ชี้’อาลีบาบา’ดาบสองคม


เพิ่มเพื่อน    

22 เม.ย.2561 -  ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตกล่าวถึงผลกระทบของอาลีบาบาและยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซอื่นๆ อย่าง JD.com, Amazon, Shoppee, 11Street, Lazada ต่อเศรษฐกิจไทยว่า จะส่งผลให้เกิดการเติบโตและขยายตัวเพิ่มขึ้นของธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบก้าวกระโดด ทำให้ไทยพัฒนาเป็นศูนย์กลางของการกระจายสินค้าและบริการในภูมิภาคได้ผ่าน Digital Hub ต่างๆ แต่อีกด้านหนึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ของไทย และที่มีผลกระทบหนักคือธุรกิจค้าปลีกออฟไลน์ทั้งหลาย โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้าขนาดกลางและร้านค้าปลีกรายย่อยและโชว์ห่วยของไทย หากธุรกิจไทยทั้งออฟไลน์และออนไลน์ไม่สามารถปรับตัวให้แข่งขันได้

“การประกาศลงทุนของอาลีบาบาด้วยเม็ดเงิน 11,000 ล้านบาทในพื้นที่ EEC ไม่ใช่เรื่องที่ต้องไปตื่นเต้นจนเกินเหตุเพราะมันเป็นเงินเพียงแค่ 5% ของกำไร 200,000 ล้านบาทของอาลีบาบาเมื่อปีที่แล้ว เช่นเดียวกัน หากหวังว่าอาลีบาบาจะมาช่วยเกษตรกรรายย่อยของไทย ขายข้าว ขายทุเรียน ขายผลไม้หรือช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยโดยเขาไม่ได้กำไรหรือไม่ได้ผลประโยชน์ที่จูงใจเพียงพอน่าจะเป็นการเล็งผลเลิศมากเกินไปในเชิงนโยบาย สิ่งที่รัฐบาลควรทำ คือ ทำให้ผู้ผลิตของไทยโดยเฉพาะเกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย มีอำนาจต่อรองและได้รับแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมมากขึ้นภายใต้โครงสร้างตลาดที่ถูกครอบงำจากทุนยักษ์ใหญ่มากขึ้นตามลำดับ”

ดร.อนุสรณ์กล่าวอีกว่า ธนาคารและกิจการธุรกิจทางด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ต้องปรับตัวด้วย เพราะจะได้ผลกระทบจากการลงทุนของอาลีบาบา และยักษ์ใหญ่ค้าปลีกออนไลน์ ซึ่งจะมาพร้อมกับระบบขนส่งและระบบการจ่ายเงินออนไลน์แบบครบวงจร เช่น Alipay, E-Wallet, E-Finance จะแย่งส่วนแบ่งตลาดของการบริการทางการเงินจากธนาคาร ขณะที่การท่องเที่ยวของชาวจีนอาจเพิ่มขึ้นจากระบบการจองผ่าน Digital Platform ของอาลีบาบา กระทบต่อกิจการท่องเที่ยวที่ทำหน้าที่เป็นเอเยนต์หรือคนกลางของไทย 

“การทำลายล้างผ่านการสร้างสรรค์นี้ได้ทำให้สิ่งเก่าและวิถีแบบเก่าถูกทำลายลงผ่านการเกิดขึ้นของสิ่งใหม่และวิถีใหม่ที่เข้ามาแทนที่ทุนในรูปของบริษัทต่างแข่งขันกันสะสมทุนและขึ้นมาเป็นผู้นำตลาด เป้าหมายของทุนเหล่านี้คือการสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงผ่านการคิดค้นสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่สามารถทำลายระบบตลาดแบบเก่าและทุนคู่แข่งลงอย่างสิ้นเชิง การสร้างระบบเพื่อดูแลผู้ได้รับผลกระทบหรือประคับประคองเพื่อให้เกิดการปรับตัวจึงมีความสำคัญในมิติการสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและดูแลไม่ให้เกิดปัญหาทางสังคมหรือการเมืองจากการเปลี่ยนแปลงที่ยากจะหลีกเลี่ยงได้”

ดร.อนุสรณ์ยังเสนอแนะว่า รัฐบาลควรไปศึกษาเรื่องการจัดเก็บภาษีจากธุรกรรมออนไลน์อย่างไรเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพในการจัดเก็บ เนื่องจากฐานรายได้ภาษีของรัฐบาลจะหายไปจำนวนมาก หากพฤติกรรมของคนเปลี่ยนจากการทำธุรกรรมซื้อขายในร้านค้าแบบเดิมมาเป็นออนไลน์มากขึ้น นอกจากนี้ธุรกรรมออนไลน์ระหว่างประเทศบางส่วนจะสามารถหลบเลี่ยงการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีจากธุรกรรมที่ดำเนินการผ่านเทคโนโลยีออนไลน์  ซึ่งทำให้รัฐไทยสูญเสียรายได้ไปจำนวนมากเช่นเดียวกัน. 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"