รู้จักกันมากขึ้น
“อาจารย์มีนักศึกษาที่ต้องดูแล 400 คน ทุกวันนี้ก็แทบจะไม่ค่อยได้คุยกับลูกศิษย์ อ.อยากคุยกับผู้ปกครองเป็นบางครั้ง แต่ส่วนใหญ่ผู้ปกครองอยากจะคุยกับครูเพื่อพัฒนาการของเด็ก ปัญหาในการเก็บค่าเล่าเรียนสูงขึ้น แต่ละฝ่ายคิดอย่างไร ได้คำตอบที่เหมือนกันว่า ไม่มีใครแฮปปี้กับนโยบายนี้ โดยเฉพาะนักเรียนไม่พอใจ 50%” อ.ชูธรรมกล่าวในตอนท้าย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |