28 ส.ค.63 - นางภาวินี ณ สายบุรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นประธานพิธีเปิดศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการจัดการขยะเหลือศูนย์ (Zero Waste) ชุมชนบ้านโนนกล้วยหอม จ.ขอนแก่น ชุมชนปลอดขยะ รางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2562 ซึ่งนับเป็นศูนย์เรียนรู้ฯแห่งที่ 3 ของ จ.ขอนแก่น ที่จะเป็นพลังสำคัญในการช่วยขยายผลการจัดการขยะอย่างยั่งยืนสู่ชุมชนต่างๆ
นางภาวินี กล่าวว่า ในปีนี้จังหวัดขอนแก่น มีศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการจัดการขยะเหลือศูนย์เพิ่มอีก 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้ฯ ชุมชนบ้านโนนกล้วยหอม ชุมชนปลอดขยะ รางวัลถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2562 ประเภทชุมชนขนาดกลาง และศูนย์เรียนรู้โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน โรงเรียนปลอดขยะ รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2562 ต่อจากศูนย์เรียนรู้ฯ ชุมชนบ้านหัวถนน ชุมชนปลอดขยะ รางวัลถ้วยพระราชทานฯ ประจำปี 2558 ประเภทชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นศูนย์เรียนรู้ฯแห่งแรกของ จ.ขอนแก่น โดยทั้งหมดเป็นต้นแบบของการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้หลัก 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) ภายใต้แนวคิดการจัดการขยะเหลือศูนย์
"ชุมชนบ้านโนนกล้วยหอม" เป็น 1 ใน 8 ชุมชนของเทศบาลบ้านแฮด ต.บ้านแฮด จ.ขอนแก่น ที่ได้นำร่องเข้าร่วมโครงการขยะเหลือศูนย์ชุมชนปลอดขยะ ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ประเภทชุมชนขนาดกลาง ตั้งแต่ปี 2556 ด้วยการคัดแยกขยะ ณ แหล่งกำเนิด ซึ่งในช่วงเริ่มต้นได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์คัดแยกขยะในครัวเรือนจากเทศบาล หรือ Gift Set “ขยะ” 1 ชุด 1 ครัวเรือน ประกอบด้วย ถังใส่ขยะทั่วไป กับ ถังขยะอินทรีย์ ถุงปุ๋ย 2 ใบใส่ขยะรีไซเคิล ไม้กวาดทางมะพร้าว ไม้กวาดขยะ และที่กวาดผง โดยมีการลงมือทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยลดลงจาก 642 กิโลกรัมต่อวัน เหลือเพียง 205.5 กิโลกรัมต่อวัน และมีขยะมูลฝอยที่ต้องนำไปกำจัดโดยวิธีฝังกลบเพียง 38 กิโลกรัมต่อวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 67.38 ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บขยะได้ถึงปีละ 2 แสนบาท
นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการขยะในชุมชนอย่างครบวงจร ด้วย 8 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ 1.ธนาคารขยะเพื่อชุมชน นำเงินที่ได้มาเป็นสวัสดิการให้กับคนในชุมชนยามเจ็บป่วยและผู้ด้อยโอกาสในชุมชน 2.เยาวชนต้นกล้า จิตอาสาแกนนำช่วยคัดแยกขยะ ถ่ายทอดความรู้และบอกต่อวิธีการคัดแยกให้กับครอบครัวและคนในชุมชน ตลอดจนติดตามประเมินผล ส่งผลให้ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะดีขึ้นเรื่อยๆ
3.ร้านค้าเสี่ยงทาย ด้วยการบริหารจัดการร้านในไอเดียขยะเหลือศูนย์ โดยใช้หลัก 3Rs ใครไม่รับถุงจะได้รับคูปองลุ้นรางวัล ซึ่งช่วยลดถุงพลาสติกได้ถึง 2,000 ใบต่อเดือน 4.ผักสวนครัวรั้วกินได้และการเลี้ยงไก่ไข่ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย พึ่งตนเอง และช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น 5.การจัดการสิ่งแวดล้อม ด้วยการขยายผลมายังเอกชน เช่น บริษัทสมบัติทัวร์ เพื่อนำไปปรับใช้ จนสามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้
6.ขยะอันตราย แนะนำการทิ้งขยะอันตรายให้กับคนในชุมชน ตลอดจนเป็นที่รวบรวมขยะอันตรายเพื่อส่งต่อให้กับเทศบาลนำไปกำจัด 7.การจัดการขยะอินทรีย์ โดยการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ และ 8.ขยะทั่วไปและสิ่งประดิษฐ์ นำเศษวัสดุเหลือใช้กลับมาสร้างมูลค่า ช่วยลดขยะ สร้างรายได้ให้กับชุมชน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |